svasdssvasds

นวัตกรรมทางการแพทย์ก้าวหน้า รักษาถูกเวลา ดูแลถูกวิธี ชีวิตดีดังเดิม

นวัตกรรมทางการแพทย์ก้าวหน้า รักษาถูกเวลา ดูแลถูกวิธี ชีวิตดีดังเดิม

ฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว มาเล่าถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในในอนาคต จากงาน "Health & Wealth Forum : สร้างสุขก่อนสูงวัย อยู่ดี สุขภาพดี การเงินดี"

ฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว กล่าวถึงธุรกิจของโรชว่า ทำธุรกิจด้านเวชภัณฑ์และการผลิตยามานาน 125 ปี และยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในพอร์ตโฟลิโอที่โดดเด่น เช่น เป็นบริษัทแรกในโลกที่พัฒนายารักษาไวรัสตับอักเสบ มีเทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นผู้ผลิตชุดตรวจโควิด-19 บริษัทแรกของโลกในปี 2020

"เราลงทุนหลายพันล้านเพื่อวิจัยยาและเวชภัณฑ์ที่ยากๆ ได้ เช่น ตัวเทสต์โควิดที่มีผู้ใช้ตรวจไปแล้ว 27 พันล้านครั้ง ส่วนในปัจจุบัน เรามีชื่อเสียงด้านมะเร็งวิทยา และกำลังวิจัยพัฒนายาเพื่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์" ฟาริดกล่าว

โรช จัดตั้งศูนย์วิจัยหลายแห่ง เช่นที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีห้องทดลองที่บาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ และยังร่วมมือด้านการวิจัยกับชูไกในญี่ปุ่น ทั้งนี้ งบที่ใช้วิจัยและพัฒนาตัวยาใหม่ๆ อยู่ที่วันละ 12 พันล้านฟรังก์ หรือราว 3.2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 114.5 ล้านบาท)

ในฐานะองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านการวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพ ฟาริดบอกว่า “Doing now what patients need next” หมายถึง สิ่งที่บริษัททำในขณะนี้ เพื่อความต้องการของผู้ป่วยในอนาคต 

"12 ปีที่แล้ว บริษัทเคยคิดว่า มะเร็งเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเซลล์ แต่วันนี้ เรารู้แล้วว่ามะเร็งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระดับยีน" ฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว กล่าว

....................................................................................

คอนเทนต์อื่นๆ จากงาน "Health & Wealth Forum : สร้างสุขก่อนสูงวัย อยู่ดี สุขภาพดี การเงินดี" ที่คุณอาจสนใจ

....................................................................................

อนาคตที่ฟาริดกล่าวถึง คือแกนหลักในการดำเนินธุรกิจของโรช 

  • ด้านการวิจัยและพัฒนา

ความต้องการยาในอนาคตย่อมต่างไปจากปัจจุบัน การวิจัยและพัฒนายาในวันนี้ เป็นไปเพื่อซัพพอร์ตความต้องการของผู้คนในอีก 10 ปีข้างหน้า เช่น การพัฒนายาขั้นสูงเพื่อรักษามะเร็ง ซึ่งโรชลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและสร้าง How to เป็นของตัวเอง  

  • ด้านการเป็นแหล่งรวมฐานข้อมูล

เรื่องที่โรชกำลังศึกษาและขยายงานเพิ่มเติมคือ การลงทุนใน Data โดยเข้าซื้อ Flatiron Health บริษัทด้านฐานข้อมูลมะเร็งที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา และนำข้อมูลจาก Flatiron มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีด้านเภสัชภัณฑ์ของบริษัท โดยนำ Data จาก Flatiron มาผสานเข้ากับข้อมูลการกลายพันธุ์ของยีนในมะเร็งให้เป็น AI ช่วยให้แพทย์ผู้รักษาเข้าใจการกลายพันธุ์ของยีนในเซลล์มะเร็งและวิธีการรักษามะเร็งที่ดีขึ้นในอนาคต

"เรากำลังวิจัยพัฒนาการบำบัดยีน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ยาของเราจะรักษาโรคได้ดีขึ้นในอนาคต และเรายังเข้าซื้อหุ้นของ Spark Therapeutics โดยหวังว่าการรักษาแบบ Personalized healthcare เช่น การรักษาผู้ป่วยโดยการใช้ยีนบำบัด จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้"

Source : diagnostics.roche.com

อีกด้านหนึ่ง โรชมีทีมช่วยตรวจเพื่อป้องกันโรคด้วยนวัตกรรมการตรวจจับ Diagnostics ซึ่งช่วยสกรีนอาการป่วยได้ล่วงหน้า ทำให้มั่นใจได้ว่า ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาถูกเวลาและได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี 

ฟาริดยกตัวอย่าง มะเร็งปอด ในไทยที่สามารถพบยีนกลายพันธุ์ถึง 14 ชนิด ซึ่งถ้าตรวจพบตอนเป็นระยะที่ 3-4 มีโอกาส 70-80% ที่จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี แต่ถ้าตรวจเจอระยะที่ 2 โอกาสเสียชีวิตจะอยู่ที่ 20% ดังนั้น การตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ หากพบโรคเร็วก็ยิ่งเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ผู้ป่วยก็จะเข้าถึงการรักษาได้เร็วขึ้น 

"ในส่วนของการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลต่างๆ เช่น ไทยนครินทร์ เราพยายามกระตุ้นให้ผู้คนทราบถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองแต่เนิ่นๆ เช่น การไปทำ CT Scan เพื่อตรวจหามะเร็งปอด หรือทำแมมโมแกรมเพื่อตรวจมะเร็งเต้านม นี่คือสิ่งที่เราพยายามโปรโมตร่วมกับพาร์ตเนอร์ของเรา เพราะยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไร ก็มีแนวโน้มที่ผลลัพธ์จะออกมาดีเท่านั้น"

นวัตกรรมทางการแพทย์ก้าวหน้า รักษาถูกเวลา ดูแลถูกวิธี ชีวิตดีดังเดิม

ฟาริดบอกว่า โรชเข้ามาทำธุรกิจในไทย 51 ปีแล้ว และแสดงความเห็นในด้านสาธารณสุขว่า ไทยควรลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและลงทุนมากขึ้นในด้านการดูแลสุขภาพของประชาชน เพื่อทำให้ประชาชนมีผลผลิตสูงขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้น

"สถิติในขณะนี้บอกว่า คนไทยสุขภาพดี 5 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุ 1 คน เมื่อถึงปี 2040 ตัวเลขจะลดเหลือผู้มีสุขภาพดี 2 คน ต้องคอยดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ประเด็นเรื่องการพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นประเด็นใหญ่มาก"

ไม่ใช่แค่นั้น การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคมะเร็งทำให้ไทยสูญเสีย GDP ปีละ 0.4% และในตอนท้ายยังฝากถึงภาครัฐว่า ไทยมีจีดีพีต่อหัวในด้านการดูแลสุขภาพคงที่อยู่ที่ 3.6% มา 8 ปี และตลอด 8 ปีที่ประชากรไทยอายุมากขึ้น เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น แต่งบประมาณในการดูแลสุขภาพประชาชนกลับไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

"การซัพพอร์ตผู้สูงวัยเป็นความท้าทาย หากเป็นผม ผมจะลงทุนในเด็กและวัยแรงงาน โดยทำให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีเพราะเป็นคนที่จะมาดูแลผู้สูงอายุในอนาคต" ฟาริดฝากไว้ให้คิด

related