svasdssvasds

6 เหตุผลทำให้คน Burnout และวิธีรับมือ การเปลี่ยน Mindset ช่วยได้

6 เหตุผลทำให้คน Burnout และวิธีรับมือ การเปลี่ยน Mindset ช่วยได้

Burnout กลายเป็นปรากฎการณ์ปกติของคนทำงานในปัจจุบันที่พบได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ผ่านช่วงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา การเปลี่ยน Mindset หรือปรับกรอบความคิดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองสามารถทำให้สถานการณ์ Burnout ดีขึ้นได้

ความกดดันมีส่วนสำคัญทำให้คนทำงานตกอยู่ในสภาวะ Burnout

ในปี 2019 องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุให้ภาวะ Burnout เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ซึ่งถูกกำหนดใน 3 ลักษณะคือ

  • รู้สึกเหนื่อยล้าและพลังในการทำงานลดลง
  • มองเห็นคุณค่าในงานลดลง
  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 

Burnout กลายเป็นปรากฎการณ์ปกติของคนทำงานในปัจจุบันที่พบได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ผ่านช่วงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา แม้ว่าหลายองค์กรยังมีนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือเลือกมาทำงานที่ออฟฟิศหรือนอกออฟฟิศก็ได้ (Hybrid Working) รวมถึง Flexi Hour ยืดหยุ่นกับตารางเข้างาน แต่ความกดดันจากงานและการแข่งขันในโลกยุคหลังโควิดนั้นไม่ได้ลดเลย นับวันมีจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น 

แน่นอนว่าความกดดันที่ว่ามามีส่วนสำคัญทำให้คนทำงานตกอยู่ในสภาวะ Burnout อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

เว็บไซต์ BBC Future กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้คน Burnout 5 อันดับแรกว่าเกิดจาก

  1. Workload หรืองานที่เยอะเกินไป
  2. ไม่มีอิสระในการทำงาน
  3. ได้รับผลตอบแทนที่ไม่เพียงพอหรือไม่ยุติธรรม
  4. ได้รับความไม่ยุติธรรม
  5. งานไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราให้คุณค่า
  6. ความรู้สึกโดดเดี่ยวจากกลุ่มเพื่อนร่วมงาน

แม้ว่า 6 สาเหตุหลักจะเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน แต่ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุจากตัวเองด้วยเช่นกัน เช่น นิสัยการทำงานที่รักความสมบูรณ์แบบ การไม่กระจายมอบหมายงาน การไม่กล้าปฎิเสธภาระงานที่ไม่ใช่หน้าที่หลัก รวมถึงการประเมินความกำลังและความสามารถของตัวเอง  สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ตกอยู่ในสภาวะ Burnout ที่หนักหน่วงและรุนแรงยิ่งขึ้น 

5 แนวทางปรับเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อให้สถานการณ์ Burnout ดีขึ้น

การเปลี่ยน Mindset หรือปรับกรอบความคิดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองสามารถทำให้สถานการณ์ Burnout ดีขึ้นได้ เช้าวันจันทร์นี้อยากชวนทุกคนมาปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อให้สถานการณ์ Burnout ที่หลายคนเผชิญอยู่นั้นดีขึ้น

  1. ความสมบูรณ์แบบไม่มีอยู่จริง คิดเสมอว่างานทุกงานมีจุดให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้นในครั้งต่อๆ ไป ทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราพอจะทำได้ในระยะเวลาและศักยภาพที่มี อย่าฝืนทำงานจนเกินกำลังเพราะนั่นจะทำให้เราตกอยู่ในสภาวะ Burnout ประสิทธิภาพการทำงานลดลง งานมีโอกาสผิดพลาดมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า
  2. ลดความคาดหวัง บางครั้งการตั้งใจทำงานมากๆ เราก็อยากได้ความสำเร็จ อยากได้ผลลัพธ์ที่ดี หรือแม้กระทั่งคำชมเล็กๆ น้อยๆ จากเจ้านาย หากสิ่งที่เราปรารถนาเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ เราจำเป็นต้องเผื่อใจไว้หากไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่หวัง 
  3. ลดความทุ่มเทในงานบางอย่างลง สาเหตุหลักของการ Burnout คือการทำงานหนักเกินไป ดังนั้นเราจำเป็นต้องเลือกว่างานไหนสำคัญ งานไหนสอดคล้องกับ Value หรือสิ่งที่เราให้คุณค่า งานไหนตอบโจทย์เรื่องความคุ้มค่ากับผลลัพธ์ เราทุ่มเทให้งานเหล่านั้น ส่วนงานอื่นๆ ถ้ามอบหมายให้คนอื่นทำได้ ลองฝึกมอบหมายงานให้คนอื่นช่วยทำ 

   4. ประเมินกำลังความสามารถตัวเอง หลายครั้งที่งานท่วมหัวเอาตัวไม่รอดมีสาเหตุจากการไม่ประเมินตัวเองว่างานไหนเป็นงานที่เราถนัด ทำได้ดี ใช้เวลาน้อย และไม่ได้เผื่อเหลือเผื่อขาดสำหรับการเจออุปสรรคและปัญหาที่ไม่คาดคิด จึงตกปากรับงาน หรือในบางกรณีก็คิดแล้วว่าทำไม่ไหวแต่ไม่เอ่ยปากขอทรัพยากรทั้งเวลาและคนช่วยงานเพิ่ม สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดอาการ Burnout ทั้งหนักและเร็วยิ่งขึ้น เพราะรู้แก่ใจดีว่าทำไม่ไหวแน่แต่ก็ตกปากรับงานมาทำ ยิ่งทำให้เกิดความเครียดและความกดดันในการทำงานมากยิ่งขึ้น 

   5. การปฎิเสธและการขอความช่วยเหลือไม่ใช่เรื่องเสียหาย หลายคนมีความกลัวไม่กล้าปฎิเสธงานหรือขอความช่วยเหลือเพราะเกรงว่าจะดูไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ ทำงานไม่ได้ตามที่เจ้านายคาดหวัง ซึ่งนั่นอาจจะจริงเพียงบางส่วน ส่วนที่ไม่จริงคือ ถ้ารับปากไปแล้วทำไม่ได้หรือรู้ทั้งรู้ว่าทำไม่ไหวแต่ไม่ขอความช่วยเหลือจะยิ่งทำให้เสียเครดิตและความน่าเชื่อถือแถมยังส่งผลกระทบต่อคนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ใครที่ตกอยู่ในสภาพนี้ของให้ชั่งน้ำหนักดูให้ดีว่าจะยอม Burnout และเสียเครดิตหรือจะยอมรับความจริงซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องที่แย่นักหากเรารู้วิธีปฎิเสธหรือขอความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

หวังว่า 5 แนวทางปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่ว่ามาหวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับทุกคนในเช้าวันจันทร์นี้นะคะ

เพชร ทิพย์สุวรรณ

อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ 

ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

related