svasdssvasds

กทม.ร่วมมือ 6 จังหวัดปริมณฑล เตรียมการรับมือน้ำเหนือไหลหลาก

กทม.ร่วมมือ 6 จังหวัดปริมณฑล เตรียมการรับมือน้ำเหนือไหลหลาก

กทม.ผนึก 6 จังหวัดปริมณฑลและหน่วยงานเกี่ยวข้อง บูรณาการรับมือน้ำเหนือไหลหลาก พร้อมร่วมมือบริหารจัดการน้ำ หวั่นฝนถล่มกรุง-ระบายออกช้า ขออย่าเรียกน้ำท่วม ให้เรียกน้ำมาก

วันที่ 11 ต.ค.64 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร( กทม.) เรียกประชุมความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำ แบบบูรณาการระหว่าง กทม. ปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์น้ำเหนือไหลหลาก โดยมี ผู้บริหาร 6 จังหวัดปริมณฑล คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนนทบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่าง กรมชลประทาน กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ปภ. ,กรมทางหลวง, กรมทางหลวงชนบท, กรมเจ้าท่า กองบัญชาการตำรวจนครบาล การไฟฟ้านครหลวง กอ.รมน.กทม. (ฝ่ายทหาร) ผ่านระบบการประชุมทางไกล

กทม.ร่วมมือ 6 จังหวัดปริมณฑล เตรียมการรับมือน้ำเหนือ

ตามที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย มีนโยบายทุกจังหวัด เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการร่วมกันบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แต่ละจังหวัด การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำ

กทม.ร่วมมือ 6 จังหวัดปริมณฑล เตรียมการรับมือน้ำเหนือ

รวมถึงความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ  ในกรณีที่เกิดฝนตกหนัก มีน้ำท่วมขังในจังหวัดปริมณฑลทั้ง 6 จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมร่วมมือการบริหารจัดการน้ำร่วม  แก้ไขปัญหาของประชาชนครอบคลุม ทั้ง 6 จังหวัด และ กรุงเทพมหานคร   

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ส่วน กทม.ได้เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง เนื่องจากฝนตกและน้ำเหนือไหลหลากในพื้นที่ กทม. และพื้นที่รอยต่อจังหวัดปริมณฑล โดยเตรียมความพร้อมของระบบระบายน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เตรียมความพร้อมของสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ 1,087 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

เตรียมความพร้อมของอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ขีดความสามารถในการระบายน้ำท่วมขัง 195 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที, ตรวจสอบความแข็งแรงของแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ พร้อมจัดเตรียมหน่วยบริการเร่งด่วน หรือหน่วย BEST เและเจ้าหน้าที่ประจําหน่วย 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ​​กรุงเทพมหานครได้ประสานงานแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงน้ำท่วมบนถนนสายหลักคลี่คลายไปแล้วหลายจุด ยังคงเหลือปัญหาที่ต้องดำเนินการร่วมกันจำนวน 4 จุด ประกอบด้วย

จุดที่ 1 ด้านทิศเหนือเขตติดต่อจังหวัดปทุมธานี ณ ถนนพหลโยธิน บริเวณอนุสรณ์สถานและแยกลำลูกกา โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่าง กทม. จ.ปทุมธานี และกรมทางหลวง

จุดที่ 2 ด้านทิศเหนือเขตติดต่อจังหวัดนนทบุรี แผนพัฒนาคลองส่วย บูรณาการความร่วมมือระหว่าง กทม. และจ.นนทบุรี

จุดที่ 3 ด้านทิศตะวันตกเขตติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร ณ ถนนพระรามที่ 2 การเชื่อมต่อท่อถนนสายรองกับถนนสายหลัก เนื่องจากปัจจุบันท่อระบายน้ำถนนสายรองไม่เชื่อมต่อถนนพระรามที่ 2 ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ บูรณาการความร่วมมือระหว่าง กทม. และ กรมทางหลวง

จุดที่ 4 ด้านทิศใต้เขตติดต่อจังหวัดสมุทรปราการ แผนการระบายน้ำถนนสุขุมวิท บริเวณปากซอยลาซาลปากซอยแบริ่ง บูรณาการความร่วมมือระหว่าง กทม. และ จ.สมุทรปราการ

related