svasdssvasds

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

พาติดตามภารกิจของคณะนักวิจัยจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ลงเก็บไข่และสเปริ์มของปะการัง พร้อมนำไปเพาะในห้องแล็บจนโตสมบูรณ์ และส่งกลับคืนสู่ท้องทะเลอีกครั้ง

SHORT CUT

  • รู้หรือไม่ว่า? ปรากฏการณ์ปะการังปล่อยไข่และสเปิร์มจะเกิดขึ้นแค่เพียงหนึ่งครั้งในหนึ่งปีเท่านั้น โดยมีปัจจัยสำคัญ 3 สิ่งคือ พระจันทร์ อุณหภูมิน้ำ คลื่นลมและระดับน้ำทะเล
  • นักวิจัยไทย เลือกเกาะมันสำหรับผสมพันธุ์ปะการัง เพราะเป็นสถานที่ที่มีแนวปะการังที่มีความหลากหลายมากที่สุดในประเทศ 
  • ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา แนวปะการังของไทยเกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ เป็นผลจากน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น แต่แนวปะการังก็ดีขึ้นหลังโครงการนี้เริ่มขึ้นในปี 2016

พาติดตามภารกิจของคณะนักวิจัยจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ลงเก็บไข่และสเปริ์มของปะการัง พร้อมนำไปเพาะในห้องแล็บจนโตสมบูรณ์ และส่งกลับคืนสู่ท้องทะเลอีกครั้ง

ท่ามกลางวิกฤตปะการังที่หลายประเทศกำลังเผชิญในเวลานี้ เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวหรือได้รับความเสียหาย แต่ยังโชคดีที่เรามีฮีโร่คอยดูแลสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลอยู่

ภารกิจกอบกู้ปะการังโดยฝีมือนักวิจัยไทย

ในค่ำคืนหนึ่งนอกชายฝั่งประเทศไทย เหล่านักประดาน้ำดำผุดดำว่ายลงไปเพื่อไปเก็บไข่และสเปิร์มปะการังขึ้นมา พวกเขานำสิ่งที่ได้ไปเพาะต่อในห้องแล็บทดลอง เพื่อหวังคืนชีวิตให้เหล่าปะการังอีกครั้ง

ปรากฏการณ์ปะการังปล่อยไข่และสเปิร์มจะเกิดขึ้นแค่เพียงหนึ่งครั้งในหนึ่งปีเท่านั้น โดยมีปัจจัยสำคัญ 3 สิ่งคือ พระจันทร์ อุณหภูมิน้ำ คลื่นลมและระดับน้ำทะเล

บรรดานักวิทยาศาสตร์จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยเฝ้ารอช่วงเวลานั้น พวกเขานำสเปิร์มและไข่ของปะการังขึ้นมาจากทะเล และนำกลับไปที่ห้องแล็บทดลองด้วย ก่อนที่จะเพาะเลี้ยงจนมันโตมากพอที่พวกเขาจะนำมันกลับคืนสู่ท้องทะเลอีกครั้ง

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

ธิติพร คณานุรักษ์ หนึ่งในนักชีววิทยาทางทะเลชาวไทยเปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า เธอตื่นเต้นมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้มาเห็น โดยไข่และสเปิร์มที่ได้จะต้องผสมกันทันทีเพื่อป้องกันการผสมพันธุ์เลือดชิด  และจะต้องเกิดขึ้นภายใต้แสงสีแดง ซึ่งเลียนแบบแสงพระจันทร์

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

ความล่าช้าอาจนำไปสู่อัตราการปฏิสนธิที่ลดลง หลังจากนั้น 72 ชั่วโมง ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะถูกย้ายไปยังสถานที่ที่ให้พวกมันได้เจริญเติบโตต่อ

เกาะมันใน แหล่งแนวปะการังที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทย

ความพยายามผสมพันธุ์ปะการังนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฟื้นฟูที่ริเริ่มโดยรัฐบาลและบรรดานักวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2016 ซึ่งในระยะแรกมีการทดลองที่เกาะมันใน สาเหตุที่บรรดานักวิทยาศาสตร์เลือกที่นี่ เพราะเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีแนวปะการังที่มีความหลากหลายมากที่สุดของประเทศ

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

สถานการณ์แนวปะการังของไทยเป็นยังไงบ้าง?

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งคาดการณ์ว่า มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของแนวปะการังในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ฟอกขาวใหญ่ ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2010 อันเป็นผลมาจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

นับตั้งแต่โครงการนี้เริ่มขึ้น โคโลนีของปะการังหรือปะการังที่อยู่รวมกันกว่า 4,000 จุดได้รับการฟื้นฟูสภาพ

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล

อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูปะการังยังนับว่าล่าช้า เนื่องจากตัวอ่อนปะการังจำเป็นต้องใช้เวลาในการเติบโตราว 3-5 ปีก่อนจะแข็งแรงมากพอที่จะย้ายกลับคืนสู่พื้นทะเลอีกครั้ง ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า อัตราการรอดชีวิตของปะการังที่โตในห้องแล็บ เมื่อกลับคืนสู่ทะเลอยู่ที่ราว 90 เปอร์เซ็นต์

 

ที่มาข้อมูลและภาพ: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related