svasdssvasds

NASA คิวทอง! ร่วมมือ UAE ทำฝนเทียมสู้ภัยแล้ง ดาวอาร์ราคิสเตรียมตัวชุ่มฉ่ำ

NASA คิวทอง! ร่วมมือ UAE ทำฝนเทียมสู้ภัยแล้ง ดาวอาร์ราคิสเตรียมตัวชุ่มฉ่ำ

ช่วงนี้ก็จะเห็นข่าวนาซ่า อยู่บ่อย ๆ ไหนจะมาช่วยบินตรวจสอบ ฝุ่น PM 2.5 ที่เชียงใหม่ ล่าสุด สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) จับมือร่วมกับนาซ่า ขับเครื่องบินทำฝนเทียม (Cloud seeding) เพื่อให้ฝนตก หลังตกลงอยู่สภาแห้งแล้งและอากาศร้อนจัด

SHORT CUT

  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) อากาศร้อนพุ่ง 50 องศา ปริมาณน้ำฝนต่อปีเหลือแค่ 200 มิลลิเมตรต่ปี
  • รัฐบาล UAE จับมือกับ NASA ขับเครื่องบินทำฝนเทียม เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝน พร้อมกับตั้งหน่วยงานศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (NCM) เพื่อลุยเพิ่มน้ำฝนโดยเฉพาะ
  • ชาว UAE บางส่วนไม่พอใจ บอกว่าการทำแบบนั้นเหมือนเป็นการก้าวก่ายหน้าที่ของพระเจ้า 

ช่วงนี้ก็จะเห็นข่าวนาซ่า อยู่บ่อย ๆ ไหนจะมาช่วยบินตรวจสอบ ฝุ่น PM 2.5 ที่เชียงใหม่ ล่าสุด สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) จับมือร่วมกับนาซ่า ขับเครื่องบินทำฝนเทียม (Cloud seeding) เพื่อให้ฝนตก หลังตกลงอยู่สภาแห้งแล้งและอากาศร้อนจัด

อากาศ UAE ร้อนแค่ไหน?

อย่างที่ทราบกันว่า กว่า 80% ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ถูกปกคลุมไปด้วยทะเลทราย ทำให้ในช่วงฤดูร้อน ประชาชนใน UAE ต้องทนทุกข์กับสภาพอากาศร้อนระอุ พุ่ง 50 องศาเซลเซียส ขณะที่ไทยอากาศร้อนพุ่ง 45 องศาเซลเซียสก็แทบจะทนไม่ไหวกันแล้ว

อากาศร้อนจัด แถมฝนก็ตกน้อยมากแค่ 200 มิลลิเมตรต่อปี ขณะที่สิงคโปร์ซึ่งมีเนื้อที่น้อยกว่ากลับมีปริมาณน้ำฝนมากถึง 3,012 มิลลิเมตร นี่จึงเป็นเหตุผลให้ UAE ตัดสินใจร่วมมือกับนาซ่าทำฝนเทียมขึ้นมา

ฝนเทียมทำยังไง?

หลักการของฝนเทียม เอาแบบไว ๆ คือเป็นกรรมวิธี “เลียนแบบธรรมชาติ” โดยจะขับเครื่องบินไปอยู่ในจุดที่เมฆมากพอ จากนั้น จะมีการโปรยผงสารที่มีขนาดเล็ก เช่น silver Iodide, Potassium Iodide หรือน้ำแข็งแห้งจนเกิดการควบแน่นและตกลงมากลายเป็นฝน

Credit ภาพ National Centre of Meteorology

Credit ภาพ National Centre of Meteorology

นอกจากนี้ รัฐบาล UAE ยังจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่าศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (NCM) ในอาบูดาบี โดยมีภารกิจคือเพิ่มปริมาณน้ำฝนด้วยการทำฝนเทียม (Cloud seeding)

แต่ แต่ แต่

อย่างที่แอบหยอดไว้เล็ก ๆ ว่าการที่รัฐจับมือกับนาซ่า ทำฝนเทียมคือการสร้างฝนขึ้นมาจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งชาว UAE ค่อนข้างไม่พอใจในจุดนี้ โดยพวกเขาให้เหตุผลว่า

“พวกคุณกำลังเลียนแบบพระผู้เป็นเจ้า”

ทำฝนเทียม = เลียนแบบพระผู้เป็นเจ้า Credit ภาพ National Centre for Meteorology

ในความหมายคือพวกเขามองว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติล้วนถูกรังสรรด้วยฝีมือของพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์บนโลกอย่างเรามิอาจเอื้อม

หากเปรียบให้เห็นภาพก็คือเหมือนคนในยุคหลายพันปีก่อนที่มองว่าวัตถุบนท้องฟ้าเป็นของสวงสวรรค์มนุษย์มิอาจมีสิทธิแหงนหน้าขึ้นไปมองไปส่อง

จนกระทั่ง การกระตุกหนวดเสือครั้งยิ่งใหญ่ของนิโคลัส โคเปอร์นิคัส ที่เสนอไอเดียว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางจักรวาลไม่ใช่โลก จนทำให้มนุษย์มองโลกด้วยหลักวิทยาศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่รัฐ Abdulla AI Mandous กล่าวว่า “ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ แถมเครื่องบินของเราก็โปรยแค่เกลือธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีสารเคมีอันตรายและไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม”

 

ที่มา: cnbcafrica

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related