svasdssvasds

สรุปสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ในเขตกรุงเทพฯ

สรุปสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ในเขตกรุงเทพฯ

สาระสำคัญของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ในเขตกรุงเทพฯ ข้อห้าม อำนาจที่ใช้จัดการ และผู้มีอำนาจและผู้ปฏิบัติงาน

สรุปสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ในเขตกรุงเทพฯ

จากกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยมีผลตั้งแต่ 15 ตุลาคม เวลา 04.00 น. เป็นต้นไปนั้น

สามารถสรุปออกมาเป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆ ได้คือ 1.ข้อห้าม 2. อำนาจที่ใช้จัดการ และ 3. ผู้มีอนาจสั่งการ และผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้

1. ข้อห้าม

1.1 ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หรือกระทำการอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย

1.2 ห้ามเสนอข่าว ข้อมูล ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิด จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

1.3 ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ หรือให้ใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ โดยมีเงื่อนไข หรือตามที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด

1.4 ห้ามเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใดๆ และให้ออกจากอาคาร หรือสถานที่นั้นๆ ตามที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด

2. อำนาจที่ใช้จัดการ

2.1 มีอำนาจจับคุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำ เช่น ปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้คราวละไม่เกิน 7 วัน รวมกันสูงสุด 30 วัน

2.2 มีอำนาจเรียกบุคคลมารายงานตัว เพื่อให้ถ้อยคำ เอกสาร หรือหลักฐาน

2.3 มีอำนาจยึด หรืออายัดอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร อาวุธ สินค้า ฯลฯ

2.4 มีอำนาจตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง

2.5 มีอำนาจสั่งห้ามมิให้บุคคลกระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการใดๆ

2.6 มีอำนาจสั่งการ ห้ามกระทำการอย่างใด ๆ ที่เป็นการปิดการจราจร ปิดเส้นทางคมนาคม หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ตามปกติในเขตกรุงเทพฯ

3. ผู้มีอำนาจสั่งการและผู้ปฏิบัติงาน

3.1 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง

3.2 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

3.3 ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่กำหนด

สรุปสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ในเขตกรุงเทพฯ

related