svasdssvasds

สำรวจ 8 งานศิลป์ชั้นครูในไอคอนสยาม เชิดชูศิลปะไทยสู่อาร์ตสเปซระดับโลก

สำรวจ 8 งานศิลป์ชั้นครูในไอคอนสยาม เชิดชูศิลปะไทยสู่อาร์ตสเปซระดับโลก

ART HUNTING JOURNEY: สำรวจ 8 งานศิลป์ชั้นครูในไอคอนสยาม เปิดเรื่องราวทรงคุณค่า เชิดชูศิลปะไทยสู่อาร์ตสเปซระดับโลก และทุกตารางพื้นที่ของไอคอนสยามยังมีผลงานประติมากรรมสุดเลอค่าระดับมาสเตอร์พีซของศิลปินชั้นครูทุกแขนงกว่า 100 คนที่มาร่วมถ่ายทอด อีกมากมายซ่อนอยู่

เมื่อพูดถึงศิลปะแห่งยุค คงจะหนีไม่พ้น “ศิลปะร่วมสมัย” หรือ Contemporary Art ที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ในวงการศิลปะ ซึ่งผสมผสานหลากหลายแนวความคิด วัฒนธรรม วัสดุ และวิธีการ เพื่อสะกดสายตาให้เราเผชิญหน้ากับความรู้สึกหรือความท้าทายที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคนราวกับเป็นบทสนทนาลับๆ ระหว่างผู้ชมและศิลปิน โดยศิลปะร่วมสมัยไม่มีคำว่าเก่าหรือใหม่ ไม่มีกรอบที่แน่นอน เช่นเดียวกัน ในสมัยนี้หากเราต้องการไปเสพงานศิลป์ ก็ไม่มีการตีกรอบว่าต้องไปชมที่พิพิธภัณฑ์หอศิลป์ต่างๆ เพียงอย่างเดียว แต่เรายังสามารถไปชมที่แลนด์มาร์กท่องเที่ยวสุดอลังการอย่าง “ไอคอนสยาม” ที่ได้ทลายกำแพงระหว่างศูนย์การค้า สู่ Public Art Space ที่เราสามารถ “สำรวจ” งานศิลป์ร่วมสมัยชั้นแนวหน้าเกือบทุกแขนง ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นไทยผ่านฝีมือของศิลปินแห่งชาติ และความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินระดับโลกซึ่งแฝงตัวอยู่ในทุกอณูของพื้นที่ได้อีกด้วย

สำรวจ 8 งานศิลป์ชั้นครูในไอคอนสยาม เชิดชูศิลปะไทยสู่อาร์ตสเปซระดับโลก

แต่สำหรับงานศิลป์ เพียงแค่อ่านหรือฟังจากใครๆ นั้นอาจจะยังไม่เพียงพอ เพราะวิธีการเสพงานศิลป์ที่ดีที่สุดคือการสัมผัสด้วยตาและใช้ใจซึมซับด้วยตนเอง ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มต้นท่องไปยังโลกแห่งศิลปะกับ ART HUNTING JOURNEY ที่ไอคอนสยาม กับ 8 ไฮไลท์งานศิลป์ไทยระดับมาสเตอร์พีซกันได้เลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

HUNTING SPOT 1: เจาะเวลาจากอดีตสู่ปัจจุบัน สำรวจเสาจารึกสีทอง ณ ประตูบานแรกแห่งเมืองไอคอนสยาม

เริ่มกันที่จุดแรก ณ ชั้น G โซน ICONLUXE กับผลงาน “จารึกสัญลักษณ์สุวรรณภูมิ คือแสงแห่งปัญญา” ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ โดยเสาจารึกสีทองสูง 16 เมตร 4 ต้น ที่ตั้งเด่นเป็นสง่า ณ ประตูบานแรกริมแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อย่างเท้าเข้ามาที่ไอคอนสยามนั้น ถูกแต่งเเต้มด้วยงานทัศนศิลป์ลวดลายประณีตงามสะดุดตา แฝงด้วยความอ่อนช้อยแต่หนักแน่นมั่นคง โดยในตัวเสาแต่ละต้นได้บอกเล่าเรื่องราวของอาณาจักรสุวรรณภูมิอุษาคเนย์ ที่มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ผ่านการเดินทางของวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคบ้านเชียง ไล่เรียงมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับ Hunting spot นี้ เปรียบเสมือนประตูเมืองแห่งโลกงานศิลป์จุดแรก ที่จะคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกมุมเมือง หลากหลายชาติ หลากหลายวัฒนธรรม มาสู่ไอคอนสยามนี้

HUNTING SPOT 1: เจาะเวลาจากอดีตสู่ปัจจุบัน สำรวจเสาจารึกสีทอง ณ ประตูบานแรกแห่งเมืองไอคอนสยาม

HUNTING SPOT 2: สำรวจพลังแห่งสายน้ำที่เคลื่อนไหวสู่แรงบันดาลใจของประติมากรรมกนกเปลวสามมิติ

เมื่อเดินถัดมาจากจุดแรกอีกเล็กน้อยในโซน ICONLUXE หากเรามองขึ้นไปด้านบน จะสามารถพบกับงานประติมากรรมขนาดใหญ่สุดอลังการ ที่ Haberdashery Studio อาร์ตสตูดิโอระดับโลกจากประเทศอังกฤษ ได้รังสรรค์ขึ้นจากเส้นสายลายไทยออกมาเป็นรูปทรงกนกเปลวสามมิติสีเงิน-ทอง-นาก โดยลวดลายพริ้วไหวและแสงระยิบที่ตกกระทบลงบนพื้นผิวของผลงาน ได้เกิดจากการสังเกตเห็นความเปล่งประกายจากกระเบื้องเซรามิคที่สะท้อนบนผิวน้ำ ทำให้งานชิ้นที่ชื่อว่า “แม่น้ำ” สะท้อนถึงพลังแห่งสายน้ำที่เคลื่อนไหวอยู่นอกอาคารซึ่งแฝงไปด้วยความโดดเด่นของไอคอนสยามเป็นอย่างดี

HUNTING SPOT 2: สำรวจพลังแห่งสายน้ำที่เคลื่อนไหวสู่แรงบันดาลใจของประติมากรรมกนกเปลวสามมิติ

HUNTING SPOT 3: แชนเดอเลียร์พวงมาลัย สำรวจเอกลักษณ์ไทยในความโอบอ้อมอารี

หลังจากชมประติมากรรมไปเรียบร้อยแล้ว บนเพดานระหว่างโถงทางเดินอาคารที่เชื่อมต่อระหว่างไอคอนสยามและโซน ICONLUXE ยังประดับด้วยแชนเดอเลียแก้วแสนพิเศษขนาดใหญ่ชิ้นเดียวในโลก ที่ออกแบบโดย Petra Junová ดีไซเนอร์แห่ง LASVIT บริษัทออกแบบและผลิตจากสาธารณรัฐเช็ก จากการนำเอาเอกลักษณ์ของคนไทยที่หลายชาติต่างกล่าวขานเป็นเสียงเดียวถึงความโอบอ้อมอารีของคนไทยจนกลายมาเป็นที่มาของคำว่า “รอยยิ้มเมืองสยาม” ที่เลื่องลือไปทั่วโลก มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบแชนเดอเลียจาก “พวงมาลัย” ที่ร้อยด้วยดอกรักและดอกมะลิ ซึ่งเป็นลักลักษณ์แทนน้ำใจ ราวกับเป็นการต้อนรับผู้มาเยือนไอคอนสยามด้วยรอยยิ้มที่แสนอบอุ่นแบบไทย

HUNTING SPOT 3: แชนเดอเลียร์พวงมาลัย สำรวจเอกลักษณ์ไทยในความโอบอ้อมอารี

HUNTING SPOT 4: สำรวจเบื้องหลังลวดลายโอ่งและผนังที่แฝงวัฒนธรรมไทยจากภาคต่างๆ อย่างแยบยล

อีกหนึ่งไฮไลท์สุดไอคอนนิกที่เคยโด่งดังในโลกโซเชียล คือ ‘ห้องน้ำไอคอนสยาม’ โดยห้องน้ำทุกชั้นของไอคอนสยาม คือ อาร์ทสเปซที่ถูกตกแต่งสวยงามเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามแต่ละโซนจนได้รับรางวัล “สุดยอดห้องน้ำแห่งปีของกรุงเทพมหานคร” ประจำปี 2562 จากสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และรางวัลมาตรฐานห้องน้ำสาธารณะอาเซียน ประจำปี 2564 จากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยเฉพาะในโซนสุขสยาม ชั้น G ณ ฝั่งภาคกลางและอีสาน ที่อยากพาไปสำรวจเรื่องราวของวัฒนธรรมไทยในภาคต่างๆ โดยได้รับเกียรติจาก คุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ทายาท “เถ้าฮงไถ่” โรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่คู่เมืองราชบุรี มาแต่งแต้มลวดลายลงบนโอ่งที่ปั้นเองกับมือด้วยวิถีดั้งเดิม แม้ต้องใช้ เวลานานแต่ทรงคุณค่าเพื่อให้ได้ลวดลายที่สมบูรณ์และเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก นอกจากนี้ผนังของห้องน้ำโซนสุขสยาม ยังได้ถ่ายทอดงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยผ่านผลงานของกลุ่มศิลปิน Hooker’s Green ให้มีเรื่องราวแตกต่างกันตามโซนแต่ละภาค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิมมิคให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาได้ถ่ายภาพพร้อมชมบันทึกเรื่องราวของไทยที่ควรค่าแก่การจดจำ

ห้องน้ำสุขสยาม : เบื้องหลังลวดลายโอ่งและผนังที่แฝงวัฒนธรรมไทยจากภาคต่างๆ อย่างแยบยล HUNTING SPOT 5: ประติมากรรม “ทองหยอด” สำรวจอีกด้านของเอกลักษณ์ไทย ที่มาจาก “การผสมผสาน”

จากการเดินทางของท้าวทองกีบม้า สู่แรงบันดาลใจของศิลปะร่วมสมัย “ทองหยอด” ประติมากรรมทองเหลืองรูปทรงทองหยอดที่เคยถูกนำไปแสดง ณ งานเทศกาลศิลปะนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกศิลปะอย่าง Venice Biennale มาแล้ว ถูกนำมาจัดแสดง ณ โถงทางเดินกลาง ชั้น M ไอคอนสยาม สร้างสรรค์โดยคุณอริญชย์ รุ่งแจ้ง เป็นงานศิลป์ที่สามารถพาเราไปสำรวจจุดเชื่อมโยงที่ผสมผสานการทับซ้อนของวัฒนธรรมอย่างลงตัว แฝงเร้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ทั้งในแง่สังคม และวัฒนธรรม โดยศิลปินได้เลือกใช้วัสดุทองเหลือง และนำไปผลิตที่โรงงานหล่อพระ โดยทุกกระบวนการที่เลือกใช้ได้สะท้อนตัวตนแบบไทยอย่างลงตัว

ประติมากรรม “ทองหยอด” สำรวจอีกด้านของเอกลักษณ์ไทย ที่มาจาก “การผสมผสาน” HUNTING SPOT 6: สำรวจลวดลายพิมพ์ใบไม้ ผ่าน “เสาแห่งมงคล” สีทองสุกสกาว

สำหรับเส้นทางสายอาร์ตต่อมาที่รอให้ทุกคนมาสำรวจ ได้ตกแต่งอย่างสวยงามเป็นสง่าที่ชั้น M  และ 1 ของไอคอนสยาม กับ “เสาแห่งมงคล” ทองอร่ามทั้ง 8 ต้น สร้างสรรค์โดยศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์ ศิลปินไทยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เชี่ยวชาญในสาขาภาพพิมพ์ โดยเส้นลวดลายต่างๆ เกิดจากการประทับพิมพ์ใบไม้จากต้นไม้มงคลของไทย ไม่ว่าจะเป็น ใบจากต้นประดู่ และต้นคูณ โดยเส้นสายสีทองบนเสาที่สะท้อนแสงสุกสกาว ซ่อนนัยยะความหมายระหว่าง “ธรรมะ” กับ “ธรรมชาติ” ได้อย่างลึกซึ้ง สามารถสะกดสายตาให้ผู้คนที่เดินผ่านมาหยุดชื่นชมได้อย่างน่าจดจำทีเดียว

HUNTING SPOT 6: สำรวจลวดลายพิมพ์ใบไม้ ผ่าน “เสาแห่งมงคล” สีทองสุกสกาว HUNTING SPOT 7: สำรวจกำแพงศิลป์สไตล์อิมเพรสชันนิสม์ “แสงสยาม” ที่สร้างสรรค์ความงามด้วยกระจกสี

ในฐานะพื้นที่แห่ง Public Art Space แน่นอนว่าไอคอนสยาม ไม่เพียงแต่รวบรวมงานศิลป์ไว้ภายในเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงองค์ประกอบภายนอกด้วยเช่นกัน โดยไฮไลท์อยู่ที่ ICONSIAM Park ชั้น 2 กับกำแพงศิลป์ “แสงสยาม”  Art Wall  ขนาดใหญ่ที่ทอดยาว 60 เมตร ที่คุณสิทธิ์วุธ ยาวิชัย ศิลปินรุ่นใหม่ได้หยิบยกเอา “กระจกสี” หนึ่งในงานของช่างสิบหมู่ของไทย งานพุทธศิลป์ที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน มาสร้างสรรค์ผลงานสไตล์อิมเพรสชันนิสม์ด้วยเทคนิคร่วมสมัย โดยความโดดเด่นของกำแพงศิลป์นี้อยู่ที่แสงเงาธรรมชาติที่สะท้อนเปลี่ยนไปแต่ละช่วงเวลา ถือเป็นเสน่ห์ที่ประทับลงบนความรู้สึกซึ่งแตกต่างกันไปผ่านสายตาของผู้ชมในแต่ละช่วงเวลา

กำแพงศิลป์สไตล์อิมเพรสชันนิสม์ “แสงสยาม” ที่สร้างสรรค์ความงามด้วยกระจกสี HUNTING SPOT 8: “รวมพลังความเป็นไทย” แลนด์มาร์กสุดท้ายที่หลอมรวมทุกอณูของไอคอนสยามไว้ด้วยกัน

จบท้ายการสำรวจงานศิลป์สุดไอคอนนิกด้วยผลงานเทคนิคคอลลาจ (Collage)  “รวมพลังความเป็นไทย” ณ บริเวณสุราลัย ฮอลล์ชั้น 7 รังสรรค์โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป สุธาทองไทย ผู้มีชื่อเสียงด้านศิลปะภาพพิมพ์และ Photo Collage ระดับแถวหน้า โดยงานชิ้นดังกล่าว เปรียบเสมือนแลนดิ้งปิดท้ายทริปชมงานศิลป์อย่างสมบูรณ์แบบ ผ่านภาพที่รวบรวมทุกมิติของความเป็นไทยในแง่มุมต่างๆ ที่รวบรวมองค์ประกอบของไอคอนสยามที่แฝงเอกลักษณ์ของไทย พร้อมภาพจากผู้คนที่บอกเล่าถึงวัฒนธรรมที่ดีงามของประเทศในมิติต่างๆ กว่า 35,000 ภาพ มารวมหลอมไว้เป็นภาพขนาดใหญ่ยักษ์ 10 x 27 เมตร จารึกด้วยคำว่า  ‘ไทย’ คำสั้นๆ แต่มีความหมายอันทรงพลังอยู่ตรงกลาง โดยใช้ฟ้อนต์ที่ให้ความรู้สึกถึงการบรรจบกันระหว่างความเก่าแก่และสมัยใหม่ พร้อมใช้แพตเทิร์นที่ได้แรงบันดาลใจจาก “ลายผ้าไทย” ด้วยดีไซน์ที่สื่อถึงความโมเดิร์นและไทยดั้งเดิม

“รวมพลังความเป็นไทย” แลนด์มาร์กสุดท้ายที่หลอมรวมทุกอณูของไอคอนสยามไว้ด้วยกัน ​​​​​​​สำหรับงานศิลป์สุดไอคอนนิกทั้ง 8 มาสเตอร์พีซนี้ เป็นเพียงตัวอย่างไฮไลท์ของ ART HUNTING JOURNEY บางส่วนเล็กๆ เท่านั้น โดยในทุกตารางพื้นที่ของไอคอนสยามยังมีผลงานประติมากรรมสุดเลอค่าระดับมาสเตอร์พีซอีกมากมายซ่อนอยู่รอให้ทุกคนได้มาสำรวจและค้นพบเรื่องราวผ่านเลนส์ของศิลปินชั้นครูทุกแขนงกว่า 100 คนที่มาร่วมถ่ายทอด พร้อมพลิกมุมมองให้เดสติเนชั่นแห่งนี้ เป็นอีกหนึ่ง Public Art Space ที่มาสร้างประวัติศาสตร์ของวงการศิลปะไทยไปสู่เวทีโลก โดยสำหรับใครที่สนใจตามรอยค้นหางานศิลป์ที่ซ่อนอยู่ในจุดต่างๆ เพิ่มเติม และเรียนรู้เรื่องราวมากขึ้นผ่านบทสัมภาษณ์ของศิลปินแต่ละท่าน สามารถรับชมได้ที่ https://bit.ly/8IconicArt

 

related