svasdssvasds

ประวัติ อองซาน ซูจี แกนนำพรรคเอ็นแอลดี ถูกจับฯ เซ่นรัฐประหารพม่า

ประวัติ อองซาน ซูจี แกนนำพรรคเอ็นแอลดี ถูกจับฯ เซ่นรัฐประหารพม่า

กองทัพเมียนมารัฐประหาร จับกุมหัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี อองซาน ซูจี และแกนนำ เปิดประวัติผู้นำเมียนมา

กองทัพพม่า รัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลประธานาธิบดีอู วิน มินต์ เข้ารวบตัว ออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐพม่า หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD)  และแกนนำพรรคหลายราย

ประวัติ อองซาน ซูจี แกนนำพรรคเอ็นแอลดี ถูกจับฯ เซ่นรัฐประหารพม่า

ออง ซาน ซูจี นักการเมืองเมียนมา เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2488 (ปัจจุบันอายุ 75 ปี) ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่าในระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ มีบิดาคือ นายพลอองซาน ที่ญี่ปุ่นให้การสนับสนุน และทำให้ญี่ปุ่นยึดพม่าได้สำเร็จในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งต่อมา นายพลอองซาน ถูกลอบสังหาร ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 ขณะนั้นออง ซาน มีอายุได้ 2 ขวบ และทำให้เครือข่ายอำนาจจากนายพลอองซาน ช่วยเลี้ยงดูต่อ

ประวัติ อองซาน ซูจี แกนนำพรรคเอ็นแอลดี ถูกจับฯ เซ่นรัฐประหารพม่า

ออง ซาน ซูจี ได้จบชั้นมัธยมศึกษาและปริญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จาก วิทยาสตรีศรีราม ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย จากการติดตามมารดาที่ไปเป็นทูตพม่า ประจำอินเดีย และไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ การเมือง และปรัญญา จากเซนต์ ฮิวส์ คอลเลจ (St Hugh's College) ออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร หลังจากนั้น ได้ไปทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณและการจัดการของสำนักงานเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ

ประวัติ อองซาน ซูจี แกนนำพรรคเอ็นแอลดี ถูกจับฯ เซ่นรัฐประหารพม่า

ออง ซาน ซูจีได้พบรักกับ ไมเคิล อริส และมีลูกชายด้วยกัน 2 คน ทำให้ออง ซาน และครอบครัว ย้ายไปอยู่ที่ราชอาณาจักรภูฏาน และทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ ของรัฐบาลภูฏาน ซึ่งในภายหลังครอบครัวอองซาน ได้ย้ายกลับไปอังกฤษ ทำให้ได้เรียนต่อที่ SOAS (School of Oriental and African Studies) มหาวิทยาลัยลอนดอน อังกฤษ ก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง และทำตามความฝันของผู้เป็นบิดา

ออง ซาน ซูจี เดินทางกลับประเทศใน พ.ศ.2531 ด้วยวัย 43 ปี ซึ่งขณะนั้นการเมืองกำลังวุ่นวายจากการกดดันให้ นายพลเนวิน ประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ปกครองประเทศยาวนานถึง 26 ปี ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งสำเร็จในที่สุด และเรียกร้องให้ประชาธิปไตย พร้อมกับการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย

ประวัติ อองซาน ซูจี แกนนำพรรคเอ็นแอลดี ถูกจับฯ เซ่นรัฐประหารพม่า

ออง ซาน ซูจี ได้เข้าร่วมการประท้วงมาโดยตลอด และขึ้นกล่าวปราศรัยครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2531 ณ หน้าเจดีย์ชเวดากอง ทว่าผู้นำทหารกลับประกาศกฎอัยการศึก พร้อมจัดตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ (The State Law and Order Restoration Council : SLORC) ได้ปราบผู้ร่วมชุมนุมหลายร้อยคน

ประวัติ อองซาน ซูจี แกนนำพรรคเอ็นแอลดี ถูกจับฯ เซ่นรัฐประหารพม่า

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy: NLD) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2531 โดยมีออง ซาน ซูจี เป็นเลขาธิการพรรค

รัฐบาลภายใต้กฎอัยการศึก สั่งกักบริเวณออง ซาน ให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็นครั้งแรก เวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งต่อมาขยายเป็น 6 ปี

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2534 คณะกรรมการโนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ ประกาศชื่อ ออง ซาน ซูจี เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ทว่าลูกทั้งสองกลับต้องไปรับรางวัลแทน เนื่องจากมารดายังคงถูกสั่งกักตัวจากรัฐบาลพม่า และถูกปล่อยตัวเมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2538 

เมื่อได้รับอิสรภาพ ออง ซาน ซูจี ไม่รอช้าที่จะเข้าร่วมการชุมนุมและเคลื่อนไหวทางการทันที ด้วยการปราศรัยปลุกระดมมวลชนที่สนับสนุนให้ต่อสู้เพื่อล้มรัฐบาล จึงเป็นเหตุให้ถูกกักบริเวณเป็นครั้งที่สอง นาน 18 เดือน

หลังจากที่พ้นคำสั่งกักตัว ออง ซาน ซูจี ก็เดินสายพบปะประชาชน ทำให้เกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างมวลชนผู้ไม่ชื่นชอบกับกลุ่มผู้สนับสนุนออง ซาน ในเมืองเดพายิน (Depayin) ทางตอนเหนือของพม่า เป็นเหตุให้ถูกสั่งกักบริเวณอยู่แต่ในบ้านพักอีกเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2546  และถูกปล่อยตัวในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.553 รวมระยะเวลานาน 7 ปี ด้วยแรงกดดันจากนานาประเทศ

ประวัติ อองซาน ซูจี แกนนำพรรคเอ็นแอลดี ถูกจับฯ เซ่นรัฐประหารพม่า

ซึ่งระหว่างที่ ออง ซาน ซูจี กักบริเวณรอบที่ 3 ก็มีเหตุการณ์ จอห์น ยัตทอว์ ชายชาวอเมริกัน ได้ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบอินยาไปยังบ้านพักของออง ซาน ซูจี ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2552

related