svasdssvasds

โลกทิ้ง ‘ขยะอาหาร’ ปีละ 1,000 ตัน ธุรกิจไทยเร่งลดขยะประเภทนี้!

โลกทิ้ง ‘ขยะอาหาร’ ปีละ 1,000 ตัน ธุรกิจไทยเร่งลดขยะประเภทนี้!

“ยูเอ็น” เผยข้อมูล ในแต่ละปีโลกมี “ขยะอาหาร” สูงกว่า 1,000 เมตริกตัน โดยเกิดมาจากการผลิตอาหารมากเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นสาเหตุสำหรับที่ทำให้เกิด “ก๊าซเรือนกระจก” ด้านธุรกิจไทยเร่งลดขยะประเภทนี้!

SHORT CUT

  • “ยูเอ็น” เผยข้อมูล ในแต่ละปีโลกมี “ขยะอาหาร” สูงกว่า 1,000 เมตริกตัน โดยเกิดมาจากการผลิตอาหารมากเกินความจำเป็น
  • ธุรกิจไทยเร่งลดขยะประเภทนี้! หวั่นทำ ‘ก๊าซเรือนกระจก’ พุ่ง

  • ขยะอาหาร 60% มาจากการบริโภคในครัวเรือน อีก 28% มาจากร้านอาหารหรือผู้ให้บริการด้านอาหารและเครื่องเดิม ส่วน 12% ที่เหลือมาจากร้านค้าปลีก

“ยูเอ็น” เผยข้อมูล ในแต่ละปีโลกมี “ขยะอาหาร” สูงกว่า 1,000 เมตริกตัน โดยเกิดมาจากการผลิตอาหารมากเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นสาเหตุสำหรับที่ทำให้เกิด “ก๊าซเรือนกระจก” ด้านธุรกิจไทยเร่งลดขยะประเภทนี้!

ปัญหาขยะ ‘ขยะอาหาร’ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของโลก โดยเฉพาะประเทศไทยแม้ว่าจะมีภาคธุรกิจที่พยายามลดปัญหาขยะประเภทนี้ โดยล่าสุด โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เผยแพร่รายงานดัชนีขยะอาหาร ระบุ ปี 2565 ทั่วมี “ขยะอาหาร” (Food Waste) สูงถึง 1,050 เมตริกตัน

โดยนักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากครัวเรือน ร้านอาหาร และร้านค้าปลีกในแต่ละประเทศทั่วโลก ทำให้พบว่าในแต่ละปีผู้คนสร้าง “ขยะอาหาร” คนละประมาณ 79 กิโลกรัม เท่ากับว่ามีอาหารอย่างน้อย 1,000 ล้านจานถูกทิ้งในแต่ละวัน ซึ่งเป็นการประเมินขั้นต่ำ ในความเป็นจริงตัวเลขอาจจะมากกว่านี้

ทั้งนี้ขยะอาหาร 60% มาจากการบริโภคในครัวเรือน อีก 28% มาจากร้านอาหารหรือผู้ให้บริการด้านอาหารและเครื่องเดิม ส่วน 12% ที่เหลือมาจากร้านค้าปลีก ทั้งนี้ตัวเลขนี้ยังไม่รวมขยะอาหารอีก 13% ที่เน่าเสียหรือสูญเสียไประหว่างขั้นตอนการเก็บเกี่ยว หรือการผลิต

อย่างไรก็ตามขยะอาหารกลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่การสูญเสียทรัพยากรทั้งน้ำและที่ดินในการปลูกพืชอาหารและเลี้ยงสัตว์ โดยพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ถูกบุกรุกเพื่อทำการเกษตรกรรม แต่ดูเหมือนว่าพื้นที่ป่าที่เสียไปจะไม่ได้ถูกใช้อย่างเกิดประโยชน์มากเท่าที่ควร เพราะในรายงานระบุว่า ขยะอาหารมีพื้นที่เกือบเท่ากับ 30% ของพื้นที่เกษตรกรรมของโลก

ทั้งนี้เมื่ออาหารถูกทิ้งให้กลายเป็นขยะ ถูกฝังกลบลงในบ่อขยะ ก็จะทำให้เกิด “ก๊าซมีเทน” ซึ่งเป็นหนึ่งใน “ก๊าซเรือนกระจก” ที่มีมากและอันตรายที่สุด ซึ่งปัจจุบันขยะอาหารทั่วโลกสร้างก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศราว 8-10% ของทั้งหมด นับเป็นแหล่งการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากจีนและสหรัฐ โดยในรายงานระบุว่า “ขยะอาหารคือความล้มเหลวด้านสิ่งแวดล้อม

สำหรับขยะอาหารในประเทศไทย อาจารย์ ดร.รชา เทพษร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) เผยว่า ขยะอาหารในประเทศไทย ปัจจุบันมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยขยะอาหารของไทยในปี 2565 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 17 ล้านตัน จากสถานการณ์ปัจจุบันตัวเลขอาจขยับสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่าไทยมีการสูญเสียอาหารจนกลายเป็นขยะ

จากการผลิตอาหารได้คุณภาพที่ไม่ตามมาตรฐานที่กำหนด (Food Loss) อยู่ที่ประมาณ 30% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก เมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มที่ไม่มีอาหารบริโภค และอีกส่วนเกิดจากการบริโภคไม่ทันหรือบริโภคไม่หมด ทำให้ต้องทิ้งจนกลายเป็นขยะอาหาร

จากปัญหาขยะอาหารที่เพิ่มมากขึ้นในไทยจึงทำให้ภาคธุรกิจเดินหน้าลดปัญหา วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาดูตัวอย่างแบรนด์ที่เดินหน้าลดปัญหาขยะอาหาร เช่น บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) คือ อีกหนึ่งตัวอย่างธุรกิจเชนร้านอาหาร ที่เดินหน้าในเรื่องนี้อย่างจริงจัง อย่างเช่น โครงการ CRG Food Waste : Journey to Zero ได้ร่วมมือกับ เซ็นทรัลพัฒนา ในโครงการ “ไม่เทรวม” จัดอบรมพนักงานในร้านร่วมกันคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้งฝังกลบ ได้แก่ “ขยะอาหาร” และ “ขยะทั่วไป” แยกส่วนนำไปแปรสภาพเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ การทำปุ๋ยชีวภาพ และใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

โดย “อุทัยวรรณ อนุชิตานุกูล” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารความเป็นเลิศและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่ทางเซ็นทรัลพัฒนาได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลก มีปัจจัยหลักสำคัญส่วนหนึ่งมาจากความร่วมมือที่ดีอย่างยิ่งจากพันธมิตรใน Ecosystem ของเรา โดยเฉพาะ ซีอาร์จี ที่มีเป้าหมายร่วมกัน ในโครงการ Green Partnership พันธมิตรสีเขียว

ซึ่งมุ่งดำเนินภารกิจอย่างเข้มข้นใน 2 มิติ ทั้งการประหยัดพลังงาน และการคัดแยกขยะ โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ต้องขอบคุณทาง ซีอาร์จี ที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการคัดแยกขยะอาหารได้มากถึง 46.63 ตัน นำไปสู่การลดขยะฝังกลบได้ถึง 38% เกินเป้าหมายที่เราตั้งไว้ และเชื่อว่าปี 2567 นี้ ทั้ง 2 องค์กรจะจับมือกันต่อเนื่องไปสู่เป้าหมาย Net Zero ร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า และสร้าง Better Futures ของทุกคนอย่างแท้จริง

ต่อมาคือแบรนด์ ชาบูชิ (SHABUSHI) แบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นคุณภาพ ภายใต้ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ “โออิชิ” ซึ่งแบรนด์ดังกล่าว มองว่าปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาการสูญเสียอาหาร (Food Loss) และขยะอาหาร (Food Waste) ที่ถูกทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์นั้น นับเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน

ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals “SDGs”) ในเป้าหมายที่ 12 : สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยังยืน และเป้าหมายย่อยที่ 12.3 : ลดของเสียอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารตลอดการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี พ.ศ. 2573นอกจากนี้ยังมีโครงการ #กินหมดเกลี้ยงCHALLENGE พร้อมรณรงค์ผู้บริโภคร่วมขับเคลื่อนและรับประทานอาหารหมด...ไม่เหลือทิ้ง เพื่อลดปัญหาขยะอาหาร

ถัดมาคือ โลตัส ที่เคยร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือเบโด้ (BEDO) สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือต่อยอดโครงการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly - BSF) สำหรับเป็นอาหารสัตว์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนอาหารเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกร

ทั้งนี้โลตัส จะบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากสาขาเพื่อใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน เดินหน้าสู่เป้าหมายลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ (Zero Food Waste) ภายในปี ค.ศ. 2030 และยังเคยมีการจัดโครงการ “กินได้ไม่ทิ้งกัน” โดยบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดแต่ยังรับประทานได้ให้กับผู้ยากไร้และองค์กรการกุศล ส่วนอาหารที่รับประทานไม่ได้แล้วจะถูกบริจาคเพื่อเป็นอาหารสัตว์

ซึ่งเคยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำร่องโครงการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน โดยบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมด อาทิ ผัก ผลไม้ อาหารปรุงสำเร็จ ให้เกษตรกรในเครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อใช้เป็นอาหารเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน ซึ่งถือเป็นแมลงเศรษฐกิจ ใช้ทดแทนอาหารสัตว์สำเร็จรูป สามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้กว่า 50%

ปัญหาขยะอาหารนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ทั้งในไทย และระดับโลกที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาไม่เพียงแต่ภาคธุรกิจเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related