svasdssvasds

จากไดอาน่า สู่ เคต มิดเดลตัน เจ้าหญิงรีไซเคิลชุดสวย ใส่ชุดซ้ำก็สง่างามได้

จากไดอาน่า สู่ เคต มิดเดลตัน  เจ้าหญิงรีไซเคิลชุดสวย ใส่ชุดซ้ำก็สง่างามได้

ชุดเก่า ใส่ซ้ำ! เทรนด์การยืดอายุเสื้อผ้าให้มีอายุใช้งานนานขึ้น เพื่อตอบโต้กับปัญหา Fast Fashion ที่สร้างขยะสิ่งทอ รวมถึงก่อมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม Spring ชวนย้อนชมแนวคิดของ 2 เจ้าหญิงแห่งราชวงศ์อังกฤษ ที่ให้ความใส่ใจกับการรีไซเคิลชุดเดิมที่เคยใส่แล้ว ติดตามได้ที่นี่

ทำไมเสื้อผ้าถึงสำคัญกับมนุษย์มาโดยตลอด?

อุตสาหกรรมแฟชั่นของโลก ณ ปัจจุบันนี้ ถือเป็นแหล่งที่สร้างขยะจำนวนมหาศาล อีกทั้งยังเป็นต้นตอของปัญหา “Fast Fashion” ที่กำลังพังทลายสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง หากสืบย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นธารการผลิต ลากไปจนถึงมือผู้สวมใส่ พบว่า ล้วนส่งผลกระทบในแง่ลบต่อโลกทั้งสิ้น

แต่จะทำอย่างไรได้ เมื่อเครื่องแต่งกายเป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความสำคัญ เสื้อผ้าสวย ๆ จึงยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ อันที่จริงต้องบอกว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นไม่ได้เพิ่งมานิยมในช่วงนี้ วัฒนธรรมการแต่งตัวเป็นของคู่มนุษย์เสมอมาเหมือนช้อนกับส้อม หลายท่านคงทราบดีว่า “เสื้อผ้า หน้าผม” สามารถสะท้อนวิธีคิด และวิถีชีวิตของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี

ด้วยเทรนด์การจับจ่ายที่รวดเร็วอย่างที่ว่า ส่งผลให้เกิด “ขยะสิ่งทอ” จำนวนมหาศาล ที่ถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบที่กอง ๆ กันจนเกิดเป็นภูเขาขยะ เฉกเช่นกับสถานการณ์ที่ทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศชิลี องค์กรสหประชาชาติ ระบุว่า มีสิ่งทอปริมาณกว่า 126,000 ตัน ถูกส่งเข้าไปฝังกลบแบบผิดกฎหมายที่ประเทศชิลี

กองภูเขาขยะเสื้อผ้า ผลพวงจาก Fast Fashion Cr. Flickr

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวไป สะท้อนมาถึงคนดังจากราชวงศ์อังกฤษ ที่ดูเหมือนจะใส่ใจกับประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างดี 2 เจ้าหญิงจากรั้ว Buckingham Palace อย่าง “ไดอาน่า” และ “เคต มิดเดิลตัน” ผู้ที่มักหยิบชุดเก่าที่เคยใส่แล้ว มา “ปรับนิด เปลี่ยนหน่อย” บอกได้เลยว่ายังคงสวยสง่า แถมไม่สร้างภาระให้แก่โลก

Fast Fashion คืออะไร?

ความหมายตรงไปตรงมาไม่มีอะไรซับซ้อน นั่นคือการเลือกซื้อเสื้อผ้าตามเทรนด์ หรือเสื้อผ้าซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ณ ขณะนั้น เทรนด์ที่ว่าอาจเกิดจากหลายเหตุผล การตีฟูของบรรดาแบรนด์เสื้อผ้า หรือพฤติกรรมเลียนแบบบุคคลมีชื่อเสียงของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต กระทั่งมีคำฮิตติดปากว่า “ของมันต้องมี”

ของบางอย่างจำเป็นต้องมีจริงหรือ? อันนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในชีวิตของแต่ละคน แต่โดยรวมแล้ว “Fast Fashion” หรือการเปลี่ยนเสื้อผ้าทั้ง ๆ ที่ยังใส่ไม่คุ้มค่า บางคนใส่แค่ครั้งเดียวแล้วเปลี่ยนเลยก็มี ปัญหาที่ตามมาคือ จากเสื้อผ้าก็กลายเป็นกองขยะเสื้อผ้า ที่ถูกส่งไปที่หลุมฝังกลบ และกระบวนการเผาไหม้ก็สร้างมลพิษออกสู่อากาศ

อ่านเพิ่ม Fast Fashion คืออะไร:

“ไดอาน่า” เจ้าหญิงที่ชอบใส่ชุดซ้ำ

ไดอาน่าแห่งเวลส์ หนึ่งในผู้ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์อังกฤษ ที่เลื่องชื่ออย่างมากเรื่องการปรุงแต่ง “เปลือกนอก” ได้สวยงาม ถูกอกถูกใจคนทั่วโลก เครื่องแต่งกายของไดอาน่าล้วนมี “ข้อความ” แอบซ่อนไว้ทั้งสิ้น

อาทิ “Revenge Dress” ชุดมินิเดรสสีดำที่ไดอาน่าใส่หลังจากที่เลิกรากับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ (ตำแหน่ง ณ ขณะนั้น) ซึ่งน่าจะเป็นชุดที่กระฉ่อนโลกมากที่สุดในโลก จากเรื่องราวเผ็ดร้อน ที่ถูกสื่อสารออกมาผ่านเครื่องแต่งกาย

เจ้าหญิงไดอาน่าในชุดเดรสสีม่วง ในปี 1989 Cr. Getty Images

ชุดเดรสสีม่วงตัวเดิม แต่ปรับนิดหน่อยก็ได้ลุคใหม่ไม่ซ้ำ (ปี 1992) Cr. Getty Images Cr. Getty Images

เกริ่นมาเสียยืดยาวก็เพื่อจะบอกว่า ไดอาน่าเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างดี เธอเป็นเจ้าหญิงที่มักปัดฝุ่นเสื้อผ้าเก่า ๆ แล้วนำมาปรับนิด เปลี่ยนหน่อย เพื่อยืดอายุการใช้งานเสื้อผ้าให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยแคร์สายตาต่อใครก็ตามที่มองว่า “ใส่ชุดซ้ำ”

นี่เป็นเพียงตัวอย่างชุดรีไซเคิลจากเจ้าหญิงไดอาน่า 1 ชุดเท่านั้น ที่จริงแล้ว ยังมีอีกหลายชุดด้วยกัน สามารถหาชมได้ เสิร์จคำว่า "Diana Recycled Dress"

“เคต มิดเดิลตัน” ใส่ชุดซ้ำ ก็ยังสวยเก๋

พูดถึงไดอาน่าไปแล้ว อีกหนึ่งชื่อที่ต้องพูดถึง เมื่อวนเข้าหัวข้อเรื่องเครื่องแต่งกาย คงหนีไม่พ้นชื่อของ “เคต มิดเดิลตัน” หรือในชื่อเต็มว่า แคทเธอรีน เอลิซาเบธ มิดเดิลตัน เรียกได้ว่าเธอเป็นตัวตายตัวแทนของไดอาน่าก็ว่าได้ ในเรื่องการนิยมรีไซเคิลชุดสวย

หลายครั้งหลายคน ที่เคตหยิบชุดเก่าที่เคยใส่ไปแล้ว “มาตัดนู่น เย็บนี่” แม้จะเป็นชุดเดิม แต่หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “งดงาม” ยิ่งนัก ใส่ออกมาแล้วดูมีสง่าราศี จนหลัง ๆ มีคนตั้งฉายาให้เธอว่า “เจ้าหญิงสมถะ”

ชุดเดรสสีขาวที่เคต มิดเดลตัน ใส่ในงานประกาศรางวัล BAFTA เมื่อปี 2019 Cr. Getty Images

เธอนำชุดเดิมมารีไซเคิลใหม่ แล้วใส่ออกงานเมื่อปี 2023 Cr. Getty Images

แม้จะบอกว่าเธอชื่นชอบรีไซเคิลชุดเก่าเป็นชีวิตจิตใต แต่เรื่องนี้กลับตกเป็นประเด็นในสังคมอยู่พักใหญ่ ๆ เมื่อหลายคนมองว่าเธอปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม ทำไมถึงไม่แต่งตัวให้สมกับเป็น (ว่าที่) ราชิณีในอนาคตเอาเสียเลย

หรือไหมเธอตอบโต้เสียงเหล่านั้นอย่างไร?

ไม่แคร์!

ในความหมายคือ เธอยึดมั่นในแนวทางที่เธอเชื่อ นั่นคือ การหยิบชุดเก่ามาใส่ซ้ำ ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ใคร แถมเป็นการยืดต่ออายุการใช้งานของเสื้อผ้าที่เธอเคยสวมใส่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วราคาแพงหูฉี่ แปลงเป็นเงินไทยก็พอจะผ่อนรถดี ๆ ได้สักคัน

รู้จัก Slow Fashion

ว่ากันง่าย ๆ “Slow Fashion” ก็คือด้านกลับของ “Fast Fashion” นั่นแหละ

ฟังดูเหมือนจะเป็นการหยอกล้อ แดกดัน เสียดสี แต่คำว่า “Slow Fashion” คือแนวคิดของการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้มาทำเครื่องแต่งกาย ต้องเป็นชุดที่ใส่บ่อย คงทน สามารถเก็บไว้ใส่ได้ในระยะยาว และได้คุณภาพ

โดยผู้ที่เริ่มใช้คำนี้เป็นคนแรกก็คือ เคท เฟลทเชอร์ (Kate Fletcher) ศาสตราจารย์ด้านความยั่งยืนการออกแบบและแฟชั่นจาก University of the Arts London’s Center for Sustainable Fashion

ทำความรู้จัก Slow Fashion คืออะไร?

สรุปแบบเร่งรีบที่สุดคือ การรณรงค์เรียกร้องให้ผู้คนหันมาเลือกเสื้อผ้าอย่างประณีตมากยิ่งขึ้น ในความหมายคือ ตรวจสอบความต้องการให้เราให้แน่ชัด เช็กราคา ความคุ้มค่า และประเมินดูว่า หลังจากที่วิเคราะห์ปัจจัยโดยรอบแล้ว เรายังต้องการของชิ้นนั้นอยู่ไหม?

 

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related