svasdssvasds

การระบายน้ำท่วมลงอ่าวไทย มีผลกระทบต่อปะการังหรือไม่?

การระบายน้ำท่วมลงอ่าวไทย มีผลกระทบต่อปะการังหรือไม่?

พื้นที่ปะการังทั่วโลก 14% เสียหายจากภาวะโลกร้อนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แต่หากมองสถานการณ์ในไทย การระบายน้ำท่วมที่เป็นน้ำจืดลงสู่ทะเลจะมีผลกระทบต่อปะการังหรือไม่ แล้วระบบนิเวศน์จะเป็นอย่างไรบ้าง

จากการศึกษาความเป็นอยู่ของปะการัง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ในช่วงระหว่างปี 2009-2018 ที่ผ่านมาพื้นที่แนวปะการังสูญหายไปกว่า 11,700 ตารางกิโลเมตร

รายงานล่าสุดจาก Global Coral Reef Monitoring Network เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา พบว่าสาหร่ายแนวปะการังจะเจริญเติบโตก็ต่อเมื่อปะการังสังเคราะห์แสง แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านวิกฤตการณ์ที่ผ่านมาของปรากฎการณ์การฟอกขาวของปะการัง ทำให้สาหร่ายมีอัตราขยายตัวเพิ่มถึง 20% ในช่วงปี2010และปี2019

จากการเก็บข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 300 คนใน 73 ประเทศทั่วโลกช่วงระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการสังเกตจากบุคคลทั่วไปกว่า 2 ล้านคน จากการวิเคราะห์แนวปะการังใน 10 ภูมิภาค พบว่าปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวมีอัตราเพิ่มขึ้นจากอุณภูมิผิวน้ำที่เพิ่มมากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปะการังเสียหาย และยังพบอีกว่าเหตุกาณ์ที่ก่อให้เกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในปี 1998 ส่งผลต่อการลดลงของปะการังไป 8% ของพื้นที่ปะการังทั่วโลกหรือราว ๆ 6,500 ตารางกิโลเมตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลอย่างมากโดยเฉพาะคาบสมุทรอินเดีย ญี่ปุ่นและแคริบเบียน

ปะการังฟอกขาว cr.The Ocean Agency / XL Catlin Seaview Survey / Richard Vevers (GreenNews))

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเสื่อมโทรมของแนวปะการังในช่วงปลายศตวรรษที่ผ่านมา เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวทะเล มันเป็นเรื่องเร่งด่วนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของปะการังทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สายที่จะแก้ปัญหานี้ เพราะผลการศึกษายังเผยอีกว่าถ้าหากทั่วโลกสามารถแก้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกหรือหยุดโลกร้อนได้ก็จะสามารถเยียวยาปะการังเหล่านี้ทัน

ข่าวเพิ่มเติม

แม้ว่าปะการังจะมีจำนวนในพื้นที่ของมหาสมุทรเพียง 0.2% เป็นมันเป็นบ้านหลังสำคัญของสัตว์น้ำหลายสายพันธุ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญพอๆกับแหล่งโปรตีนและปัจจัยการดำรงชีวิตพื้นฐานของมนุษย์ เช่น ยา อาหาร และงาน รวมไปถึงการปกป้องจากพายุและการล่มสลายของมนุษยชาติ

หากมองในไทย จากสถานการณ์น้ำท่วมที่หลายพื้นที่กำลังประสบอยู่ หากมีการระบายน้ำไปยังปากอ่าวไทย จะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลหรือไม่อย่างไรนั้น อาจารย์ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลกับ SpringNews ว่า ปรากฎการณ์ที่น้ำจืดจะลงไปยังทะเลมันก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าต้องดูเป็นพื้นที่ๆไป แต่หากเปรียบเทียบจากปี 54 จนมาถึงปี 64 เป็นระยะเวลา 10 ปี มันก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ในปี 54 ปะการังจะคงทนกว่าปี 64 และฟื้นฟูตัวเองได้ภายใน 6 เดือน ส่วนผลการะทบจากการระบายของน้ำท่วมโดยเฉพาะน้ำจากลพบุรี หรือชัยภูมิ ที่ไหลลงมาตามแม่น้ำป่าสัก ลงมายังแม่น้ำบางปะกง เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และไปยังเกาะสีชัง จะสามารถเกิดการไหลปนของน้ำจืดไปยังน้ำเค็ม ซึ่งจะลดความเค็มของน้ำทะเลลงไป ก็เป็นปัจจัยหนึ่งให้ปะการังเสียหาย

อาจารย์ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

หากถามว่าการไหลปนของน้ำจืดไปยังน้ำเค็มส่งผลกระทบต่อปะการังมากแค่ไหน ก็คงตอบได้ว่า ยังอยู่ในเปอร์เซ็นที่น้อยอยู่ ยังคงที่ ความร้อนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง แต่เหตุการณ์หนึ่งที่ไทยประสบอยู่ตอนนี้คือ ปรากฎการณ์แพลงก์ตอนบลูม ที่เกิดจากน้ำเสียจากครัวเรือนและอุตสาหกรรม รวมไปถึงปุ๋ยเคมีทางการเกษตรที่ไหลลงมาตามแม่น้ำ มันจึงไปเร่งการเติบโตของพืชอย่างแพลงก์ตอนแล้วไหลลงทะเลก่อให้เกิดน้ำสีเขียว จึงเป็นอีกปัจจัยหลักที่ทำให้ปะการังอ่อนแอลง พอเจอน้ำจืดที่ระบายลงมายิ่งทำให้เกิดอาการที่แย่ลงไปอีก

อาจารย์ ธรณ์ ยังเสริมอีกว่า “ปัญหาโลกร้อนมันค่อนข้างรุนแรงขึ้น เดี๋ยวนี้ปะการังฟอกขาวจะเกิดเป็นพื้นที่หย่อมๆหลายพื้นที่ ซึ่งโดยปกติเมื่อก่อนจะคลุมทั้งพื้นที่อ่าว เลยค่อนข้างกังวลว่ามันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของปะการังฟอกขาวไปเรื่อยๆ จากผลพวงของภาวะโลกร้อน”

ปะการังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายสายพันธุ์ ทั้งหลบซ่อนจากอันตราย เป็นบ้าน เป็นแหล่งหาอาหาร

ข้อมูลความรู้จากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า การเพิ่มขึ้นของอุณภูมิโลกและความแปรปรวนของสภาพอากาศมีผลอย่างมากต่อการเติบโตของปะการัง นอกจากนี้การทำเหมืองแร่ ภาวะมลพิษและการตกตะกอน ก็ส่งผลกระทบต่อปะการังมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเพิ่มสูงขึ้นของน้ำทะเลที่มาจากฝีมือมนุษย์นั้น ก็มีส่วนในการทำให้เกิดการฟอกขาวของปะการังได้ง่ายขึ้น หลังจากที่หมดยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 18,000 ปีที่แล้ว น้ำแข็งละลายทำให้ระดับน้ำทะเลสูงโดยรวม 100 เมตร คาดว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในปัจจุบันอาศัยอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลไม่เกิน 60 กิโลเมตร และคาดว่าประชาชนจะย้ายมาอาศัยอยู่แถบชายฝั่งมากขึ้น จากการทำรีสอร์ทและการสร้างตึก ทำให้แผ่นดินเกิดการยุบตัวได้ง่าย รวมไปถึงกิจกรรมการสูบน้ำใต้ดิน การขุดเจาะน้ำมัน ก๊าซและแร่ธาตุต่างๆทำให้ใต้พื้นดินยุบต่ำและเกิดช่องว่าง ทำให้น้ำสามารถรั่วไหลเข้าไปแทนที่ได้ ผนวกกับน้ำท่วมและปัจจัยการเกิดภาวะโลกร้อนอื่นๆก็มีส่วนสนับสนุนแนวคิดที่ว่า กรุงเทพฯจะจมในอีกกี่ปี?

ที่มาข้อมูล กรมอุตุนิยมวิทยา และ The Guardian 

related