svasdssvasds

พายุเตี้ยนหมู่ ถล่มแล้ว 33 จังหวัด ชาวบ้าน 3 แสนครัวเรือน เดือดร้อน ดับ9ราย

พายุเตี้ยนหมู่ ถล่มแล้ว 33 จังหวัด ชาวบ้าน 3 แสนครัวเรือน เดือดร้อน ดับ9ราย

ปภ.รายงานสถานการณ์อิทธิพลพายุ "เตี้ยนหมู่" พัดถล่ม 33 จังหวัด ประชาชนเดือดร้อนกว่า 3 แสน ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 9 ราย

 วันที่ 8 ต.ค.64 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ  "เตี้ยนหมู่"  ในช่วงวันที่ 23 ก.ย. – 8 ต.ค. 64 เกิดอุทกภัยใน 33 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 213 อำเภอ 1,147 ตำบล 7,706 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 303,855  ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 9 ราย 

พายุ"เตี้ยนหมู่" ถล่ม33จังหวัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 16 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร บุรีรัมย์ นครปฐม ยโสธร สุรินทร์ เลย ศรีสะเกษ สระแก้ว จันทบุรี ปราจีนบุรี) มีผู้เสียชีวิต 9 ราย (ลพบุรี ชาย 6 ราย เพชรบูรณ์ ชาย 2 ราย ชัยนาท ชาย 1 ราย)  ยังคงมีสถานการณ์ 17 จังหวัด รวม 74 อ. 421 ต. 2,106 ม. 93,576 ครัวเรือน ดังนี้

1.สุโขทัย ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอศรีสำโรง อำเภอคีรีมาศ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
2. พิษณุโลก ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ  ได้แก่  อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม และอำเภอบางระกำ  ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
3. ขอนแก่น ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ อำเภอโคกโพธิ์ชัย อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอโนนศิลา อำเภอพระยืน อำเภอบ้านแฮด และอำเภอบ้านไผ่ และแม่น้ำชีเอ่อท่วมสองฝั่งในพื้นที่บ้านท่าพระเนาว์ ต.ท่าพระ อ.เมืองฯ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

พายุ"เตี้ยนหมู่" ถล่ม33จังหวัด

 

4. มหาสารคาม มวลน้ำจากจังหวัดขอนแก่น ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย อำเภอเมืองมหาสารคามซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตร ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
5. ชัยภูมิ ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอคอนสวรรค์ระ ดับน้ำลดลง 
6. นครราชสีมา ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนไทย อำเภอโนนสูง อำเภอพิมาย อำเภอคง อำเภอจักราช อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอประทาย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอชุมพวง และอำเภอเมืองยาง ระดับน้ำลดลง 
7. อุบลราชธานี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ ระดับน้ำลดลง

 

8. นครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี และอำเภอโกรกพระ ระดับน้ำทรงตัว ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
9. อุทัยธานี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองอุทัยธานี ระดับน้ำทรงตัว 
10. ชัยนาท ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอสรรพยา ระดับน้ำทรงตัว
11. ลพบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านหมี่ อำเภอพัฒนานิคม และอำเภอโคกสำโรง ระดับน้ำลดลง

12. สระบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเสาไห้ อำเภอหนองโดน อำเภอบ้านหมอ อำเภอดอนพุด อำเภอหนองแซง และอำเภอหนองแค ระดับน้ำลดลง

13. สุพรรณบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำทรงตัว

14. สิงห์บุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
15. อ่างทอง ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอสามโก้ ซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตคันกั้นน้ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

16. พระนครศรีอยุธยา น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผงซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 
17. ปทุมธานี เจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ริมน้ำ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก ระดับน้ำลดลง

พายุ"เตี้ยนหมู่" ถล่ม33จังหวัด

ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ สำหรับประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง

related