svasdssvasds

ปัญหา "ขยะ" ในแม่น้ำท่าจีนอาจทุเลาลง เมื่อมีเครื่องดักขยะช่วยอีกแรง ?

ปัญหา "ขยะ" ในแม่น้ำท่าจีนอาจทุเลาลง เมื่อมีเครื่องดักขยะช่วยอีกแรง ?

ในแต่ละปี “แม่น้ำท่าจีน” มีขยะทะเลประมาณ 14 ล้านชิ้น หรือราว 148 ล้านตัน ด้วยความที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญ แถมยังเป็น 1 ใน 5 แม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่อ่าวไทย ซึ่งหากมีการติดตั้งเครื่องดักขยะไว้ที่ปากแม่น้ำ จะสามารถทุเลาปัญหาขยะได้มากแค่ไหน? ติดตามได้ที่บทความนี้

SHORT CUT

  • แม่น้ำท่าจีนมีขยะทะเลกว่า 14 ล้านชิ้น หรือ 148 ตันต่อปี โดยส่วนมากเป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 
  • แบงก์กรุงเทพดำเนินโครงการ Bualuang Save the Earth: รักษ์ท่าจีน ติดตั้งเครื่องดักขยะ ดักขยะที่ปากแม่น้ำ
  • "ธนาคารขยะ" ต.โคกขาม จ.สมุทรสาคร  โมเดลแปลงขยะเป็นเงิน รับซื้อขยะจากชาวบ้าน เพื่อคืนรายได้สู่ชุมชน

ในแต่ละปี “แม่น้ำท่าจีน” มีขยะทะเลประมาณ 14 ล้านชิ้น หรือราว 148 ล้านตัน ด้วยความที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญ แถมยังเป็น 1 ใน 5 แม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่อ่าวไทย ซึ่งหากมีการติดตั้งเครื่องดักขยะไว้ที่ปากแม่น้ำ จะสามารถทุเลาปัญหาขยะได้มากแค่ไหน? ติดตามได้ที่บทความนี้

ขยะในแม่น้ำท่าจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

แม่น้ำท่าจีน” เป็น 1 ใน 5 แม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของ“ขวานทอง” ทอดยาวกินพื้นที่หลายจังหวัดและมีความยาวประมาณ 315 กิโลเมตร

นอกเหนือจากต้นไม้ใบเขียว สัตว์น้ำน้อยใหญ่แล้ว “ขยะ” ในแม่น้ำท่าจีนก็ถือว่าอุดมสมบูรณ์ไม่แพ้กัน โดยพบมากกว่า 14 ล้านชิ้น หรือประมาณ 148 ตันต่อปี

แม่น้ำท่าจีน Credit ภาพ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน

ชุติมา นำพระทัย จากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน กล่าวว่า หลังจากที่สำรวจปริมาณขยะมาตั้งแต่ปี 64,65,66 พบว่าขยะบริเวณปากแม่น้ำอ่าวไทยเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-used Plastic) กล่องพัสดุ หรือแพ็กเกจสินค้าออนไลน์

โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กำหนดมาตรการมาทั้งสิ้น 4 วิธี เพื่อเป็นการทุเลาปัญหาขยะในแม่น้ำท่าจีนลง โดยอาศัยความร่วมมือของทั้งภาคประช่วยและหน่วยงานส่วนท้องถิ่น ได้แก่

  1. เริ่มเก็บด้วยตัวเอง
  2. องค์กรท้องถิ่นเช่น อบต. เทศบาล ลงพื้นที่เก็บขยะ
  3. มีเรือสำหรับการเก็บขยะเชิงรุก (กลางแม่น้ำ)
  4. ประมงพื้นบ้าน (เอาตาข่ายไปใส่ขยะกลับมาด้วย)

แต่แม้จะมีมาตรการข้างต้น ก็ยังไม่สามารถทุเลาปัญหาขยะแม่น้ำท่าจีนได้มากเท่าที่ควร 

ธนาคารกรุงเทพ เล็งเห็นปัญหาตรงนี้ จึงดำเนินโครงการชื่อว่า “Bualuang Save the Earth: รักษ์ท่าจีน” โดยจะติดตั้งเครื่องดักขยะไว้ที่ คลองหลวงสหกรณ์ และคลองพิทยาลงกรณ์ ต.โคกขาม เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีนและอ่าวไทย

"Bualuang Save the Earth: รักษ์ท่าจีน"

เครื่องดักขยะ: ฮีโร่ช่วยเก็บขยะชาวสมุทรสาคร

หนึ่งในภารกิจโครงการ Bualuang Save the Earth: รักษ์ท่าจีน พื้นที่จังหวัดสมุทรสาครจะถูกติดตั้งเครื่องดักขยะเพื่อดักจับขยะตั้งแต่ต้นทางก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำอ่าวไทย มี 3 ชนิดด้วยกัน

  • ทุ่นดักขยะ (Boom) ผลิตจากพลาสติก HDPE สีเหลือง ขนาด 0.35x0.50 เมตร พร้อมตาข่ายความยาว 15 เมตร และลึกลงไปจากผิวน้ำ 50 เซนติเมตร อายุการใช้งาน 5-7 ปี 
  • กระชังไม้ไผ่ดักขยะ เป็นโครงไม้ไผ่ติดอวน ขนาด 3x3 เมตร อายุใช้งาน 3-5 ปี
  • เครื่องมือดักขยะแบบปักหลักเป็นโครงไม้ไผ่ผูกอวน ขนาด 5x10 เมตร อายุใช้งาน 3-5 ปี

ทุ่นดักขยะ (Boom) เครื่องมือดักขยะ

ทุ่นดักขยะ (Boom) เครื่องมือดักขยะ

นอกจากอุปกรณ์ทั้ง 3 ชนิดด้านบนแล้ว ยังมี “น้องจุด” หรือก็คือฉลามวาฬแห่งท้องทะเล เป็นเครื่องมือดักขยะที่สามารถพักขยะจากทั้งบนบกและบริเวณผิวน้ำได้ โดยจะถูกติดตั้งไว้ที่ลานวัดสหกรณ์โฆสิตาราม สถานที่ซึ่งมักเกิดขยะได้ง่าย ๆ เพราะเป็นตลาดนัดนั่นเอง

"น้องจุด" เครื่องมือดักขยะ จะถูกติดตั้งไว้ที่ลานวัดสหกรณ์โฆสิตาราม

"น้องจุด" เครื่องมือดักขยะ จะถูกติดตั้งไว้ที่ลานวัดสหกรณ์โฆสิตาราม

ซึ่งขยะที่ได้จากการดักไม่ว่าทั้งในน้ำหรือบนบกจะถูกนำไปคัดแยกและรีไซเคิล สำหรับขยะประเภทที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ จะถูกส่งไปทำเชื้อเพลิงทดแทน เรียกได้ว่าครบวงจรจริง ๆ

เปลี่ยนขยะ ให้เป็นรายได้สู่ชุมชน

ปัจจุบัน ‘ขยะ’ ถือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง แบงก์กรุงเทพเล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้ จึงเดินหน้าสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังการคัดแยกขยะให้กับชาวบ้านในชุมชน จ.สมุทรสาคร เพื่อให้เปลี่ยนขยะในแม่น้ำท่าจีนเองก็ดี หรือในพื้นที่บนบกก็ดีให้สามารถสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ครัวเรือนได้

ซึ่งการสร้างรายได้เกิดขึ้นได้หลายวิธี รีไซเคิลเป็นสินค้า หรือวิธีที่ง่ายที่สุดคือนำไปขายต่อ ในจังหวัดสมุทรสาคร มีสิ่งที่เรียกว่า “ธนาคารขยะ” (Recycle Waste Bank) ดำเนินงานโดย องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม ซึ่งคอยรับซื้อขยะจากชาวบ้านหลากหลายประเภทด้วยกันเพื่อเป็นการคืนทุนสู่ชุมชน

  • กระดาษสี 1 บาท/ชิ้น
  • กระดาษลัง 3 บาท/ชิ้น
  • ขวดเบียร์ 1 บาท/ชิ้น
  • เศษแก้ว 1 บาท/ชิ้น

ทิ้งท้ายไว้ด้วยของ นายวสันต์ แก้วจุนันท์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครและผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลโคกขาม มากว่า 37 ปี

“เราหวังว่าการติดตั้งทุ่นดักขยะ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยดักขยะไม่ให้ไหลลงสู่ชายฝั่งและทะเล ที่เป็นหนึ่งในต้นเหตุสำคัญของปัญหา จากนั้นคงต้องช่วยกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง พวกลูกกุ้งธรรมชาติจะได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อมีการส่งเสริมความรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ก็เชื่อว่าเมื่อเด็กมีนิสัยที่ดีติดตัว ก็จะช่วยเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ในอนาคต”

ปัญหา "ขยะ" ในแม่น้ำท่าจีนอาจทุเลาลง เมื่อมีเครื่องดักขยะช่วยอีกแรง ?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related