svasdssvasds

สร้าง Superman ให้เป็นตัวแทนของผู้อพยพ : เจอร์รี ซีเกล - โจ ชูสเตอร์

สร้าง Superman ให้เป็นตัวแทนของผู้อพยพ : เจอร์รี ซีเกล - โจ ชูสเตอร์

เจมส์ กันน์ จุดประเด็นร้อนทางสังคม หลังให้สัมภาษณ์ว่า Superman คือผู้อพยพ SPRiNG ชวนย้อนดูจุดกำเนิดของซูเปอร์แมน เมื่อผู้สร้างก็เป็นชาวอพยพ แล้วทำไมช่าวขวาอเมริกันรังเกียจผู้อพยพ

ย้อนกลับไปในปี 1938 ‘ซูเปอร์แมน' เดบิวต์อย่างเป็นทางการใน Action Comics ที่รังสรรค์โดย เจอร์รี ซีเกล เป็นคนเขียน และมีโจ ชูสเตอร์ เป็นนักวาด

ชาวอเมริกันรู้จักซูเปอร์แมนในฐานะยอดมนุษย์จากดาวอื่น (คริปตัน) ที่อพยพมาอยู่ในอเมริกา รัฐแคนซัส ถูกกล่อมเกลาให้ใช้พลังที่มีปกป้อง และผดุงความยุติธรรมให้ชาวอเมริกัน จนเกิดเป็น motto ที่ท่องกันได้ขึ้นใจว่า ‘Truth, Justice and the American Way’ (ก่อนถูกเปลี่ยนในภายหลัง)

สร้าง Superman ให้เป็นตัวแทนของผู้อพยพ : เจอร์รี ซีเกล - โจ ชูสเตอร์

ทำไมถึงบอกว่าซูเปอร์แมนเป็นผู้อพยพ ?

ใครได้ดูก็จะรู้ว่า ‘ซูเปอร์แมน' เดินทางมาจากดาวคริปตันมาสู่ดาวโลก ซูเปอร์แมนไม่มีเอกสารที่ยืนยันจากทางการ โดยกฎหมายแล้ว เขาไม่ใช่พลเมืองอเมริกัน นี่เป็นเนื้อเรื่องที่ถูกประพันธ์มาตั้งแต่เวอร์ชันแรกโด เจอร์รี ซีเกล และโจ ชูสเตอร์แล้ว

เจอร์รี ซีเกล (ซ้าย) - โจ ชูสเตอร์ (ขวา)

ทีนี้ ถ้าเรามองไปถึงปูมหลังของผู้สร้างทั้งสองคน ทั้งซีเกลและชูสเตอร์ต่างก็เป็นลูกหลานของชาวยิวที่อพยพเข้ามาอยู่ในอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1910s เฉกเช่นผู้อพยคนอื่น ๆ ซึ่งตั้งแต่ทศวรรษ 1880-1930s มีการบันทึกว่ามีผู้อพยพเข้าอเมริกามากถึง 23 ล้านคน

ประเทศยุโรปอพยพมายังอเมริกา มองหาชีวิตที่ดีกว่า

ดังนั้น การที่ผู้สร้างรังสรรค์ซูเปอร์แมนขึ้นมาจึงมีนัยยะทางสังคมอยู่ แน่นอนว่าซูเปอร์แมนคือวีรบุรุษของชาวอเมริกัน ไอ้หนุ่มกล้ามโตสวมผ้าคลุมสีแดง คอยปกป้องและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่ถูกมองว่าเป็นคนนอก (outcast) ของสังคม

สร้าง Superman ให้เป็นตัวแทนของผู้อพยพ : เจอร์รี ซีเกล - โจ ชูสเตอร์

แต่อีกมุมหนึ่ง ผู้สร้างเลือกให้ ‘คนนอก’ กลายเป็นวีรบุรุษ เป็นตัวแทนของคนที่สังคมและรัฐไม่ต้องการ แต่คนนอกผู้นี้พิสูจน์ตัวเอง ใช้ความสามารถที่มีผดุงความยุติธรรมช่วยเหลือชาวอเมริกัน จนได้รับการยอมรับในฐานะวีรบุรุษในที่สุด

ดังนั้น เราอาจพูดได้ว่าถ้าอเมริกาไม่โอบรับครอบครัวผู้อพยพของทั้งเจอร์รี ซีเกล และโจ ชูสเตอร์ และเนรเทศไปยังประเทศยุโรป ที่ ณ เวลานั้นตกอยู่ใต้ระบอบการปกครองของนาซีเยอรมัน และสิ้นชีวิตไปเช่นชาวยิวคนอื่น ๆ โลกคงไม่ได้รู้จักซูเปอร์แมน

สร้าง Superman ให้เป็นตัวแทนของผู้อพยพ : เจอร์รี ซีเกล - โจ ชูสเตอร์

 

ซูเปอร์แมนโยงกับผู้อพยพ ขวาอเมริกันไม่ปลื้ม

ซูเปอร์แมนกลายเป็น Pop culture ที่อเมริกาส่งออกไปทั่วโลก แต่เมื่อนี่คืออเมริกา ซูเปอร์แมนก็ถูกลากไปเอี่ยวกับการเมืองจนได้ เกี่ยวโยงกันชนิดที่สามารถสร้างความขัดแย้งในสังคมได้ เมื่อซูเปอร์แมนถูกย้ำจากเจมส์ กันน์ ผู้กำกับ Superman (2025) ว่า ‘ซูเปอร์คือเรื่องราวของผู้อพยพ’

ภาพยนตร์ Superman (2025)

หากใครติดตามข่าวสารต่างประเทศ การเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 ทรัมป์ใช้นโยบายเนรเทศผู้อพยพหาเสียง จนคว้าชัยในศึกเลือกตั้งมาได้ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ทรัมป์ก็ลุยปัดกวาดผู้อพยพในสหรัฐฯ อเมริกาครั้งใหญ่

ครั้งหนึ่งทรัมป์เคยสาดคำด่าใส่ผู้อพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายในสหรัฐฯ ไว้อย่างเผ็ดร้อนว่า ‘amimal and not human’ หรือ ‘เป็นสัตว์ ไม่ใช่มนุษย์’ วาทะดังกล่าวได้ใจอเมริกันหันขวาไปเต็ม ๆ ซึ่งถ้ามองกันจริง ๆ แล้ว ผู้อพยพมีอิทธิพลกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งฝ่ายอนุรักษ์น่าจะชอบไม่ใช่หรือ

ทรัมป์สัญญาช่วงหาเสียงเลือกตั้งว่าจะเนรเทศผู้อพยพ Credit Reuters

Time สื่อฝ่ายซ้ายในอเมริกาวิเคราะห์ว่าปัจจุบันฝ่ายขวาอเมริกันมองผู้อพยพเปลี่ยนไปจากอดีต เนื่องจากอเมริกาเจอปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนในสมัยรัฐบาลไบเดน รวมถึงเห็นผลด้านศาสนา เมื่อคนรุ่นใหม่ในอเมริกันนับถือศาสนาน้อยลง ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้อพยพใช้โบสก์ วัด หรือมัสยิดเป็นสถานที่รวมใจของผู้อพยพ ซึ่งฝ่ายขวารู้สึกถึงความไม่มั่นคง เพราะมีความเชื่อว่าสังคมอเมริกาต้องมาคู่กับศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิค

ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจและติดตามต่อว่าชาวอเมริกันจะตอบรับภาพยนตร์ Superman (2025) อย่างไร แต่เวลานี้ เปิดตัวทำรายได้ทั่วโลกไปกว่า 217 ล้านเหรียญสหรัฐ

เรื่องราวที่หยิบนำมาเล่ากันในวันนี้ ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ซูเปอร์แมนสำคัญกับโลกเพียงใด และทั้งหมดก็มาจากหัวสมองของผู้อพยพสองรายนามว่า ‘เจอร์รี ซีเกล’ กับ ‘โจ ชูสเตอร์’

related