svasdssvasds

กลุ่มดาวสิงโต ราชสีห์บนฟากฟ้า เจ้าของที่มาเดือนสิงหาคม พร้อมสกาวแสงคืนนี้

กลุ่มดาวสิงโต ราชสีห์บนฟากฟ้า เจ้าของที่มาเดือนสิงหาคม พร้อมสกาวแสงคืนนี้

ก่อนไปรับชม 'ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต' พร้อมกันคืนนี้เวลาตี 1 เป็นต้นไป ชวนรู้จักความเป็นมาของ 'กลุ่มดาวสิงโต' ที่มีจุดเริ่มต้นในยุคเมโสโปเตเมีย และถูกตั้งชื่อตามจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมัน 'ออกุสตุส'

เหม่อมองฟ้าเห็น ‘ฝนดาวตกลีโอนิดส์’ ชาวนอนดึกเตรียมตัวให้พร้อม วันนี้ตั้งแต่เวลาตี 1 เป็นต้นไป เราจะได้รับชม ‘ฝนดาวตกลีโอนิดส์’ หรือ ‘ฝนดาวตกกลุ่มสิงโต’ ส่องสกาวอยู่บนฟากฟ้ายามรัตติกาล

กลุ่มดาวสิงโต

กลุ่มดาวสิงโต หรือ Leo Constellation ประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ทั้งหมด 9 ดวง ดาวฤกษ์ที่สว่างไสวและมองเห็นได้ง่ายที่สุดคือ ดาวเรกิวลุส (Regulus) หรือรู้จักกันในนาม 'ดาวหัวใจสิงห์' ส่วนบริเวณหางของสิงโตจะเรียกว่า ดาวหางสิงห์ (Denebola)

ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม ถึง 17 กันยายนของทุกปี ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวสิงโต ทำให้เราสังเกตกลุ่มดาวสิงโตได้ และในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 3 ดวงจันทร์จะเต็มดวงพอดิบพอดีที่บริเวณหัวของสิงโต เราเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า มาฆฤกษ์

ทำไมถึงชื่อกลุ่มดาวสิงโต?

เป็นที่ทราบกันดีว่า ที่มาของชื่อดาวโบราณเหล่านี้ มักถูกยึดโยงอยู่กับเรื่องราวในอดีต หรือนิทานปรัมปราที่มุขปาฐะสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

จุดเริ่มต้นของดาวสิงโต หรือ Leo Constellation ต้องย้อนกลับไปในยุคเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ราว 6,000 ปีก่อน

ภาพวาดขาวดำกลุ่มดาวสิงโต (Leo Constellation) Cr .Picryl

มนุษย์ในสมัยนั้น มีเรื่องเล่าที่คอยเล่าสู่กันฟังว่า วันหนึ่งมีชายรูปงามนามว่า 'เฮราครีส' (Heracles) หรือ ‘เฮอร์คิวลิส’ (Hercules) ที่เราคุ้นเคยกัน ได้รับมอบหมายภารกิจให้ไปจัดการสิงโตตัวชื่อว่า Nemean หนึ่งที่อาศัยอยู่กลางป่า ชายผู้นี้ก็ปฏิบัติตามคำสั่งด้วยการเข้าไปล่าสิงโต

เมื่อเฮราครีสพบเข้ากับสิงโตตัวนั้น เขาก็ง้างมือไปหยิบคันศรเตรียมที่จะแผลงไปยังสิงโตตัวนั้น แต่เมื่อลูกศรพุ่งตรงไปที่ผิวหนังของสิงโตตัวนั้น กลับไม่สามารถสร้างรอยขีดข่วนให้กับราชสีห์ตัวนี้ได้แต่อย่างใด

เฮราครีสเห็นดังนั้น จึงล่อสิงโตเข้าไปในถ้ำลึก จากนั้นสิงโตก็กระโจนใส่เฮราครีส ทั้งสองก็ต่อสู้กันอย่างดุเดือด จนเป็นฝ่ายเฮราครีสที่คว้าชัยในครั้งนี้ ด้วยการหักหลัง (ที่ไม่ใช่การทรยศ) เป็น 2 ท่อน จนสิงโตก็สิ้นชีวิตไป จากนั้นเฮราครีสก็นำส่วนต่าง ๆ ของสิงโตไปทำเป็นอาวุธ

ทันใดนั้น ผู้ปกครองทวยเทพทั้งปวงอย่าง 'ซูส' (Zeus) และผู้เป็นบิดาของเฮราครีส ก็ได้เสกให้สิงโตตัวนี้ขึ้นไปอยู่บนฟากฟ้า เพื่อเป็นอนุสรณ์ไว้ให้รำลึกถึงนั่นเอง คำว่า Leo ในภาษาละตินก็คือคำเดียวกับคำว่า Lion ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่าสิงโตนั่นเอง

การสู้กันของเฮอร์คิวลิสและสิงโต Nemean Cr. Flickr

ปะติมากรรมการสู้กันของเฮอร์คิลลิสและสิงโต Nemean Cr. Flickr

ราชสีห์ผู้เกรงขามแห่งเดือนสิงหาคม

หลายท่านคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า ที่มาของชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนมาต้นกำเนิดจากกลุ่มดาว หากเราแกะรอยถึงรากศัพท์เราก็จะพบความเชื่อมโยงที่น่าทึ่ง

สำหรับเดือนสิงหาคม หรือ August ถูกตั้งตามชื่อตาม ‘ออกุสตุส’ จักพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ คาดว่ามีชีวิตอยู่ในช่วง 63 ปีก่อนคริสตกาล โดยคำว่า Augustus ในภาษาละตินมีความหมายว่า ความเคารพยกย่อง ความยิ่งใหญ่เกรียงไกร หรือจะแปลว่าความอ่อนแอก็ได้เช่นกัน

รูปปั้นจำลองของจักพรรดิออกุสตุส Cr. Flickr

สำหรับ ‘สิงหาคม’ ในภาษาไทย เกิดจากคำว่า สิงห์ + อาคม รวมกันได้ความหมายว่า การมาถึงของราศีสิงห์ หรือการมาถึงของกลุ่มดาวสิงโต

ผู้ที่ตั้งชื่อนี้ได้แก่  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อ พ.ศ. 2432 จากนั้น ‘สยาม’ หรือ ‘ประเทศไทย’ ก็ยึดคำนี้เป็นคำบ่งบอกเดือนลำดับที่ 8 ของปี หรือเดือนสิงหาคมแบบที่เราเห็นกันในทุกวันนี้

ยลโฉมราชสีห์พร้อมกันคืนนี้!

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ชวนชม ปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต คืนวันที่ 17 จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566

ช่องทางการรับชม

ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และควรอยู่ในบริเวณที่ไร้แสงจันทร์รบกวน ถึงจะสามารถเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ หรือ ฝนดาวตกกลุ่มสิงโต เป็นฝนดาวตกที่มีแสงสว่างมากที่สุด

ฉะนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการมอง เพียงแค่ให้เวลาสายตาปรับสภาพกับความมืดสัก 30 นาที เราก็จะได้ยลโฉมกับ ‘ราชาแห่งฝนดาวตก’ กันได้แบบจุใจ

หากใครต้องการสถานที่รับชม 'ฝนดาวตกกลุ่มสิงโต' กันแบบชัด ๆ สามารถเดินทางไปรับชมฝนดาวตกกลุ่มสิงโตได้ตามสถานที่ดังนี้

  • อุทยานท้องฟ้ามืด (Dark Sky Park) 
  • อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (ลานชมดาว) จ.กำแพงเพชร
  • อุทยานแห่งชาติตาพระยา (ลานกลางเต้นท์กลางดง) จ. สระแก้ว
  • อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ. นครราชสีมา
  • อุทยานแห่งชาติศรีน่าน (ดอยเสมอดาว) จ. น่าน
  • วนอุทยานน้ำตกผาหลวง จ. อุบลราชธานี

หากใครไม่สะดวกไปสถานที่ดังกล่าว สามารถรอติดตามกิจกรรมการบรรยายจาก NARIT ได้ทางเฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ที่มา: NARIT

        NSTDA

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related