svasdssvasds

"นิยม" อัด รัฐเยียวยาล่าช้า เกษตรกรร้องรัฐไม่ให้ความสำคัญ เหมือนมองเป็นพลเมืองชั้น 2

"นิยม" อัด รัฐเยียวยาล่าช้า เกษตรกรร้องรัฐไม่ให้ความสำคัญ เหมือนมองเป็นพลเมืองชั้น 2

นิยม ส.ส.พรรคเพื่อไทย เผย การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาลช้ามาก ต่างจากการช่วยเหลือภาคเอกชนที่รัฐบาลทำการอย่างรวดเร็ว ชี้ให้เห็นว่ารัฐมองเกษตรกรเป็นพลเมืองชั้น 2

นายนิยม ช่างพินิจ ส.ส.พิษณุโลก พรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงการมาตรการจ่ายเงินเยียวยาภาคเกษตรของรัฐบาล ว่า เชื่อว่าการบริหารจัดการเกี่ยวกับการเยียวยาภาคเกษตรจะไม่มีประสิทธิภาพและล่าช้า ดูเหมือนไม่มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือภาคเกษตรอย่างจริงจัง ให้ความช่วยเหลือแบบขอไปที ไม่กระตือรือร้นและตั้งใจช่วยอย่างเต็มที่

\"นิยม\" อัด รัฐเยียวยาล่าช้า เกษตรกรร้องรัฐไม่ให้ความสำคัญ เหมือนมองเป็นพลเมืองชั้น 2

หน่วยงานรัฐมีฐานข้อมูลของเกษตรกรอยู่แล้ว มีการขึ้นทะเยียวยาเกษตรมาหลายรอบ ดังนั้นรัฐบาลทราบอยู่แล้วว่าใครทำอะไร ทุกสาขาอาชีพรัฐมีหมด แต่กลับตั้งเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือมากมาย ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม ในพื้นที่ทำการเกษตร รัฐบาลมีมาตรการจ่ายชดเชยให้กับเกษตรกรใช้เวลานานกว่า 6 เดือน ดำเนินการล่าช้าจนเกษตรกรต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน ด้วยการไปกู้หนี้เพื่อมาทำการเกษตรดีกว่านั่งรอเงินจากรัฐบาลที่ไม่รู้ว่าจะได้เมื่อไหร่

นายนิยม กล่าวด้วยว่า การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาลช้ามาก ต่างจากการช่วยเหลือภาคเอกชนที่รัฐบาลทำการอย่างรวดเร็ว มีการกู้เงินเพื่อมาเยียวยาภาคเอกชนขนาดใหญ่ แต่กับเกษตรกร มีเงื่อนไขมากมายหากไม่ทำก็ไม่มีสิทธิรับเงินเยียวยา ชี้ให้เห็นว่ารัฐมองเกษตรกรเป็นพลเมืองชั้น 2 ของประเทศ

มาตรการการเยียวยาภาคเกษตรของรัฐ เป็นมาตรการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด ครอบครัวล่ะ 15,000 บาท แบ่งจ่าย 3 เดือนเดือนล่ะ 5,000 บาท สุดท้ายจะเป็นเบี้ยหัวแตกเพราะการเยียวยาเช่นนี้เกษตรกรไม่สามารถที่จะต่อยอดได้ รัฐควรให้เป็นเงินก้อนและดูความจำเป็นในการใช้เงินของเกษตรกร นอกจากนี้รัฐต้องไม่มั่วข้อมูลกับการเยียวยาประชาชน" นายนิยมกล่าว

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

อ่านข่าวแนะนำ >>> Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

อ่านข่าวแนะนำ >>> How To ดูแล สุขภาพจิต เด็กและเยาวชน ระหว่างโรคระบาด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/635009

อ่านข่าวแนะนำ >>> How to ทำงานจากบ้าน พร้อมเลี้ยงลูกไปด้วย แบบไม่เสียสติ

https://www.springnews.co.th/alive/edutainment-alive/636779

related