svasdssvasds

ในวันที่เบื่องานที่ทำ... หมดไฟจากการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ทำไงดี?

ในวันที่เบื่องานที่ทำ... หมดไฟจากการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ทำไงดี?

บทความนี้อยากชวนมาคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหาต้นตอของความเบื่อหน่าย เบื่องานที่ทำ ไม่อยากไปทำงาน หลายคนคงคิดอยากเปลี่ยนงานใหม่ แต่บางครั้งก็ค้นพบว่า "เราย้ายที่ทำงานใหม่เพื่อไปเจอกับปัญหาเก่าๆ" ราวกับเป็นเหตุการณ์เดจาวูที่วนลูปซ้ำๆ

“คุณกำลังเบื่องานที่ทำอยู่รึเปล่า...”

เชื่อว่าคนทำงานทุกคนเคยรู้สึกเบื่องานที่ทำอยู่ อยากหางานใหม่ หรือเบื่อมากๆ บางทีก็ตัดสินใจลาออกไปให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่แสวงหาความท้าทายและหาทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่างานที่ทำอยู่จึงอาจจะรีบตัดสินใจเปลี่ยนงานโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง แต่สำหรับคนที่ผ่านประสบการณ์การทำงานมาบ้างแล้ว จะรู้ดีว่านี่เป็นสภาวะปกติอย่างหนึ่งของคนทำงานหรือที่เรียกว่า "สภาวะหมดไฟจากการทำงาน" (Burnout Syndrome) ซึ่งแต่ละคนจะมีวิธีรับมือกับเรื่องนี้แตกต่างกัน

ในวันที่เบื่องานที่ทำ... หมดไฟจากการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ทำไงดี? โดยสภาวะหมดไฟจากการทำงาน อาจเกิดได้หลากหลายสาเหตุทั้งปริมาณงานที่หนักและมาก ไม่มีที่พึง ไร้ตัวตนในที่ทำงานขาดคนช่วยเหลือในเวลาทำงาน หรือไม่ได้รับรางวัลที่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับการทำงาน ระบบงานหรือเนื้องานขัดต่อคุณค่าที่เราให้ความสำคัญ เช่น เราเป็นมนุษย์รักษ์โลกแต่งานของเราต้องทำลายสิ่งแวดล้อม  รวมถึงภาระส่วนตัว ครอบครัวและปัจจัยอื่น ๆ ที่หมุนรอบตัวจนทำให้เกิดสภาวะหมดไฟ

ซึ่งสภาวะหมดไฟอาจมีได้ตั้งแต่ ตื่นเช้ามาก็เหนื่อย ทุกอย่างดูเป็นงานหนักแม้จะเป็นเรื่องเล็ก หมดแรงในการทำงาน จะพักผ่อนไม่เต็มตื่นเนื่องจากเครียดกังวลกับงาน และไม่สดใสเหมือนแต่ก่อน

ในวันที่เบื่องานที่ทำ... หมดไฟจากการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ทำไงดี?

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

จากเว็บไซด์ BBC ได้ให้ข้อมูลว่าพนักงานที่อยู่ในช่วงวัยเจน ซี (Gen Z) หรือเกิดในช่วงปี 2539 จนถึง 2552 ซึ่งเป็นวัยที่ก้าวเข้ามาสู่ในช่วงของการทำงาน เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยมาอย่างมาด ๆ เต็มไปด้วยไฟและไอเดียอย่างล้นหลาม แต่กลับเป็นเจนที่หมดไฟได้อย่างรวดเร็ว

โดยจากผลสำรวจจากเว็บ Indeed ในปี 2564 เผยให้เห็นว่าคนในช่วงยุคมิลเลนเนียลและGen Z เป็นกลุ่มที่มีความเหนื่อยหน่ายและหมดไฟเร็วกว่ากลุ่มอายุอื่น โดยอยู่ที่ 59% และ 58% เนื่องจากว่าขาดความไม่มั่นคงทางการเงิน การถูกเร่งรีบให้เป็นผู้ใหญ่เร็วขึ้น ผลกระทบจาก Covid-19 ที่ทำให้คนใน Gen Z หมดไฟมากถึง 73% เมื่อเทียบกับทุกกลุ่ม รวมไปถึงการเป็นน้องใหม่ในองค์กรทำให้ไม่สามารถกำหนดขอบเขตในองค์กรและการปฏิเสธงานต่าง ๆ ได้

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนกลุ่มไหนที่หมดไฟ บทความนี้อยากชวนมาคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหาต้นตอของความเบื่อหน่ายไม่อยากทำงานแทนการเปลี่ยนงานใหม่แล้วค้นพบว่าเราย้ายที่ทำงานใหม่เพื่อไปเจอกับปัญหาเก่าๆ ราวกับเป็นเหตุการณ์เดจาวูที่วนลูปซ้ำๆ

ในวันที่เบื่องานที่ทำ... หมดไฟจากการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ทำไงดี?

ก่อนที่จะเริ่มแก้ไขปัญหาเบื่องานอยากแนะนำทักษะการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่เพื่อให้มองหาทางออกได้ดียิ่งขึ้น

  • ทักษะแรก: สังเกตและสงสัย

เริ่มจากสังเกตว่าตอนไหนบ้างที่เราเบื่อ งานอะไรที่เบื่อ หรือช่วงไหนที่เบื่องาน เช่น ช่วงที่บริษัทจัดงาน Event ทำให้ต้องไปออกบูธเจอคนเยอะๆ ซึ่งเราเป็นมนุษย์ Introvert การเจอคนจำนวนมากทำให้เหนื่อยสุดๆ หรือหากเราทำงานเป็นนักเขียน งานแบบไหน หรือสถานการณ์แบบไหนที่เรามักหมดแรง ให้ลองมาสังเกตตัวเองเป็นต้น

  • ทักษะที่สอง: แยกแยะและเชื่อมโยง

ส่วนนี้เราสามารถตั้งข้อสังเกตหรือสมมติฐานจากรายละเอียดเงื่อนไขเล็กๆ น้อยๆ ว่าอะไรเป็นปัจจัยกระตุ้น เช่น ทุกครั้งที่มีโปรเจคใหม่เข้ามาจะรู้สึกว่างานนี้ไม่ใช่สำหรับเราแล้ว ลองสำรวจลงไปลึกอีกนิดหนึ่งอาจจะพบว่าโปรเจคใหม่ที่ทำให้เราเบื่อหน่ายหมดแรงมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกัน เช่นทำให้เรารู้สึกกดดันเนื่องจากต้องทำงานที่ไม่คุ้นเคยและแก้ปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่น

ทั้งสองทักษะที่ว่ามาจะช่วยให้เห็นวงจรที่มาของความเบื่อ ยิ่งมองหารายละเอียดได้ครบถ้วนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เราสามารถจัดการปัญหาได้ตรงจุดเหมือนกับการเกาถูกที่คัน

ในวันที่เบื่องานที่ทำ... หมดไฟจากการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ทำไงดี? พอรู้แล้วว่าส่วนไหนเป็นปัญหาหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เบื่องาน  2 แนวทางที่ทำได้คือ

  • แนวทางแรก: ขจัดสิ่งที่เป็นปัญหาออกไป

เช่น ถ้าเราไม่ชอบงานออกบูธใน Event ที่ต้องเจอคนเยอะๆ ลองเจรจาขออยู่เวรในช่วงเวลาที่มีคนมาชมงานไม่เยอะกับเพื่อนร่วมงานหรือคุยกับหัวหน้างานเพื่อเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบไปทำงานอย่างอื่นชดเชยแทน

  • แนวทางที่สอง: ปรับ ขยับ องศาการมองเรื่องราวหรืองานที่เราไม่ชอบ

เช่น การออกบูธมีประโยชน์อย่างไรกับงานหลักของเราอย่างไร เราอาจจะค้นพบว่าทำให้รู้จักบริษัทใหม่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้ได้เจอลูกค้าที่สนใจสินค้าหรือลูกค้าที่ใช้สินค้าอยู่แล้วซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้เราได้พูดคุยถึงความต้องการที่แท้จริงจากลูกค้าโดยตรง

กรณีที่ค้นพบสิ่งที่ไม่ชอบในงานที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยและต้องเจออยู่เป็นประจำ เช่น เป็นหน้าที่หลักหรือแย่กว่านั้นคือ เป็นเจ้านายเราเองที่ทำให้เราไม่อยากตื่นไปทำงาน หรือมีนายใหม่มาร่วมงานแล้วเคมีไม่เข้ากันจริงๆ ถ้าเป็นแบบนี้ลองปรึกษาหารือกับ HR เพื่อขอย้ายแผนกหรือหน่วยงาน ซึ่งหลายๆ บริษัทมี Internal Job Posting หรือเปิดโอกาสให้พนักงานภายในสมัครในตำแหน่งที่ว่างอยู่ก่อนที่จะพิจารณาคนภายนอก ลองใช้โอกาสนี้ขยับไปทำงานอื่นเพื่อแก้ปัญหาแทนการลาออกจากงาน

ในวันที่เบื่องานที่ทำ... หมดไฟจากการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ทำไงดี? การย้ายแผนกหรือย้ายงานไปตำแหน่งใหม่ในบริษัทเดิมมีข้อดีอยู่หลายอย่าง อย่างน้อยเราไม่ต้องปรับตัวกับวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ย้ายแค่โต๊ะทำงานซึ่งดีกว่าย้ายสถานที่ทำงานที่อาจจะไกลกว่าเดิม เดินทางลำบากขึ้น มีความใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้น

การสมัครงานใหม่ในองค์กรเดิมยังมีข้อดีอีกอย่างคือเราสามารถสืบเสาะข้อมูลเกี่ยวกับงาน เพื่อนร่วมทีม รวมถึงสไตล์ของหัวหน้างานที่เราต้องไปทำงานด้วย ถ้าเราสมัครงานในบริษัทอื่นๆ เราจะหาข้อมูลเหล่านี้ได้ยากกว่า ทำให้มีโอกาสที่เจอเหตุการณ์หนีเสือปะจระเข้ ย้ายจากเจ้านายขาโหดไปเจองานโหดหินเข้า

ครั้งต่อไปก่อนที่จะตัดสินใจลาออกจากงานเพราะความเบื่อให้ลองสำรวจดูสักนิดว่าสาเหตุที่แท้จริงจากการสังเกต แยกแยะ และเชื่อมโยงความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากอะไร เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดดีกว่าย้ายไปที่ทำงานใหม่แล้วเจออะไรแย่ ๆ เหมือนเดิม

ถ้าเป็นแบบนี้สู้อยู่ทำงานที่เก่าน่าจะดีกว่า เหมือนสุภาษิตฝรั่งที่บอกว่า “ดีลกับปีศาจที่รู้จักดีกว่าดีลกับปีศาจที่ไม่รู้จัก” (Better the devil you know than the devil you don't) การรับมือกับปัญหาในบริษัทเดิมย่อมง่ายกว่า เพราะคุ้นเคยลักษณะนิสัยใจคอของคนที่เกี่ยวข้อง รู้จักสภาพแวดล้อมในการทำงานดี ย่อมทำให้เราแก้ปัญหาได้ง่ายกว่าเริ่มเรียนรู้นับหนึ่งในบริษัทใหม่ แต่ถ้าอยู่ไม่ไหวจริงๆ เราก็เริ่มมองหางานใหม่กันค่ะ

ในวันที่เบื่องานที่ทำ... หมดไฟจากการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ทำไงดี? ตอนหน้าสำหรับคนที่อยู่ไม่ไหวขอไปก่อนนะ ได้งานใหม่จ้าแล้วแถมยังได้พร้อมๆ กันหลายงานอีกด้วย เรียกว่าดวงคนจะได้งานก็มีมาให้เลือกพร้อมกัน เล่นเอาตัดสินใจไม่ถูกรักพี่เสียดายน้องแบบนี้ต้องมีเครื่องมือช่วยตัดสินใจแล้ว แล้วรออ่านวันจันทร์หน้านะคะ

เพชร ทิพย์สุวรรณ

อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ

ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant

related