svasdssvasds

ไอซ์แลนด์ ประกาศภาวะฉุกเฉิน! เตรียมรับมือภูเขาไฟฟากราดัลส์ฟยาลล์ปะทุ

ไอซ์แลนด์ ประกาศภาวะฉุกเฉิน! เตรียมรับมือภูเขาไฟฟากราดัลส์ฟยาลล์ปะทุ

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของไอซ์แลนด์ (IMO) แจ้งว่าตรวจพบการสั่นสะเทือนบริเวณภูเขาไฟฟากราดัล์ฟยาลล์หลายพันครั้ง คาดเสี่ยงภูเขาไฟปะทุ หลังพบแมกมาใต้ภูเขาไฟลึกแค่ 800 เมตร เบื้องต้นสั่งอพยพพลเมืองแล้ว

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักรายงานว่า บริเวณคาบสมุทรเรคยาเนส (Reykjanes Peninsula) ประเทศไอซ์แลนด์ เกิดแผ่นดินไหวหลายจุด โดยสำนักงานเฝ้าระวังแผ่นดินไหวไอซ์แลนด์ แจ้งว่า เกิดแผ่นดินไหวเกิน 5.0 ริกเตอร์ 2 ครั้ง และแผ่นดินไหว 4.5 ริกเตอร์ 7 ครั้ง

นอกจากนี้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของไอซ์แลนด์ (IMO) รายงานอีกว่า สามารถตรวจจับแรงสั่นสะเทือนบริเวณภูเขาไฟฟากราดัลส์ฟยาลล์ (Fagradalsfjall) จำนวนหลายพันครั้ง ทำให้หินหลอมเหลวและแมกมาใต้เปลือกโลกดันตัวขึ้นมาอยู่ใต้ภูเขาไฟ

ภูเขาไฟฟากราดัลส์ฟยาลล์ (Fagradalsfjall) จ่อปะทุ Cr. Reuters

จากการประเมินเบื้องต้น พบว่าแมกมาอยู่ลึกลงไปจากพื้นดินเพียง 800 เมตร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงมากที่จะปะทุออกมาภายใน 2-3 วันข้างหน้านี้ ซึ่งหากภูเขาไฟฟากราดัลส์ฟยาลล์ (Fagradalsfjall) ปะทุขึ้นมาจริง ๆ จะทำให้พลเมือง ณ บริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบรุนแรงถึงชีวิต

ทำให้ล่าสุด  สำนักงานคุ้มครองพลเมืองของรัฐบาลไอซ์แลนด์ (The Department of Civil Protection and Emergency Management) ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินภายในประเทศแล้ว พร้อมสั่งอพยพพลเมืองกว่า 4,000 รายในเมืองกรินดาวิก (Grindavik) ออกจากพื้นที่แล้ว

เมืองกรินดาวิก มีประชากรราว 4,000 คน Cr. Flickr

นอกจากนี้ สำนักงานคุ้มครองพลเมืองยังแถลงสร้างความเชื่อมั่นให้กับพลเมืองอีกว่า กำลังรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยการส่งเรือลาดตระเวน Thor (ICGV Þór) รอบ ๆ บริเวณเมืองกรินดาวิก (Grindavik) เพื่อคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ฉะนั้น ทางผู้เกี่ยวข้องจึงเห็นสมควรแล้วว่า สั่งอพยพประชากรเพื่อป้องกันสถานการณ์ที่เลวร้ายก่อนย่อมดีกว่า แม้สถานการณ์ของภูเขาไฟยังทรง ๆ แต่นี่คือมาตรการเบื้องต้นเพื่อปกป้องพลเมืองของไอซ์แลนด์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองกรินดาวิก (Grindavik) มิเพียงส่งผลต่อประชาในพื้นที่เท่านั้น แต่สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศไอซ์แลนด์ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับเมืองนี้อย่าง บลูลากูน (Blue Lagoon) ก็ต้องหยุดให้บริการเป็นการชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย

Blue Lagoon, Iceland Cr. Wikipedia

การปะทุของภูเขาไฟครั้งก่อน

ประเทศไอซ์แลนด์ค้นพบเกาะแห่งใหม่ด้วยความบังเอิญ ชาวประมงกลุ่มหนึ่งขับเรือแล่นเรือออกจากออกจากชายฝั่งทางตอนใต้ของไอซ์แลนด์ไปราว ๆ 32 กิโลเมตร และพบกลุ่มควันดำลอยขึ้นมาจากผิวทะเล

ภูเขาไฟบนเกาะเซิร์ทซีย์ปะทุในปี 1963 Cr. Flickr

ภูเขาไฟบนเกาะเซิร์ทซีย์ 2023 Cr. artic-images

ชาวประมงกลุ่มดังกล่าวคิดว่า อาจมีอุบัติเหตุเรือล่มหรือเหตุการณ์ร้ายแรงอะไรบางอย่าง จึงไปแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ จนพบว่า นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุอะไร แต่เป็นการอุบัติของเกาะใหม่ ภายหลังจึงตั้งชื่อว่า เซิร์ทซีย์ (Surtsey) ตั้งชื่อตามเผ่าพันธุ์ของยักษ์นอร์สในตำนานพื้นที่ของประเทศไอซ์แลนด์

จนกระทั่งวันที่ 14 พฤศจิกายน 1963 ภูเขาไฟบนเกาะเซิร์ทซีย์ (Surtsey) ก็ปะทุออกมาปล่อยฝุ่นควันและมวลไอน้ำขึ้นสู่อากาศสูงถึง 9,146 เมตร (30,000 ฟุต) การปะทุครั้งนี้กินระยะเวลากว่า 3 ปี 6 เดือน (14 พ.ย. 1963 – 5 มิ.ย. 1967) แต่ไม่มีใครได้รับผลกระทบ เพราะตั้งอยู่ไกลจากไอซ์แลนด์พอสมควร

อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามสถานการณ์การปะทุของภูเขาไฟฟากราดัลส์ฟยาลล์ (Fagradalsfjall) อย่างใกล้ชิด แต่เบื้องต้นประชาชนทุกคนได้รับการช่วยเหลือเป็นที่เรียบร้อย

ปิดถนนในพื้นที่เสี่ยงภัย Cr. Reuters

ถนนแยกจากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว Cr. Reuters

รอยแยกจากแผ่นดินไหว Cr. Reuters

ที่มา: euronews

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related