svasdssvasds

วันออกพรรษา 2563 ตรงกับวันที่ 2 ต.ค. กิจกรรม คำปวารณาออกพรรษา ฯลฯ

วันออกพรรษา 2563 ตรงกับวันที่ 2 ต.ค. กิจกรรม คำปวารณาออกพรรษา ฯลฯ

วันออกพรรษา 2563 ปีนี้ตรงกับวันที่ 2 ต.ค. ที่เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 สิ้นสุดระยะเวลาการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์รวม 3 เดือน ซึ่งกิจกรรมในวันออกพรรษานี้แบ่งออกเป็นฝั่งภิกษุสงฆ์และฆราวาส

ประวัติ วันออกพรรษา 2563

ในพุทธประวัติเล่าไว้ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทวดาชั้นดาวดึงส์ ผู้เคยมาเกิดเป็นพรนางสิริมหามายา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ถึงเมืองสังกัสสะ ชาวบ้านต่างพากันร่วมใจเดินทางไปรับเสด็จพระพุทธเจ้า เป็นที่มาของการตักบาตรเทโวโรหณะ และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทเรียกว่า “ไตรโลกวิวรณปาฏิหารย์”

วันออกพรรษา 2563 ตรงกับวันที่ 2 ต.ค. กิจกรรม คำปวารณาออกพรรษา ฯลฯ

ความสำคัญวันออกพรรษา

เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น พุทธศาสนิกชนจึงได้เตรียมอาหารเพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์ หลังวันอกภรรษา 1 วัน ในวันแรม 1ค่ำ เดือน 11 และพระภิกษุสงฆ์จัดพิธีกรรม “มหาปวารณา” ให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้เพราะเห็นข้อบกพร่องระหว่างการจำพรรษาอยู่ด้วยกัน เพื่อที่จะได้ระมัดระวังให้อยู่ในกรอบองพระวินัย

คำปวารณาออกพรรษา

.....สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ

.....ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ

.....ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ

แปล "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ หากท่านทั้งหลายได้เห็นได้ยิน หรือสงสัย ว่า...กระผมได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี"

กิจกรรม วันออกพรรษา 2563

แต่ละภูมิภาคนั้นจะปฏิบัติไม่เหมือนกัน แต่จะเริ่มต้นด้วยการตักบาตรเทโวโรหณะ ซึ่งอาหารที่นิยมใช้จะมี ข้าวต้มมัดและข้าวต้มลูกโยน โดยชาวบ้านจะรอพระภิกษุสงฆ์เดินลงมาจากอุโบสถหลังจากทำวัตรเช้า

วันออกพรรษา 2563 ตรงกับวันที่ 2 ต.ค. กิจกรรม คำปวารณาออกพรรษา ฯลฯ

-ทอดกฐิน

ชาวบ้านนำผ้าใหม่ มาเย็บเป็นจีวรเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน นิยมทำหลังจากออกพรรษา 1 เดือน

 

-ทอดผ้าป่า

การทอดผ้าป่า เป็นประเพณีการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน คล้ายกับการทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจํากัด คือสามารถทำได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดเวลา คือทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่งๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้เช่นกัน

 

เมื่อออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถค้างแรมสถานที่อื่นได้โดยไม่ผิดวินัย และยังได้รับอานิสงส์อีก 4 ข้อ คือ

1.ไปไหนมาไหนโดยไม่ต้องบอกลา 
2.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
3.มีสิทธิ์ได้ลาภที่เกิดขึ้นได้ 
4.มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ขยายเวลาได้อีก 4 เดือน

related