ไม่มีใครอยากโดนตำหนิและดูแย่ในสายตาเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน ทำให้โลกของการทำงานการกล้ายอมรับความผิดพลาดจึงเป็นเรื่องยาก ทั้งๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้และเป็นก้าวแรกของความสำเร็จ
ขึ้นชื่อว่า “ความล้มเหลว” เชื่อว่าไม่มีใครอยากพบเจอ แม้ว่าทอมัส แอลวา เอดิสันจะเคยประสบความล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วนกับการคิดหากว่าค้นหาวัสดุมาประดิษฐ์เป็นไส้หลอดไฟ และจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ใหม่ออกมาขายกลายเป็นนักธุรกิจ และไอดอลของวงการสิ่งประดิษฐ์ในยุคสมัยหนึ่ง แต่นั่นไม่ใช่นิยามของความล้มเหลวที่ถูกยกย่องเชิดชูในการทำงานขององค์กรธุรกิจ
ในชีวิตจริงทุกคนเคยทำผิดพลาดแต่ในโลกของการทำงานความผิดพลาดคือสิ่งต้องห้าม ผู้ที่ล้มเหลวมักไม่ได้รับการยอมรับ เว้นเสียว่าคุณจะล้มเหลวจนประสบความสำเร็จขึ้นมาได้อย่างทอมัส แอลวา เอดิสันหรือสตีฟ จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Apple Inc. ในตำนาน ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงทุกความผิดพลาดล้วนมีค่าให้เราจดจำเป็นบทเรียน
ในเมื่อทุกคนเคยทำผิดพลาดล้มเหลวแต่ทำไมเรากลับทำให้เรื่องเหล่านี้เป็นยาขมหรือเรื่องต้องห้ามในที่ทำงาน?
การซุกซ่อนความผิดพลาด ล้มเหลวไว้มีราคาที่ต้องจ่าย การผลิตที่ผิดพลาดทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้สินค้า ผลการวิจัยที่ล้มเหลวหากยังดำเนินการต่อไปทำให้ศูนย์เสียเวลาและทรัพยากร จะดีกว่าหรือไม่ถ้าเราปรับ Mindset กรอบความคิดให้ความล้มเหลวในการทำงานเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ
RAY DALIO ผู้ก่อนตั้งบริษัท Bridgewater Association ซึ่งเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์อันดับต้นๆ ของโลกที่เริ่มต้นธุรกิจจากอพาร์ตเมนต์สองห้องนอนตอนอายุ 20 กว่า ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 1,500 คนและทำผลตอบแทนสูงอย่างต่อเนื่องจนเจ้าตัวเคยได้อยู่ในรายชื่อ 100 อันดับแรกของผู้ทรงอิทธิพลของนิตยสาร Time เมื่อหลายปีก่อนและยังป็นเจ้าของหนังสือชื่อดังอย่าง Principles ที่เล่าถึงหลักการทำงานและการใช้ชีวิตที่ช่วยให้ตัวเองประสบความสำเร็จ เคยบอกไว้ว่าเราถูกสอนให้หาคำตอบที่ถูกต้องแทนที่จะเรียนรู้จากความล้มเหลวเพื่อเป็นเส้นทางไปสู่การคิดเชิงนวัตกรรมและการคิดด้วยตัวเอง โดยตัวเขาเองได้เรียนรู้ตั้งแต่ยังเด็กว่าทุกคนทำผิดพลาดและมีจุดอ่อน สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่แสดงความแตกต่างของผู้คนคือ “วิธีที่พวกเขาจัดการกับความล้มเหลวเหล่านั้น”
ไม่มีใครอยากโดนตำหนิและดูแย่ในสายตาเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน ทำให้โลกของการทำงานการกล้ายอมรับความผิดพลาดจึงเป็นเรื่องยาก ทั้งๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้และเป็นก้าวแรกของความสำเร็จ การส่งเสริมบรรยากาศและวัฒนธรรมการทำงาน ให้ทีมงานกล้าบอกความผิดพลาดของตัวเองให้เพื่อนร่วมทีมได้เรียนรู้จากความล้มเหลวของตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ
หวังว่า 5 วัฒนธรรมการทำงานที่ว่ามาจะช่วยให้บรรยากาศในการทำงานรู้สึกผ่อนคลาย สบายๆ กับความผิดพลาด ล้มเหลวของตัวเองและทีมงาน เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันนะคะ
เพชร ทิพย์สุวรรณ
อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ
ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม