svasdssvasds

เรียนออนไลน์ ปัจจัยหลักที่ทำเด็กไทยเนือยนิ่ง

เรียนออนไลน์ ปัจจัยหลักที่ทำเด็กไทยเนือยนิ่ง

ผลสำรวจย้ำชัด การเรียนออนไลน์ เป็นภาระกับผู้เรียน ส่งผลให้เด็กไทยเกิดความเครียดถึง 8 อย่าง ส่งผลให้เด็กอ้วนและเนือยนิ่งเพิ่มขึ้น เพราะขาดการออกกำลัง

เพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังแพร่ระบาดอย่างหนัก ส่งผลให้หลายคนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ รวมไปถึงเด็กนักเรียนหลายชั้นเรียน ที่ต้องเปลี่ยนบ้านแสนรักหลายเป็นห้องเรียนจำลอง 

แม้การปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะทำให้บรรดาผู้ปกครอง ครูผู้สอน และตัวนักเรียนผู้เรียน ประสบปัญหาและเพิ่มภาระมากขึ้น แต่ก็ต้องทำเพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในสถานการณ์เช่นนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา หัวหน้าศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวทิยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผลกระทบสุขภาพของเด็กที่เกิดจากการเรียนออนไลน์ เป็นประเด็นที่ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ซึ่งจากการสำรวจผ่านทางคลับเฮ้าส์พบว่า เด็กหลายคนต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ตั้งแต่ตอนตื่นนอนไปจนถึงเวลาเข้านอนอีกครั้ง โดยแบ่งเป็นปัญหาหลักๆ 8 ข้อ ที่เป็นปัญหาทางสุขภาพ ได้แก่

1. ปวดตา ปวดเมื่อย ปวดหลัง เพราะนั่งนาน เนือยนิ่ง 79.0%
2. เครียด วิตกกังวล โดยเฉพาะเด็กช่วงก่อนเข้าม.1 และก่อนเข้ามหาวิทยาลัย 74.9%
3. การบ้านเยอะขึ้น จนส่งผลกระทบการพักผ่อน 71.6%
4. รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียน 68.3%
5. ภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น 66.3%
6. ขาดกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกายน้อยลง 58%
7. สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ทำให้ขาดสมาธิ 57.2%
8. รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา 56%

เรียนออนไลน์ ปัจจัยหลักที่ทำเด็กไทยเนือยนิ่ง

ซึ่งปัญหาเหล่านี้นับเป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการส่งเสริมสุขภาพ ขัดแย้งกับองค์ประกอบสำคัญขององค์การอนามัยโลก ที่แนะนำว่าต้องขยับให้ได้อย่างน้อยวันละ 60 นาที ซึ่งในภาวะปกติเด็กไทยทำได้เพียง 26% แต่พอเกิดการแพร่ระบาดโควิดและมีคำสั่งล็อกดาวน์ ทำให้ตัวเลขลดลงเหลือ 17% นับว่าเป็นตัวเลขที่น่ากลัวอาจส่งผลในระยะยาว

การเรียนออนไลน์ นับเป็นการปรับตัวของทุกคน ซึ่งการที่จะทำให้เด็กนักเรียนไม่รู้สึกแย่นั้น คือต้องลดความเครียดในตัวเด็ก เนื่องจากการเรียนออนไลน์ ความเข้มแข็งทางใจเดียวที่มีคืครอบครัว ดังนั้นการแก้ปัญหาขั้นต้น ก็คือปฏิสัมพันธ์ของครอบครัวที่ต้องอยู่ในเชิงบวก เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้สึกรอบตัวจากที่บ้านก่อน โดยแบ่งได้ดังนี้

1.พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ในด้านการเรียนรู้และในด้านการดูแลสุขภาพตนเอง
2.พ่อแม่มีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน เพื่อให้ลูกดูแลสุขภาพได้ เช่น มีที่กระโดดเชือก มีจักรยาน
3.คุณครูต้องสอดแทรกเรื่องสุขภาพในการเรียนการสอน
4.ต้องมีนโยบายการจัดตารางเรียนให้เหมาะสม
5.จัดการระบบสื่อ

related