svasdssvasds

พบหมึกไดมอนด์ในทะเลสตูล สัตว์น้ำลึกหายาก หนักได้มากถึง 30 กิโลกรัม

พบหมึกไดมอนด์ในทะเลสตูล สัตว์น้ำลึกหายาก หนักได้มากถึง 30 กิโลกรัม

ชาวประมงพบหมึกไดมอนด์ในทะเลสตูล หมึกน้ำลึกหายาก 2 ปีก่อนเจอแค่หนึ่ง แต่ปีนี้มาเป็นฝูง คาดมาพร้อมกระแสน้ำเย็นเหมือนปลาออร์ฟิช

ต่อจากออร์ฟิชและวาฬเผือก ก็หมึกไดมอนนี่แหละ สัตว์น้ำลึกเจอล่าสุดในทะเลสตูล ปีนี้ไม่ได้มาตัวเดียว แต่พี่มาเป็นฝูง

เฟซบุ๊ก Paulker Samit ได้โพสต์ภาพหมึกไดมอนด์ โดยตนได้เผยกับ Springnews ว่า ตนได้ถ่ายรูปหมึกไดมอนด์มาจากแพปลาในจังหวัดสตูล คาดจับขึ้นมาได้เมื่อคืนวันศุกร์ เบื้องต้น หมึกไดมอนด์เป็นหมึกน้ำลึก หายาก เมื่อ 2 ปีก่อนเคยพบที่กระบี่ แต่เจอตัวเดียว ปีนี้พิเศษเจอเข้ามาเป็นฝูง โดยคาดว่ามากับกระแสน้ำเย็น พร้อมกับปลาออร์ฟิชที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านี้

หมึกไดมอนด์ Cr. Paulker Samit

หมึกไดมอนด์ Cr.Paulker Samit

เกร็ดความรู้ หมึกไดมอนด์

หมึกไดมอนด์ (Diamond squid) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Thysanoteuthis rhombus เป็นหมึกประเภทหมึกกล้วยชนิดหนึ่ง ตัวโตเต็มวัยสามารถยาวได้มากถึง 100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร และหนักได้มากถึง 30 กิโลกรัม

หมึกไดมอนด์ Comingio Merculiano (1845–1915) in Jatta Giuseppe

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมึกไดมอนด์ เป็นหมึกที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกเขตร้อนและเขตอบอุ่นระดับ 200 เมตร เป็นหมึกที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก ตัวผู้มักมีอายุขัยราว ๆ 170-200 วัน ส่วนตัวเมียมักมีอายุขัยราว ๆ 230-250 วัน เป็นหมึกที่เคลื่อนที่ช้า และสามารถหดตัวเพื่อหลบหนีการล่าได้ เมื่ออยู่ในน้ำลึกลำตัวจะมีสีน้ำเงิน แต่เมื่ออยู่ใกล้ผิวน้ำหรือถูกจับพ้นน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

ชอบกินลูกปลา สัตว์จำพวกครัสเตเชียน และหมึกตัวเล็กเป็นอาหาร พื้นที่ประมงที่พบหมึกนี้บ่อยสุดคือ ทะเลญี่ปุ่น โอกินาวา และเกาะดอนซอล ในฟิลิปินส์ เป็นหมึกที่ขายได้ราคาสูง เคยมีคนจับได้หนักมากสุด 25 กิโลกรัม

สถานะสูญพันธุ์ : Least Concern (LC) ความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

ที่มาข้อมูล

เฟซบุ๊ก Paulker Samit
Wikipedia

Animalia

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related