svasdssvasds

พลาสติกย่อยสลายในน้ำทะเล ผลงานนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์ ลดขยะลงสู่มหาสมุทร

พลาสติกย่อยสลายในน้ำทะเล ผลงานนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์ ลดขยะลงสู่มหาสมุทร

ปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่และสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก แถมไมโครพลาสติกยังส่งผลกระทบกับมนุษย์ทางอ้อมด้วย

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์กำลังพัฒนาพลาสติกสลายในน้ำทะเล เพื่อช่วยลดปริมาณขยะในมหาสมุทร และลดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในทะเล

พลาสติกย่อยสลายในน้ำทะเล ผลงานนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์ ลดขยะลงสู่มหาสมุทร

ดร. Ruirui Qiao จากสถาบันวิศวกรรมชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีแห่งออสเตรเลีย กำลังพัฒนาเทคนิคการเกิด Polymerisation แบบใหม่เพื่อให้ได้พลาสติกที่มีราคาไม่แพงและย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพื่อทดแทนพลาสติกที่ใช้ในปัจจุบัน

“มหาสมุทรของเราเต็มไปด้วยภาชนะพลาสติก ถุงพลาสติก และแม้แต่ไมโครพลาสติกที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ซึ่งก่อให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญต่อระบบนิเวศ รวมถึงนกทะเลและสัตว์ในทะเลหลายล้านตัวด้วย” นักวิจัยกล่าว

ทีมนักวิจัยกำลังพัฒนาพลาสติกย่อยสลายได้ในน้ำทะเลที่มีมูลค่าสูงและปรับแต่งตามความต้องการได้ โดยใช้เทคนิคการพิมพ์ 3 มิติที่พัฒนาโดยกลุ่มวิจัยของ Dr.Qiao และวัสดุโพลีเมอร์ที่สร้างโดย Chinese Academy of Sciences ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ได้รับเงิน 125,000 ดอลลาร์จากกองทุนความร่วมมือวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์ควีนส์แลนด์-จีน เพื่อเร่งดำเนินการในอีก 2 ปีข้างหน้า

พลาสติกย่อยสลายในน้ำทะเล ผลงานนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์ ลดขยะลงสู่มหาสมุทร

เทคนิคหนึ่งที่ทีมนักวิจัยใช้ใช้ เรียกว่าปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบวงแหวน ช่วยให้พวกเขาควบคุมความแข็งแรงเชิงกลและรูปร่างของพลาสติกได้อย่างแม่นยำ ขณะเดียวกันก็ให้พลาสติกเป็นแกนหลักของโพลีเอสเตอร์ที่มีพิษต่ำ ซึ่งหมายความว่าพลาสติกสามารถสลายตัวไปสู่สถานะโมเลกุลในสภาพแวดล้อมทางทะเลได้
เป้าหมายของงานวิจัยคิดค้นพลาสติกย่อยสลายได้ในทะเล คือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ในออสเตรเลียและจีนภายใน 5 ปี เพื่อทดแทนพลาสติกแบบเดิม และเข้าถึงตลาดที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าเกิน 9.5 พันล้านดอลลาร์
พลาสติกโพลีเมอร์ที่ย่อยสลายในน้ำทะเล จะช่วยลดขยะพลาสติกในมหาสมุทร ส่งเสริมคุณภาพของระบบนิเวศและคุณภาพชีวิตของชุมชนทั่วโลก

 

ที่มา : The University of Queenland

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :