svasdssvasds

กรมอนามัย เผย หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด เกือบ 2 พันราย เสี่ยงอาการหนักกว่า 3 เท่า

กรมอนามัย เผย หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด เกือบ 2 พันราย เสี่ยงอาการหนักกว่า 3 เท่า

กรมอนามัย เผย หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด19 เกือบ 2 พันราย เสียชีวิต 37 ราย ทารกเสียชีวิต 20 ราย ห่วงระบาดระลอกใหม่ยอดติดเชื้อกลุ่มตั้งครรภ์เพิ่มวันละ 800 ราย เสี่ยงอาการหนักกว่าคนทั่วไป 3 เท่า

เมื่อวันวันที่ 13 ส.ค. ในแถลงสถานการณ์โควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข ประเด็นหญิงตั้งครรภ์ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ตั้งแต่ธ.ค. 2563 -11 ส.ค. 2564 พบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 1,993 ราย เป็นคนไทย 1,315 ราย คนต่างด้าว 678 ราย ในจำนวนนี้รับวัคซีนแล้ว 10 ราย มีทารกที่ติดเชื้อ 113 ราย สำหรับรายงานการเสียชีวิตพบว่าเป็นมารดา 37 ราย ทารก 20 ราย เสียชีวิตขณะคลอด 11 ราย และเสียชีวิตใน 7 วันแรก 9 ราย ยังไม่รวมรายงานการเสียชีวิตในวันที่ 13 ส.ค. ซึ่งเบื้องต้นพบมีรายงานเพิ่ม 2 ราย ที่จังหวัดชัยนาท และอุดรธานี และข้อมูลจากระบบหมอพร้อม สรุปรายงานวันที่ 11 ส.ค. มีหญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนแล้ว 7,935 รายได้รับวัคซีนเข็มแรก และอีก 574 รายได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

“ช่วงการระบาดระลอกแรกพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไม่มาก แต่มาเริ่มพบมากตั้งแต่การระบาดระลอก 2 เดือน ธ.ค. 2563- มี.ค. 2564 พบเดือนละประมาณ 25 คน ต่อมาการระบาดระลอก 3 ช่วงเดือน เม.ย. 2564 เป็นต้นมา มีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เดือน พ.ค. เป็นต้นมาพบมากถึงเดือนละประมาณ 200 ราย แต่พอเดือนก.ค.2564 พบมากถึง 800 ราย ส่วนการเสียชีวิตเริ่มมีรายงานเมื่อ เม.ย. 2564 หลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ” นพ.สุวรรณชัยกล่าว  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

สธ.เตรียมชง ซื้อวัคซีนโควิด "ไฟเซอร์" 20 ล้านโดส เข้าครม. 17 ส.ค.นี้

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดผลข้างเคียง หลังฉีดวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" 

นายกฯ หารือ การบริหารจัดการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด - 19 อาจล็อกดาวน์เข็มขึ้น

จากข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อพบว่า 74.21% อยู่ในช่วงอายุ 20 - 34 ปี 19.17% อายุ 35 ปี ขึ้นไป และต่ำกว่า 20 ปี มี 5.07% พบเกิดปอดอักเสบ 22.53% หรือ 449 ราย โดยอยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี 9 ราย อายุ 20-34 ปี 269 ราย อายุ 35 ปี ขึ้นไป 105 ราย และไม่สามารถระบุอายุ 23 คน  ขณะนี้ในจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ มีการคลอดแล้ว ข้อมูลถึงวันที่ 11 ส.ค. จำนวน 1,129 คน หรือ 55.65% ส่วนใหญ่ผ่าคลอด 53% ที่น่าสังเกตคือมีการคลอดก่อนกำหนด หรือคลอดที่ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ เกือบ 18% จากปกติของไทยจะพบคลอดก่อนกำหนด 10% ยังพบทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย 16% ปกติพบ 8% เมื่อดูจำนวนผู้เสียชีวิต

นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลมารดาที่เสียชีวิต 37 รายนั้น อยู่ในกทม. 7 ราย ต่างจังหวัด 30 ราย โดยเสียชีวิตก่อนคลอด 16 ราย เสียชีวิตหลังคลอด 16 ราย ส่วนใหญ่เสียชีวิตช่วงครึ่งหลังการตั้งครรภ์ สาเหตุส่วนใหญ่พบว่า 35 ราย ปอดอักเสบจากการติดเชื้อโควิด มีเพียง 2 ราย เท่านั้นที่เกิดจากภาวะทางสูติกรรม ส่วนทารกที่คลอดมา 16 ราย พบว่าปกติดีไม่ติดเชื้อ 6 ราย ญาติรับกลับไปดูแล มีทารกติดเชื้อ 2 ราย และเสียชีวิต 5 ราย ปัจจัยเสี่ยงเหมือนบุคคลทั่วไป คือมีโรคประจำตัว คือ อ้วน  อายุเกิน 35 ปี มีเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ใช้สารเสพติด ส่วนใหญ่ติดเจากคนในครอบครัว ที่ทำงาน และตลาด ส่วนปัจจัยการเสียชีวิตเกิดจากปัจจัยจากการตั้งครรภ์ 9 % การเข้าถึงบริการ 21% และ ข้อจำกัดภายในระบบบริกร 70%

การยกระดับมาตรการป้องกัน รักษา เน้นการป้องกันระดับบุคล คือ

1. ส่งเสริมดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด เว้นระยะห่าง ล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ เมื่อสงสัยสามารถตรวจ ATK ได้ 

2. สนับสนุนให้ทำงานที่บ้าน โดยเฉพาะที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป มีภวะความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในสถานประกอบการเสี่ยงสูง หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวด ขอให้ทำงานที่บ้านหากสามารถทำได้ และต้องป้องกันการติดเชื้อจากคนในครอบครัวด้วย

3. ให้ฉีดวัคซีนหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพราะเสี่ยงติดเชื้ออาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป 3 เท่า โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่อ้วน มีโรคประจำตัว ทั้งนี้ผบข้างเคียงจากการรับวัคซีนคล้ายกับคนทั่วไป อย่างไรก็ตามสามารถให้วัคซีนในหญิงที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรได้ด้วย 

อนึ่ง เอกสารที่นำเสนอข่าวพบว่า10 จังหวัดที่พบติดหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อสูงสุด คือกทม.417 ราย สมุทรสาคร  370 ราย ปทุมธานี 81 ราย  ยะลา 80 ราย สงขลา 74 ราย สมุทรปราการ 71 ราย นราธิวาส 71 ราย พระนครศรีอยุธยา 68 ราย ขอนแก่น 53 ราย และตาก 4 ราย

related