svasdssvasds

"อันตรายในความงาม" ที่ซ่อนในความมืด เหตุผลของการ "เที่ยวถ้ำ" ที่คนไทยยังไม่ตระหนัก!!

"อันตรายในความงาม" ที่ซ่อนในความมืด เหตุผลของการ "เที่ยวถ้ำ" ที่คนไทยยังไม่ตระหนัก!!

ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์เชื่อ ทีมบอลหมูป่าฯ ยังปลอดภัย จากเศษกระดาษลายชื่อที่ส่งลอยน้ำมาปากถ้ำ ชี้พฤติกรรมคนไทยเที่ยวถ้ำ แต่ไม่นิยมสังเกตสิ่งรอบตัว ระบุ ถ้ำเขาหลวง มีหลายรายที่หลงช่วยออกมาได้ และหลงหายสาบสูญไม่น้อย

นายอนุกูล สอนเอก นักภูมิศาสตร์ที่เคยสำรวจถ้ำดังๆ ให้สัมภาษณ์สปริงนิวส์ ออนไลน์ว่า ตนประสานงานและให้ข้อมูลกับทีมบัญชาการช่วยเหลือกลุ่มเด็กและโค้ชที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง จ.เชียงราย คาดว่ากลุ่มดังกล่าวน่าจะติดอยู่ไม่ลึกจากปากถ้ำเกินไป เนื่องจากทราบว่ามีกระดาษเขียนชื่อทั้ง 13 คนลอยออกมาให้ทีมช่วยเหลือได้รับรู้ ตนเคยสำรวจถ้ำหลวงดังกล่าว คิดว่าเด็กๆ ยังปลอดภัยอยู่ แม้ว่าจะติดอยู่จุดที่เป็นช่องแคบ แต่เนื่องจากน้ำที่ท่วมนั้น เป็นน้ำที่ซึมลงจากภูเขา จะท่วมจากข้างในออกมาข้างนอก หากเป็นช่วงหน้าฝนยิ่งต้องระวังน้ำท่วม ซึ่งถ้ำหลวงระดับน้ำขึ้นลงเร็ว ยิ่งมีลำห้วยยิ่งอันตราย

นายอนุกูล แนะนำสำรวจนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวตามถ้ำ หรือมือใหม่ที่หัดสำรวจถ้ำว่า มีกฎหรือข้อควรปฏิบัติในการสำรวจถ้ำ การเดินเข้าถ้ำ ต้องแจ้งกับคนที่มั่นใจซึ่งอยู่ภายนอก หรือเจ้าหน้าที่ว่า จะเข้าไปในถึงภายในจุดไหนของถ้ำ ใช้ระยะเวลาเดินทางเท่าไร จะกลับออกมาในเวลาไหน เพราะหากหลงอยู่ภายในถ้ำ หรือไม่สามารถออกมาได้ตามกำหนด จะสามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที หรือหากมีผู้นำทาง มัคคุเทศก์ที่ชำนาญเส้นทาง จะมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

"ทั้งนี้ ถ้ำหลวงเมื่อปีที่แล้ว ก็มีรายงานว่าชาวต่างชาติจอดรถจักรยานทิ้งไว้ เพราะหลงอยู่ในถ้ำหลวงเช่นกัน ออกติดตามหลายวัน ที่นี่มีหลายกรณีที่หลงอยู่ภายใน มีทั้งช่วยเหลือออกมาได้และทราบว่าสูญหายอยู่ภายใน อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการเที่ยวของคนไทยไม่นิยมสังเกตสิ่งรอบตัว ไม่ชอบระบบสื่อสารกับธรรมชาติ นิยมแต่เฮฮา เอาสนุก หากสามารถเข้าใจสิ่งบอกเหตุบางอย่าง เช่น สังเกตตามพื้น ผนังถ้ำหรือด้านเพดานด้านบนว่า มีร่องรอยโคลน เศษใบไม้ กิ่งไหม้แห้งที่ลอยมากับน้ำติดอยู่หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเป็นพื้นที่ถูกน้ำท่วมถึง เมื่อไปในพื้นที่เสี่ยงพอจะป้องกันอันตรายได้ " นายอนุกูลกล่าว

นักภูมิศาสตร์รายนี้ บอกด้วยว่า จากข้อมูลสถิติเกี่ยวกับถ้ำธรรมชาติในเมืองไทย ทั้งถ้ำเล็ก ถ้ำใหญ่หรือเพิงผา มีประมาณ 20,000 แห่ง แต่ที่เปิดใช้หรือให้บริการ สำรวจไว้มีราว 3,000 แห่ง ที่สำรวจและจัดทำเป็นแผนที่มีเพียง 500 กว่าแห่งเท่านั้น

"อันตรายในความงาม" ที่ซ่อนในความมืด เหตุผลของการ "เที่ยวถ้ำ" ที่คนไทยยังไม่ตระหนัก!!

"อันตรายในความงาม" ที่ซ่อนในความมืด เหตุผลของการ "เที่ยวถ้ำ" ที่คนไทยยังไม่ตระหนัก!!

สำหรับ การท่องเที่ยวถ้ำ มีข้อแนะนำของกรมอุทยานฯ ระบุอันตรายที่อาจเผชิญไว้ว่า

1.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ จะมีผลต่อระบบการหายใจและแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือกกับออกซิเจน จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง

2.อุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่าปกติ เพราะน้ำในถ้ำมีความเย็นมากกว่าน้ำภายนอก ส่งผลให้เกิดภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำเกินไป มีอาการตัวสั่น กล้ามเนื้อทำงานไม่สะดวก

3.น้ำท่วมอย่างฉับพลัน บางถ้ำที่มีพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมาก มีลำธารไหลลอด มักพบปัญหาน้ำท่วมถ้ำในฤดูฝน นักท่องเที่ยวควรเลี่ยงช่วงหน้าฝนที่จะเกิดอันตรายจากน้ำป่าและน้ำท่วมถ้ำ

4.หลงทางภายในถ้ำ การสำรวจถ้ำมีความยากและซับซ้อน โอกาสมีกองหินถล่ม และพลัดหลงได้ง่าย

5.อุปกรณ์มีปัญหา ชำรุด ไม่เพียงพอ แม้เตรียมอุปกรณ์ไปพร้อม ก็ต้องระวังเรื่องกำหนดเวลาที่จะอยู่ในถ้ำด้วย

6.อันตรายจากอุบัติเหตุ เช่น พลัดตกจากที่สูง หินร่วงลงมาจากเพดานถ้ำ หรือหินถล่ม ต้องเพิ่มความระวังเต็มที่

 

"อันตรายในความงาม" ที่ซ่อนในความมืด เหตุผลของการ "เที่ยวถ้ำ" ที่คนไทยยังไม่ตระหนัก!!

"อันตรายในความงาม" ที่ซ่อนในความมืด เหตุผลของการ "เที่ยวถ้ำ" ที่คนไทยยังไม่ตระหนัก!!

"อันตรายในความงาม" ที่ซ่อนในความมืด เหตุผลของการ "เที่ยวถ้ำ" ที่คนไทยยังไม่ตระหนัก!!

ข้อควรปฏิบัติในการสำรวจถ้ำ

การสำรวจถ้ำทุกครั้งของนักสำรวจถ้ำทั่วทุกมุมโลกจะยึดถือในกฏเกณฑ์การสำรวจเดียวกันเพื่อป้องกันอันตรายจากการท่องเที่ยวหรือการสำรวจถ้ำไม่ว่า จะเป็นนักสำรวจถ้ำมืออาชีพ มือสมัครเล่น หรือ นักท่องเที่ยว

การเที่ยวถ้ำ โดยเฉพาะถ้ำที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอและเป็นถ้ำที่ลึกและวกวน จำเป็นต้องมีมัคคุเทศก์นำทางเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ในประเทศไทยจะพบถ้ำเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ถ้ำหินปูนและ ถ้ำโพรงหินชายฝั่ง ส่วนอีก 2 ประเภทที่ไม่พบในประเทศไทย คือ ถ้ำน้ำแข็งและถ้ำลาวา

 

related