svasdssvasds

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คืออะไร สำคัญกับเราแค่ไหน?

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คืออะไร สำคัญกับเราแค่ไหน?

ทำความรู้จัก “ความหลากหลายทางชีวภาพ” การอยู่ร่วมกันของคน สัตว์ พืช จุลินทรีย์ ในถิ่นอาศัยหลากหลาย ตั้งแต่ป่าเขาไปจนถึงเมืองใหญ่ ทุกชีวิตล้วนเชื่อมโยงกันในระบบนิเวศเดียว

ความหลากหลายทางชีวภาพคืออะไร?

ลองมองไปรอบ ๆ ตัว คุณเห็นอะไรบ้าง พ่อค้าแม่ค้า นกบิน หมาเห่า ต้นไม้ให้ร่มเงา ฯลฯ เมื่อใดก็ตามที่สิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ มาอยู่รวมกันในระบบนิเวศหนึ่ง เมื่อนั้นจะเกิดความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ Biodiversity

ทีนี้ ลองนึกภาพว่าสวนในกรุงเทพฯ ไม่มีต้นไม้เหลือแล้ว มีแค่ลู่วิ่ง ลำธาร และคนออกกำลังกาย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? แน่นอนว่าคนออกกำลังกายก็ยังวิ่งได้เหมือนเดิม แต่นกจะไม่มีที่ทำรัง อากาศในสวนจะร้อนขึ้น กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กัน ขาดอะไรไปก็จะไม่เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คืออะไร สำคัญกับเราแค่ไหน?

22 พฤษภาคม ตรงกับ “วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ” หรือ International Day of Biological Diversity ประกาศโดยองค์การสหประชาชาติ แล้วมันหมายความว่าอะไร สำคัญกับเราแค่ไหน ไปดูกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพ มี 3 ระดับ

ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) หมายถึง ความแตกต่างของยีนในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ที่ส่งต่อจากบรรพบุรุษ ทำให้แต่ละตัวมีลักษณะเฉพาะและความหลากหลาย

ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (Species Diversity หมายถึง ผลจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological Diversity) หมายถึง ความหลากหลายของถิ่นที่อยู่ ทั้งป่าเขา ทะเล เมือง และพื้นที่ธรรมชาติต่าง ๆ ที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดพึ่งพาอาศัย

 

สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ปัจจุบันเป็นอย่างไร?

วารสารวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้เมืองไทย เผยแพร่ปี 2562 ระบุว่า ปัจจุบัน ทั่วโลกมีสิ่งมีชีวิตรวมกันประมาณ 3 ถึง 5 ล้านชนิด ไล่มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ ผ่านการวิวัฒนาการ ปรับตัว เกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ จนเกิดความหลากหลาย มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คืออะไร สำคัญกับเราแค่ไหน?

ใน พ.ศ. 2568 แวดวงวิทยาศาสตร์คาดกันว่ามากกว่า 99% ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เคยมีอยู่ ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว หรือตีเป็นตัวเลขกลม ๆ แล้วคือ 5,000 ล้านชนิด ยกตัวอย่างเช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (ทุกชนิด) ลดลงไปกว่า 69% ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่การศึกษาในเยอรมนีพบว่า ปริมาณแมลงบินได้ในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติลดลงกว่า 75% ในรอบ 27 ปี (ศึกษาในช่วงปี 1989-2016) สาเหตุหลักมาจาก มลพิษทางแสงและเสียง สภาพอากาศที่เปลี่ยนไป รวมถึงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

หากสถานการณ์ในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไปโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงใด ๆ สิ่งมีชีวิตกว่าร้อยละ 20 ชนิดทั่วโลกอาจจะสูญเสียพันธุ์ไปอย่างถาวรภายในอีก 30 ปีข้างหน้า อย่างถาวร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

related