svasdssvasds

รู้จัก Cyberchondria อาการคิดไปเองว่าป่วยร้ายแรง

รู้จัก Cyberchondria อาการคิดไปเองว่าป่วยร้ายแรง

ไม่ไปหา "หมอ" เน้นหาคำตอบบนโลกออนไลน์ รู้จัก "Cyberchondria" อาการคิดไปเองว่าป่วยร้ายแรง เพราะหมอ Google บอก

เคยไหม เวลาปวดหัว ปวดท้อง แล้วขี้เกียจไปหาหมอ เลยขอไปเสิร์ชหาสาเหตุในอินเทอร์เน็ตแทน ซึ่งแน่นอนว่าในนั้นมีคำตอบมากมายก็ไม่รู้ว่าไปเอาข้อมูลมาจากไหนมาตอบเรา ซึ่งถ้าเกิดเราเชื่อคำตอบเหล่านั้น แล้วอยากรู้เพิ่มจนห้ามตัวเองให้หยุดค้นคว้าต่อไม่ได้ นั่นอาจหมายความว่าเรากำลังตกอยู่ในอาการ Cyberchondria ก็ได้

อาการ Cyberchondria หมายถึง ความกังวลด้านสุขภาพที่เกิดจากการใช้ อินเทอร์เน็ต มากไป ซึ่งคนที่อยู่ในภาวะนี้ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว มักมีอาการวิตกกังวล เครียด และหมกมุ่นกับการหาสาเหตุของโรคที่ตัวเองป่วยอยู่ โดยใช้โลกออนไลน์เป็นเครื่องมือหลัก แทนการไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลจริงๆ Cyberchondria หมายถึงอะไร

ยกตัวอย่างเช่น คนคนนั้นอาจมีอาการปวดท้องธรรมดา เลยไปเสิร์ชถาม Google ว่าปวดท้องเพราะอะไร ก็อาจทำให้เจอคำตอบว่า “เป็นโรคกระเพาะ” หรือเพราะ “ลำไส้อุดตัน” ก็อาจทำให้ต้องเสิร์ชต่อว่า “ต้องผ่าตัดไหม” จากนั้นก็เสิร์ชต่อว่า “ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนผ่าตัด” และก็เสิร์ชหาข้อมูลลึกลงไปเรื่อยๆ จนเกินความจำเป็น

Cyberchondria มีอาการอย่างไร ?

เนื่องจาก Cyberchondria ไม่ใช่โรคอย่างเป็นทางการ จึงไม่มีเกณฑ์ในการวินิจฉัยระบุบเอาไว้แบบชัดเจน แต่สามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  • ใช้เวลาอย่างน้อย 1 - 3 ชั่วโมงต่อวัน ในการหาคำตอบในอินเทอร์เน็ต
  • การเสิร์ชอินเทอร์เน็ตทำให้คุณรู้สึกทุกข์และวิตกกังวล แทนที่จะรู้สึกมั่นใจหรือมีพลัง
  • รู้สึกต้านทานความต้องการที่จะหาคำตอบในอินเทอร์เน็ตไม่ไหว
  • คุณกลัวว่าจะป่วยหลายโรคเกินไป
  • คุณไม่เชื่อคำตอบของแพทย์ แต่เชื่อคำตอบในอินเทอร์เน็ต
  • คุณรู้สึกอยากหาคำตอบเรื่อยๆ แม้จะเคยค้นหาอย่างละเอียดแล้วก็ตาม

แม้อาการ Cyberchondria จะไม่ชัดเจน และขึ้นอยู่กับการแสดงออกของแต่ละคน แต่ในต่างประเทศมีงานวิจัยที่ยืนยันว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลจะมีแนวโน้มเป็น Cyberchondria ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจาก พวกเขามีอาการวิตกกังวลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

นอกจากนี้ คนที่เคยสูญเสียคนในครอบครัว หรือคนที่เคยผ่านเคยผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากมาก ๆ มาก่อน ก็มีแนวโน้มเป็น Cyberchondri มากกว่าปกติด้วย

ทำอย่างไรถึงจะไม่เป็น Cyberchondria

ทำอย่างไรถึงจะไม่เป็น Cyberchondria

อย่างไรก็ตาม การเสิร์ชหาข้อมูลไว้เป็นความรู้ก่อนไปพบแพทย์ ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่การเสิร์ชหาคำตอบของเรา กลายเป็นความหมกหมุน และทำให้เกิดความเครียด จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ และกระทบประสิทธิภาพการทำงานในชีวิตประจำวัน อาจต้องหยุดการกระทำนั้นเสียก่อน เพราะต้องตระหนักว่าข้อมูลในโลกออนไลน์นั้นมีทั้งจริง และไม่จริง และบางส่วนก็ทำขึ้นเพื่อเรียกร้องความสนใจเท่านั้น

ดังนั้นการเสิร์ชข้อมูลอย่างเหมาะสม พร้อมกับรับฟังวินิจฉัยโรคจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักบำบัดไปด้วย ซึ่งจะทำให้เราได้รับข้อมูลที่ในปริมาณที่พอดี และถูกต้องมากกว่า ซึ่งช่วยลดความวิตกกังวลของเราได้

ในทางกลับกัน ถ้าเราเอาแต่กังวลจนไม่ไปหาหมอ เราก็อาจไม่ได้รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ และป่วยเป็นโรคที่เรากังวลจริงๆ ในตอนสุดท้ายก็ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related