svasdssvasds

สธ.เผย ผู้ป่วยโควิดเดินทางกลับภูมิลำเนาแล้ว 9 หมื่นราย ย้ำประสานปลายทาง

สธ.เผย ผู้ป่วยโควิดเดินทางกลับภูมิลำเนาแล้ว 9 หมื่นราย ย้ำประสานปลายทาง

สธ.เผย ผู้ป่วยโควิด เดินทางกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนากว่า 9 หมื่นราย ย้ำ ขอให้ผู้ป่วยติดต่อโรงพยาบาลปลายทางก่อน ไม่งั้นอาจไม่ได้รับการรักษา ระบุ เตียงทั่วประเทศยังว่างประมาณ 40,000 เตียง 

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงการบริหารจัดการนำผู้ติดเชื้อกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนาว่า จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเปิดดำเนินการโครงการส่งผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม มีผู้ติดเชื้อเดินทางจากกรุงเทพ - ปริมณฑล กลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนาทั่วประเทศ แบ่งเป็น 12 เขต มีทั้งหมด 94,664 คน โดยในจำนวนนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ภาคอีสาน เขตสุขภาพที่ 7 มีจำนวน 73,022 ราย // เขตสุขภาพที่ 8 มีจำนวน 13,761 ราย // เขตสุขภาพที่ 9 มีจำนวน 17,293 ราย และเขตสุขภาพที่ 10 มีจำนวน 9,821 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

กทม. ยอดติดเชื้อโควิดพุ่ง 4,140 ราย แนะกลุ่มเสี่ยงสูงเร่งตรวจก่อนอาการหนัก

สธ.เผย ฉีดผสม ซิโนแวค-แอสตร้าฯ กว่า 1 แสนคน ยังไม่พบปัญหา ยันสูตรนี้ปลอดภัย

กรมควบคุมโรค จัด “60 ซุปเปอร์ไรเดอร์” ส่งยาด่วนให้ผู้ติดเชื้อโควิด ใน กทม.

ภาคเหนือ 3 เขต คือ เขตสุขภาพที่ 1 มีจำนวน ประมาณ 4,000 ราย // เขตสุขภาพที่ 2 มีจำนวน 5,125 ราย / เขตสุขภาพที่ 3 มีจำนวน 7,515 ราย 

ภาคกลาง- ตะวันออก เขตสุขภาพที่ 6 มีจำนวน 8,691 ราย / ภาคใต้ เขตสุขภาพที่ 11 มีจำนวน 1,425 ราย / เขตสุขภาพ 12 มีจำนวน 983 ราย 

การดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา มีผู้ป่วยติดต่อผ่านโรงพยาบาลปลายทางเพื่อติดต่อเข้ารับการรักษาตัวที่บ้าน / แต่มีบางคนไม่บอก เดินทางกลับภูมิลำเนาเลย ที่อาจจะเกิดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น

นพ.ธงชัย ย้ำว่า กระบวนการกลับไปรักษาตัวที่บ้านยังคงมีอยู่ แต่ขอให้ผู้ป่วย หรือ ญาติผู้ป่วย ติดต่อไปที่จังหวัดในภูมิลำเนา ที่ตนเองอยากกลับไปรักษา ซึ่งโรงพยาบาบทุกแห่งมีเบอร์ในการติดต่อประสานงานได้ และจะมีคำแนะนำในการเดินทาง เพื่อประเมินก่อนการเดินทาง แต่ไม่แนะนำให้ประชาชนเดินทางกลับด้วยตนเองโดยไม่มีการประสานโรงพยาบาลต้นทางก่อนเพราะอาจจะทำให้ไม่มีโรงพยาบาลปลายทางรองรับ

ส่วนผู้ติดเชื้อที่จะเดินทางกลับไปรักษาตัวยังภูมิลำเนาสามารถลงทะเบียนหรือแจ้งความประสงค์ได้ที่จังหวัดปลายทางหรือ สปสช. 

หลังจากที่ ผู้ป่วยเดินทางถึงยังจังหวัดปลายทางจะมีทีมแพทย์เข้ามาประเมินอาการเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาตามระบบทั้งการรักษายังโรงพยาบาลสนาม หรือกระบวนการรักษาตัวที่บ้านหากประเมิน เป็นกลุ่มผู้ป่วยมีอาการป่วยสีเหลืองก็จะพิจารณาส่งรักษาตัวในโรงพยาบาลรวมถึงกลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรง สีแดงที่จะจัดส่งโรงพยาบาลศูนย์ของจังหวัดนั้นๆ

ส่วนสถานการณ์เตียงในต่างจังหวัดจะมีเพียงพอหรือไม่ นพ. ธงชัย ระบุว่า ภาพรวมเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งหมด 12 เขตสุขภาพ ยกเว้น กทม. มีเตียงผู้ป่วยทั้งหมด 156,189 เตียง มีการครองเตียงไปแล้วกว่า 114,786 เตียง หรือร้อยละ 73.49 ยังคงมีเตียงว่างอยู่ 41,185 เตียง 

แบ่งเป็น เขตสุขภาพที่ 1 ครองเตียง ร้อยละ 52 / เขตสุขภาพที่2 ครองเตียง ร้อยละ 62 /เขตสุขภาพ3 มีอัตราครองเตียงร้อยละ 70 / เขตสุขภาพ 4-6 มีอัตราการครองเตียงร้อยละ 80 /เขตสุขภาพที่ 11 ครองเตียง ร้อยละ 62 / เขตสุขภาพที่12 ครองเตียง ร้อยละ 74 

ยังมีเตียงผู้ป่วยเหลืออยู่ ซึ่งถ้าเป็นผู้ป่วยสีเขียวสามารถจัดการได้ง่าย เช่น การแยกกักตัวที่บ้าน / การรักษาตัวที่บ้าน ส่วนเตียงผู้ป่วยสีเหลือง อาจจะมีความยากเนื่องจากเป็นผู้ป่วยมีอาการซึ่งอาจจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 

ส่วนเตียงสีแดง มีการจัดการที่ยากที่สุด เนื่องจากมีอาการที่รุนแรง และพบอัตราครองเตียงร้อยละ 75 คาดว่า ขณะนี้ยังสามารถรองรับผู้ป่วยได้อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดได้ 

โดยคาดการณ์ว่า 2 สัปดาห์ - 1 เดือน ต่อจากนี้จะเป็นช่วงเวลาที่จะมีผู้ป่วยเดินทางกลับภูมิลำเนาสูงสุด // ส่วนแต่ละจังหวัด ได้เตรียมความพร้อมเรื่องเวชภัณฑ์และบุคลากรเพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่จะเพิ่มขึ้น 

นพ.ธงชัย ย้ำว่า ผู้ติดเชื้อที่เข้าร่วมโครงการเดินทางกลับรักษาตัวยังภูมิลำเนาค่ารักษาค่าเดินทางทุกอย่างฟรีโดยรัฐจะเป็นผู้เบิกจ่ายค่ารักษาให้ทั้งหมด

related