svasdssvasds

รู้จัก Eating Disorder ใครเป็นไม่รู้ตัว ? กินเยอะผิดปกติมีผลกับสภาพจิตใจ

รู้จัก Eating Disorder ใครเป็นไม่รู้ตัว ? กินเยอะผิดปกติมีผลกับสภาพจิตใจ

Eating Disorder หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน เป็นกลุ่มอาการผิดปกติของพฤติกรรมการกินที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นผลจากนิสัยเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า หรือเกิดจากปัจจัยอื่นๆ

SHORT CUT

  • Eating Disorder เรียกว่าโรคกลัวอ้วนหรือโรคคลั่งผอม โดยควบคุมตัวเองไม่ได้
  • มี 3 โรคที่พบบ่อยที่สุด อะนอเร็กเซีย  บูลิเมีย และโรคกินไม่หยุด
  • ควรรักษาโดยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกาย และทานอาหารที่เป็นประโยชน์ หรือ พบแพทย์
     

Eating Disorder หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน เป็นกลุ่มอาการผิดปกติของพฤติกรรมการกินที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นผลจากนิสัยเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า หรือเกิดจากปัจจัยอื่นๆ

ด้วยกระแสโลกโซเชียลที่ผู้คนมักจะชอบถ่ายรูปของตนเองลงสื่อออนไลน์เป็นกิจวัตร จึงทำให้คนจำนวนมากหันมาสนใจรูปลักษณ์ภายนอกของตัวเองกันมากขึ้น แต่บางคนก็กังวลมากจนส่งผลให้กลายเป็นโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Eating Disorders) ที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะจิตใจ ทำให้มีน้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยกว่าปกติ รวมทั้งยังก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา  

Eating Disorder มี 6 ประเภทที่ควรรู้

Eating Disorder ที่เคยได้ยินกันคือ อะนอเร็กเซีย (Anorexia Nervosa) บูลิเมีย (Bulimia Nervosa) และโรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) ซึ่งเป็น 3 โรคที่พบได้บ่อยที่สุด แต่จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายประเภท ได้แก่

 

 

  • อะนอเร็กเซีย หรือบางคนเรียกว่าโรคกลัวอ้วนหรือโรคคลั่งผอม โดยคิดว่าต้องรักษารูปร่างให้ผอมบางอยู่เสมอ กลัวน้ำหนักขึ้นแม้จะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อยู่แล้ว
  • บูลิเมีย เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะกินอาหารปริมาณมากในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยควบคุมตัวเองไม่ได้ และรู้สึกผิดหลังจากที่กินมากเกินไป จึงพยายามกำจัดอาหารที่กินเข้าไปด้วยการล้วงคอให้อาเจียน
  • โรคกินไม่หยุด สามารถกินอาหารได้มากผิดปกติในเวลาไม่นานแม้จะไม่รู้สึกหิว และไม่สามารถควบคุมตัวเองให้หยุดกินได้จนกว่าจะรู้สึกแน่นท้องหรือไม่สบายตัว
  • โรคเลือกกินอาหาร คือ การเลือกกินของเด็กเล็กหรือเลือกกินทั่วไป แต่ผู้ป่วยจะขาดความสนใจในการกินอาหาร หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีลักษณะจำเพาะบางอย่าง เช่น สี เนื้อสัมผัส กลิ่น และรสที่ไม่ชอบ 
  • ภาวะการเคี้ยวกลืนอาหารแล้วขย้อนออก เป็นความผิดปกติที่ผู้ป่วยสำรอกอาหารที่เคยเคี้ยวและกลืนไปก่อนหน้านี้ออกมา จากนั้นจะเคี้ยวซ้ำแล้วกลืนเข้าไปใหม่หรือบ้วนทิ้ง
  • ภาวะการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร จัดเป็น Eating Disorder ประเภทหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น น้ำแข็ง กระดาษ สบู่ ดิน เส้นผม ฝุ่น ไหมพรม โคลน และกรวด 

โรค Eating Disorder นี้สามารถเกิดได้กับทุกเพศ และแม้กระทั่งคนในวงการทั้งในและต่างประเทศก็เคยเป็น คนในวงการของประเทศไทยเราก็จะมี  คริสซี่ กฤษณ์สิรี สุขสวัสดิ์  นักแสดงช่อง 3 หรืออีกท่านก็เป็น ไอซ์ ศรัณยู และอย่างดาราระดับฮอลีวูดอย่าง ลิลลี่ คอลลินส์ ก็ได้ใช้ยาระบายในการลดความอ้วน ที่ถึงขั้นต้องพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนี้กันเลยทีเดียว และนอกจากจะกินเยอะกินจนหยุดไม่อยู่แล้ว การไม่กินอะไรเลยก็ถือว่าเข้าข่ายเป็นโรค Eating Disorder เช่นกัน 

Eating Disorder รักษาอย่างไรดี

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกาย ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และไม่ปล่อยให้ตนเองตกอยู่ในสภาวะความเครียด
  • การใช้ยา เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมีจุดประสงค์เพื่อจัดการสมดุลภายในสมอง และลดโอกาสเกิดอาการของโรคกินไม่หยุด แต่ด้วยผลข้างเคียงจากการใช้ยาจึงต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • การทำจิตบำบัด มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้สาเหตุ และอาการของโรคเพื่อรับมืออาการและสามารถจัดการกับความคิดด้านลบต่อร่างกายของตนเองได้

ทั้งนี้ทั้งนั้นการบำบัดโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติมีทั้งด้านการบริโภค โดยมีนักโภชนาการที่สามารถให้คำปรึกษาได้ การใช้ยาบางชนิดจะช่วยควบคุมความอยากอาหาร ซึ่งจะได้ผลเมื่อทำควบคู่ไปกับการรักษาแบบอื่นๆ เช่น การรักษาด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วย ซึ่งคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยในการรักษา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related