svasdssvasds

ทำความเข้าใจภาวะ PTSD คืออะไร? ดูแลจิตใจอย่างไรให้กลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง

ทำความเข้าใจภาวะ PTSD คืออะไร? ดูแลจิตใจอย่างไรให้กลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง

จากเหตุการณ์กราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภูส่งผลกระทบกับสภาพจิตใจครอบครัวเหยื่อซึ่งอาจอยู่ในภาวะ PTSD หรือภาวะเครียดหลังเจอเหตุการณ์ร้าย ซึ่งเราอาจจะได้ยินคำนี้บ่อยๆ เรามาทำความรู้จักกับคำว่า PTSD ว่าคืออะไร? แล้วมีวิธีดูแลจิตใจยังไงให้กลับมาใช้ชีวิตได้

ทำความเข้าใจภาวะ PTSD คืออะไร? ดูแลจิตใจอย่างไรให้กลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง PTSD ย่อมาจาก Post-traumatic stress disorder หรือโรคเครียดหลังจากเจอเหตุการณ์ร้ายแรง มาจากความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์คุกคามที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง หรือบาดเจ็บมีความเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือแม้แต่สูญเสียบุคคลสำคัญซึ่งทำให้เกิดความเศร้า ความเครียดรุนแรงนำมาสู่ PTSD ความเครียดเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย  ซึ่งต้องดูแลผู้สูญเสียทั้งระยะสั้นและระยะยาว

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

 

อาการของ PTSD เป็นอย่างไร

-รู้สึกเหมือนเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำ เช่น มีอาการฝันร้ายถึงเหตุการณ์บ่อยๆ

-มีพฤติกรรมเลี่ยงต่อสิ่งเร้าที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานที่ สิ่งของซึ่งกระตุ้นให้นึกถึงจนเกิดอาการผวา วิตกกังวล

-อารมณ์หรือความคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ เช่น รู้สึกห่างเหิน ไม่ยินดียินร้าย ไม่สามารถรู้สึกด้านบวกได้

-ตื่นตัวมากเกินปกติ เช่น นอนไม่หลับ กลัวหรือตกใจ ง่ายกว่าปกติ

-มีอาการซึมเศร้า หดหู่ สิ้นหวัง คิดมาก สมาธิแย่ นอนไม่หลับ หรืออยากฆ่าตัวตาย

หากพบว่าบุคคลใกล้มีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

ดูแลจิตใจผู้สูญเสียอย่างไรให้กลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง

-งดการรับรู้ข่าวสาร เหตุการณ์ที่ยิ่งกระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์ร้ายในทุกช่องทาง

-ควรงดสื่อ social media รายการข่าวต่างๆ รวมถึงไม่พูดคุยซักถามถึงเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้นึกถึง 

-กลับมาดูแลฟื้นฟูร่างกาย และจิตใจอย่างเหมาะสม

-ทำกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 

-เลือกกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจที่รู้สึกสบายใจ ทำกิจกรรมดีๆ กับครอบครัว เพื่อนฝูงโดยไม่มีการพูดถึงเหตุการณ์ร้ายนั้น 

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 

-ทำกิจกรรมผ่อนคลายบำบัด เช่น การผ่อนคลายด้วยการฟังเพลงบรรเลงที่ช่วยให้ใจสบาย โยคะ ผ่อนคลายด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้า-ออก (exercise breathing) เป็นต้น

นอกจากนี้การรับฟังอย่างเปิดใจ และเข้าใจ เป็นต้นทางของการเยียวยาใจที่ดีกับทั้งกับคนรอบข้าง และกับคนในสังคม 

สิ่งที่ควรทำ

-รับฟังอย่างใส่ใจ

-รับฟังด้วยความเคารพในกันและกัน

-รับฟังโดยไม่ตัดสิน

-รับฟังอย่างไม่มีอคติ

สิ่งที่ไม่ควรทำ

-ตำหนิติเตียนกัน เช่น เตือนแล้วไม่เชื่อเลยต้องไปเจอเหตุการณ์นี้

-ให้คำแนะนำ สั่งสอน ทั้งที่ยังไม่ได้รับฟัง และยังไม่ได้เข้าใจความรู้สึกเขา เช่น อย่าเครียด คิดมากไป ทำใจ สบายๆ เดี๋ยวก็หายเครียด หรือ สู้สู้ อย่าอ่อนแอ เป็นต้นเนื่องจาก PTSD เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างมาก ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ มีผู้เชี่ยวชาญดูแลจิตใจจะช่วยบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ลดความเสี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นจากอาการได้ 

Cr. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ /  ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย