svasdssvasds

ทะเบียนราษฎร เผย มี.ค. 66 ไทยมีผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี เพิ่มขึ้นเกือบ 3,000 คน

ทะเบียนราษฎร เผย มี.ค. 66 ไทยมีผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี เพิ่มขึ้นเกือบ 3,000 คน

เทศกาลสงกรานต์มีวันสำคัญคือวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 2566 เป็นวันที่คนในครอบครัวมาพบปะกัน และจากการที่ประเทศไทยเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุ จะเห็นตัวเลขผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปี มีจำนวนเพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นผู้สูงวัยอายุ 100 ปีขึ้นไป เพิ่มจำนวนจากเดิมเกือบ 3,000 คน

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เผยตัวเลขผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี ในเดือนมีนาคม 2566 มีจำนวน 23,373 คน ซึ่งมากกว่าปี 2465 ที่มีจำนวน 20,496 คน จะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 3,000 คน ทำให้เราเห็นได้ว่าจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ

ทะเบียนราษฎร เผย มี.ค. 66 ไทยมีผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี เพิ่มขึ้นเกือบ 3,000 คน

จากฐานข้อมูลของกรมการปกครอง พบว่า มีนาคม ปี 2566 มีประชากรผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี 23,373 คน  โดยเพศชายมีจำนวน 13,106 คน เพศหญิง จำนวน 13,731 คน ส่วนในปี 2565 มีจำนวน 20,496 คน โดยเพศชายมีจำนวน 11,284 คน เพศหญิง มีจำนวน 12,283 คน

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

วิธีดูแลผู้สูงวัยให้สดใสทั้งกายใจ

  • ผู้สูงอายุควรรับประทานผักและผลไม้ให้ได้วันละ 5 ส่วน โดยเลือกผักและผลไม้สดสะอาด
  • ดูแลให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำระหว่างวัน
  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา ที่สามารถย่อยได้ง่ายให้รับประทานในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
  • ควรดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับวิตามินดีอย่างพอเพียง เช่น รับแสงแดด ให้รับประทานอาหารเสริม เพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • ลองให้ผู้สูงอายุรับประทานเครื่องดื่มพลังงานสูง เช่น นม และ Milk Shake หรือเครื่องดื่มสมูธตี้ แบบหวานน้อย เพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักตัวลดลง

ทะเบียนราษฎร เผย มี.ค. 66 ไทยมีผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี เพิ่มขึ้นเกือบ 3,000 คน

วิธีดูแลด้านจิตใจ

  • ชวนผู้สูงอายุพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ หรือติดต่อพูดคุยทางโทรศัพท์ในกรณีที่ไม่ได้เจอกัน
  • สอนให้ผู้สูงวัยใช้งานอินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ได้ทำกิจกรรมใหม่ๆ และยังสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาช่วยเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้ผู้สูงอายุอีกด้วย
  • พาผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคมหรือชุมชน เพื่อทำกิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • วางแผนทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยไม่ให้เกิดภาวะเครียด
  • พาผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคกระดูกผุ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง รวมทั้งเสริมสร้างการนอนหลับ อารมณ์ และความจำ
  • กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ประมาณครั้งละ 30 นาที โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสม เช่น เดินเร็ว ขึ้นลงบันได ว่ายน้ำ ฝึกออกกำลังกายอย่างง่าย โดยใช้เก้าอี้ช่วย
  • ลองให้ผู้สูงอายุถือของเล็กๆ น้อยๆ บ้างตามสมควร
  • ชวนทำสวน ทำกิจกรรมเข้าจังหวะอื่นๆ หรือกิจกรรมที่กระตุ้นการเดิน ขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดี

 

ที่มา สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง / กรมกิจการผู้สูงอายุ

related