svasdssvasds

กรมสุขภาพจิต เผย ไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

กรมสุขภาพจิต เผย ไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

กรมสุขภาพจิต เผย ไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยปัจจัย คือ ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดที่เกิดความขัดแย้งและปัจจัยด้านเศรษฐกิจในยุดโควิด-19 

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย แพทย์หญิง พรรพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต และนพ.ณัฐกร จำปาทอง หัวหน้าศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ รศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ นกยกสมาคมจิตแพทย์จิตแพทย์แห่งประเทศไทย และ พ.อ.หญิงนวพร หิรัญวิวัฒน์กุล ประธานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าววันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก ปี 2564 

แพทย์หญิง พรรพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุว่า เราติดตามสถานการณ์การฆ่าตัวตายมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นตั้งแต่ปี 2563  ตั้งแต่เผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ที่เราติดตามสุขภาพจิตคนไทย พบ คยไทยสภาวะความเครียด และ ซึมเศร้าที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่สถานการณ์ค่อนข้างต่อเนื่องยาวนานจึงเริ่มเกิดภาวะเหนื่อยล้าทางอารมณ์จนทำให้หมดพลัง และกำลัง ที่จะต้องเผชิญกับปัญหาที่ยาวนานจึงคาดว่าปี 2564 จะมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงกว่าปีที่แล้ว

ส่วนปัจจัยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย คือ ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดที่เกิดความขัดแย้ง ซึ่งอาจจะเป็นตัวกระตุ้นการใช้ชีวิตที่ตึงเครียดด้วยเช่นเดียวกันและ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจเริ่มมีปัญหาเพิ่มสูงขึ้น เช่นกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องรายได้ เช่น กลุ่มที่อาชีพฟรีแลนซ์ ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง และมีความเปราะบางมากขึ้นในสถานการณ์โควิด-19 

ขณะที่ นายแพทย์ณัฐกร จำปาทอง หัวหน้าศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ ระบุว่า ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติได้มีการติดตามอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมาโดยตลอด และได้ทำการพัฒนาฐานข้อมูลการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายให้มีความใกล้เคียงอัตราที่แท้จริงมากที่สุด ซึ่งฐานข้อมูลเดิมที่ประเทศไทยใช้มาตลอดคือ ฐานข้อมูลของมรณบัตร ซึ่งเป็นข้อมูลทางการและเป็นข้อเท็จจริงแต่จากการวิจัยอย่างต่อเนื่องพบว่าอัตราที่ปรากฏในมรณบัตรอาจน้อยกว่าอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้น กรมสุขภาพจิตจึงได้ปรับการใช้ฐานข้อมูลใหม่เป็นระบบ 3 ฐาน ซึ่งเป็นการใช้ฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยประสานร่วมกับฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขและฐานข้อมูลศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบฐานข้อมูลทั้งสองระบบในปี 2561 2562 และ 2563 จะพบว่า ในระบบฐานเดี่ยว (เดิม) มีอัตราเท่ากับ 6.32 6.73 และ 7.37 ต่อแสนประชากรต่อปี ตามลำดับ และในระบบ 3 ฐาน (ใหม่) มีอัตราเท่ากับ 8.81 8.95 และ 10.08 ต่อแสนประชากรต่อปี ตามลำดับ การปรับใช้ฐานข้อมูลที่มีคุณภาพสูงขึ้นจะช่วยให้ประชาชนรับทราบอัตราการฆ่าตัวตายที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด และช่วยสร้างความตระหนักมากขึ้นว่าปัญหานี้เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน

ทั้งนี้ ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความคิดเรื่องการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก และสถิติทั่วโลกย้อนหลังมีจำนวนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งบ่งบอกถึงเราทุกคนต้องร่วมกันทำเรื่องนี้ให้มากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีกำแพง
ที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตาย คือ มุมมองด้านลบถึงคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตและคนที่กำลังมีความคิดฆ่าตัวตาย เช่น การมองว่าเป็นคนอ่อนแอ ไม่สู้ชีวิต ทำให้คนที่กำลังมีความคิดอยู่ไม่กล้าเข้าสู่ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ถ้าสังคมไทยสามารถปรับมุมมองตรงนี้ได้ จะทำให้เราสามารถช่วยเหลือคนที่กำลังมีปัญหาได้มากขึ้น

related