svasdssvasds

มหึมางานสร้าง! “ไอคอนสยาม” ฝีมือปั้น “ชฎาทิพ จูตระกูล”

มหึมางานสร้าง! “ไอคอนสยาม” ฝีมือปั้น “ชฎาทิพ จูตระกูล”

เปิดเป็นทางการ 10 พฤศจิกายน ในวันที่ 9 พ.ย. เป็นรอบเซเลบ คนดังบินมาจากต่างประเทศและไฮโซไทยเข้าร่วม พร้อมกับสื่อมวลชนแล้ว สำหรับไอคอนสยาม โครงการยักษ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ลงทุนสูงถึง 54,000 ล้านบาท บนเนื้อที่ 55 ไร่ฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ช่วงนี้ หลายคนอาจได้ยินชื่อ ไอคอนสยาม กันอย่างคุ้นหู ทราบกันก็แต่เพียงว่าเป็นอาคารขนาดมหึมา ที่บรรจุไว้ด้วยสารพัดสรรพสิ่ง ทั้งอภิมหาศูนย์การค้า และคอนโดมีเนียมที่อยู่อาศัยริมน้ำวิวสวย แต่เบื้องหลังของการก่อสร้างสถาปัตยกรรมอลังการแห่งนี้มันมีที่มา

[caption id="attachment_380391" align="aligncenter" width="1089"] มหึมางานสร้าง! “ไอคอนสยาม” ฝีมือปั้น “ชฎาทิพ จูตระกูล” คุณชฎาทิพ จูตระกูล (ภาพจากเพจ Siam Discovery)[/caption]

 

คุณ ชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้นำทัพโครงการยักษ์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ไอคอนสยาม ซึ่งเปิดตัวให้เห็นครั้งนี้เป็นพื้นที่ที่อยู่ภายในอาคารขนาดกว่า 75,000 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยอาณาจักรศูนย์การค้า 2 ตึก บวกกับคอนโดมิเนียมเสียดฟ้าอีก 2 อาคาร โดยคุณ ชฎาทิพ ย้ำว่า นี่เป็นสิ่งที่เราทำมากกว่าการสร้างศูนย์การค้า ซึ่งจะไม่ทำเหมือนที่ผ่านมา ไม่เช่นนั้น เปิดเข้าไปในศูนย์ฯจะมีร้านค้าซ้ำๆ มากมายที่ทุกศูนย์การค้าที่มีเหมือนกันหมด แนวคิดในการพยายามทำสิ่งที่แปลกแตกต่างจากการเดินเข้าศูนย์การค้าในภาพคุ้นชินที่ผ่านมาของคนเมืองอย่างเราจะต้องเปลี่ยนไป คุณ ชฎาทิพ ขยายความส่วนนี้ไว้ว่า ได้พยายามผลักดันให้แต่ละร้านค้าที่มาอยู่ในนี้ มีเรื่องราว มีสตอรี่เป็นของตัวเอง เพื่อที่เราจะได้นำเรื่องราวเหล่านั้นมาร้อยเรียงต่อเป็นการเล่าเรื่องภายในศูนย์การค้าไปกลายๆ

มหึมางานสร้าง! “ไอคอนสยาม” ฝีมือปั้น “ชฎาทิพ จูตระกูล”

คุณแป๋ม ชฎาทิพ ขยายภาพต่อว่า  pain point ของไอคอนสยามคือ การเดินทาง ที่ให้คุณค่าของแม่น้ำใน 3 เรื่อง นั่นคือ การใช้สัญจรไปมา ทำให้เกิดเศรษฐกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา และนำมาซึ่งการเกิดการพัฒนาชุมชนโดยรอบ โดยมีไอคอนสยาม เป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายที่เข้ามาจุดประกายขับเคลื่อนสังคมครั้งนี้

มหึมางานสร้าง! “ไอคอนสยาม” ฝีมือปั้น “ชฎาทิพ จูตระกูล”

ผสานกับอาศัยวิถีทางการตลาดยุคใหม่ ด้วยการใช้ emotional engagement มาสร้างให้เกิดความทับใจ สร้างเสริมหลายมิติจากสังคม มาใส่ให้เกิดคุณค่าจิตวิญญาณ เพื่อให้เกิด story telling เป็นของตัวเอง และตัวนี้จะช่วยทำให้คนรู้จักดียิ่งขึ้น

ฟังคร่าวๆก็พอให้ทราบได้ว่า แนวคิดในการสร้างสถานที่แห่งนี้ ไม่เพียงแค่สร้างให้เป็นศูนย์การค้าแห่งใหม่อย่างที่เคยๆทำกันมา แต่มีเรื่องราวการคิด การสร้างสรรค์ที่ผู้เป็นเจ้าของพยายามทำให้เกิดขึ้นจริง เพื่อหลีกหนีสิ่งเดิมๆ ภาพจำเดิมๆเกี่ยวกับคำว่าศูนย์การค้า การครีเอท จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ใครจะคิดว่าวันนี้ สร้างศูนย์การค้าไม่ใช่แค่การสร้างอาคารให้คนเข้ามาเช่าพื้นที่ขายของ แต่กลับต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ใส่ผสมลงไป

มหึมางานสร้าง! “ไอคอนสยาม” ฝีมือปั้น “ชฎาทิพ จูตระกูล”

สำหรับ สยามพิวรรธน์ นั้น ก่อตั้งครั้งแรกในชื่อ บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2502 เพื่อบริหารและพัฒนาที่ดินจำนวน 50 ไร่ บริเวณถนนพระรามที่ 1 เพื่อก่อสร้างโรงแรมห้าดาวระดับนานาชาติแห่งแรกของไทย คือ โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลโดยมีพลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ เป็นผู้ก่อตั้ง โดยเริ่มแรกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมองเห็นถึงประโยชน์ทางการท่องเที่ยวจากการเข้ามาสร้างโรงแรมของกลุ่มทุนต่างชาติ จึงอนุมัติเงินทุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมถึงทุนจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในประเทศ เพื่อลงทุนในบริษัทดังกล่าว ต่อมา ชฎาทิพ จูตระกูล บุตรสาวของพลเอกเฉลิมชัย ได้รับช่วงต่อจากบิดาในการบริหารบริษัท

เมื่อโรงแรมดังกล่าวดำเนินการมาครบ 30 ปี บริษัทได้มีแนวคิดที่จะสร้างศูนย์การค้าใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้ยุติการดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นจึงดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด" ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 โดยพื้นที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าสยามพารากอนนั่นเอง

 

related