svasdssvasds

ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก'

ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก'

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

จากกรณีที่ น้องอุ้ม ด.ญ. ฐิติกา ทวียศ เด็กไทยวัย 4 ขวบ ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ ‘สถาบันอัจฉริยะแห่งสหราชอาณาจักร หรือที่เรียกว่า เมนซ่า (MENSA)’ หลังน้องอุ้มมีผลการทดสอบด้วยข้อสอบระดับสากลเวนชเลอร์ หรือในชื่อเต็มว่า Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence (เวนชเลอร์ พรีสคูล แอนด์ ไพรมารี่ สเกล ออฟ อินเทลลิเจนซ์) ซึ่งผลคะแนนระบุว่า น้องอุ้มมีไอคิวถึง 135 โดยไอสไตน์-บุคคลอัจฉริยะโลกมีไอคิวระดับ 150 ถึง 160 ขณะที่คนทั่วไปมีระดับไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 90 ถึง 110 เท่านั้น ทำให้น้องอุ้มกลายเป็นบุคคลอัจฉริยะ/ประชากรหัวกะทิ ที่พบได้เพียง 1% ของประชากรโลกเท่านั้นที่มีไอคิวในระดับสูงขนาดนี้

[caption id="attachment_262210" align="aligncenter" width="789"] ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก' ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/little.fighter.aumboon/[/caption]

[caption id="attachment_262211" align="aligncenter" width="787"] ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก' ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155848914092098&set=a.106068677097.97211.506012097&type=3[/caption]

สิ่งที่น่าสนใจ นอกจากไอคิวของน้องอุ้มแล้ว สถาบันอัจฉริยะแห่งสหราชอาณาจักร หรือที่เรียกว่า เมนซ่า ก็น่าสนใจเช่นกันว่า โลกของเรามีสถาบันเช่นนี้อยู่ด้วยหรือ? จะเหมือนกับสถาบันรบมพลคนมิวแตนท์ของมนุษย์กลายพันธุ์ Xavier's School for Gifted Youngsters ในภาพยนตร์เรื่อง ดิ เอ็กซ์เม็น หรือไม่?

สถาบันอัจฉริยะแห่งสหราชอาณาจักร หรือ เมนซ่า (MENSA) เป็นสถาบันที่รวมพลคนอัจฉริยะที่มีไอคิวสูง ซึ่งสมาชิกของสถาบันเมนซ่าต้องผ่านการทดสอบความอัจฉริยะจากแบบทดสอบมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลแบบที่น้องอุ้มทดสอบมาแล้วคือ ข้อสอบเวนชเลอร์

[caption id="attachment_262212" align="aligncenter" width="784"] ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก' ขอบคุณภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Mensa_International[/caption]

สถาบันเมนซ่าเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 1 แสนคนจากมากกว่า 100 ประเทศ เหล่าบรรดาคนอัจฉริยะมีอายุตั้งแต่ 2 ขวบไปจนถึง 102 ปี

ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก'

เมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกเมนซ่าแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง? สมาชิกแห่งสถาบันเมนซ่าอันทรงเกียรตินี้ จะเข้าร่วมการประชุมหรือกิจกรรมที่มีขึ้นทุกปี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอผลงาน ส่งรายงานจากความสนใจในเรื่องต่างๆจากประเทศของตน ซึ่งจัดการประชุมในหลากหลายสถานที่ทั่วโลก วัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของกิจกรรมคือ ส่งเสริมและพัฒนาความเป็นอัจฉริยะให้กับผู้คนทั่วโลก ซึ่งสิ่งที่จะดึงดูดใจชาวโลกและส่งต่อการพัฒนาความเป็นอัจฉริยะได้ดีที่สุดคือ ‘เกม’

ในการประชุมรวมพลคนอัจฉริยะทุกๆปีนั้น บรรดาบุคคลอัจฉริยะจึงต้องค้นหาเกมที่ดีที่สุด และต้องเป็นเกมที่ใช้ความคิด สามารถเล่นได้ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อุปกรณ์เล่นเกมมีความสวยงาม มีวิธีเล่นที่ชัดเจน และดึงดูดให้เล่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ คณะกรรมการจะนำมาประมวลผลว่า เป็นเกมที่มีคุณค่าที่เกิดขึ้นจากการเล่น หรือไม่?

ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก'

สำหรับเกมที่ได้รับคะแนนสูงสุด 5 อันดับแรกจะได้รับการคัดเลือกเป็น Mensa Select (เมนซ่า ซีเล็ค) ประจำปี และจะมีตราเมนซ่าซีเล็คประทับลงบนผลิตภัณฑ์ของเล่นนั้น ซึ่งเกมที่เราๆเคยเล่นกันมาตั้งแต่เด็กๆ เราอาจจะไม่รู้ก็ได้ว่าเป็นเมนซ่าซีเล็ค ของเล่นที่เหล่าบรรดาคนอัจฉริยะทดสอบมาแล้วว่าเป็นเกมที่น่าเล่นและสมควรเล่นเพื่อพัฒนาความเป็นอัจฉริยะให้กับตนเอง ตัวอย่างเช่น... การ์ดเกม Magic the Gathering ที่เป็นเมนซ่าซีเล็คเมื่อปี 1994 เกม Blokus เป็นเมนซ่าซีเล็คเมื่อปี 2003 และเกม Tetris Link เป็นเมนซ่าซีเล็คเมื่อปี 2012

ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก'

 

สำหรับเกมเมนซ่าซีเล็คของปี 2018 ที่ผ่านการคัดเลือกและทดลองเล่นจากเหล่าบรรดาคนอัจฉริยะจากการประชุมครั้งล่าสุดประจำปีนี้คือ เกม 5 ชนิดนี้

ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก'

1.เกม Azul ของบริษัท Plan B Games

2.เกม Constellations: The Game of Stargazing and the Night Sky ของบริษัท Xtronaut Enterprises

3.เกม Ex Libris ของบริษัท Renegade Game Studio

4.เกม Photosynthesis ของบริษัท Blue Orange Games

5.เกม Raiders of the North Sea ของบริษัท Renegade Game Studio

ทำความรู้จัก 'สถาบันรวมพลคนอัจฉริยะของโลก'

ขอบคุณภาพปกจาก... www.schoolforthegifted.com

 

 

related