svasdssvasds

ลูกหนี้เตรียมเฮ ! แบงก์ชาติ ลุยปรับโครงสร้างหนี้ลูกค้าระยะยาว ลดต้น-ลดดอก

ลูกหนี้เตรียมเฮ ! แบงก์ชาติ ลุยปรับโครงสร้างหนี้ลูกค้าระยะยาว ลดต้น-ลดดอก

มีข่าวดีมาแจ้ง สำหรับใครที่เป็นหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เตรียมขอความร่วมมือสถาบันการเงินปรับโครงสร้างหนี้ลูกค้าระยะยาว แฮร์คัท-ลดต้น-ลดดอก เพื่อช่วยธุรกิจลูกค้ารายย่อย ธุรกิจ ฝ่าปัญหาการเงินช่วงโควิด-19 ไปให้ได้ คาดมีความชัดเจนเร็วๆ นี้

เรื่องนี้ถูกเปิดเผยจาก ‘นายรณดล นุ่มนนท์’ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำเอารายได้ของธุรกิจและประชาชนลดลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกมาตรการช่วยเหลือช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้น จากสถานการณ์ทุกวันนี้ที่ยืดเยื้อกว่าคาดการณ์ส่งผลให้มาตรการเดิมที่เน้นช่วยเหลือระยะสั้นต้องปรับให้เหมาะสมมากขึ้น

ทั้งนี้มองว่ามองว่ามาตรการช่วยเหลือผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะสามารถตอบโจทย์ช่วยเหลือลูกหนี้ระยะยาวได้มากกว่ามาตรการพักชำระหนี้ในระยะสั้น ซึ่งภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ยังเดินต่อในช่วงที่พักชำระ ส่วนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาในรายละเอียดเป็นการยืดระยะเวลาสินเชื่อ หรือพักชำระหนี้ให้ในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งธปท.ต้องการเห็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การแฮร์คัทหนี้ หรือการลดดอกเบี้ย

ธปท. เร่ ธปท.เร่งหารือสถาบันการเงิน ปรับโครงสร้างหนี้ช่วยลูกค้าใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ช่วงนี้พักชำระหนี้ ! แต่หลังจากนี้ ควรรู้ 8 เทคนิคปรับโครงสร้างหนี้ไว้

• วันแรก ! เปิดพักชำระหนี้ 2 เดือน ใครมีสิทธิ แบงก์ไหนเข้าร่วมบ้าง ?

• แอปพลิเคชันการเงิน แบงก์ไหน ? ช่วยกู้เสริมสภาพคล่อง พักชำระหนี้ ได้ !

อย่างไรก็ตามในการนี้ ธปท.จะขอความร่วมมือไปยังสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้ทันที รวมถึงอยู่ระหว่างหารือร่วมกันเกี่ยวกับการออกมาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกค้าได้เต็มที่  ยกตัวอย่าง เช่น สถาบันการเงินไม่ต้องจัดชั้นลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือNPL เพราะหากเป็น NPL แล้วจะส่งผลให้สถาบันการเงินมีภาระตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามมา เช่น การตั้งสำรองหนี้ เป็นต้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะครบกำหนดอายุในสิ้นปี 2564 สำหรับมาตรการจูงใจคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นมาตรการที่คณะกรรมที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลจัดทำได้ทันที ไม่จำเป็นต้องนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.)

related