svasdssvasds

นศ.วิจิตรบุกหอศิลป์ หลังคณะไม่อนุญาตให้แสดงชิ้นงานที่สื่อถึงการเมือง

นศ.วิจิตรบุกหอศิลป์ หลังคณะไม่อนุญาตให้แสดงชิ้นงานที่สื่อถึงการเมือง

บุกหอศิลป์! นักศึกษาปี 4 รวมตัวกันงัดประตูบุกหอศิลป์มช. เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปหอศิลป์ประจำมหาวิทยาลัยเพื่อแสดงงานตัวจบได้ เพราะทางคณะไม่เห็นด้วยในชิ้นงานของนศ.ที่มีนัยยะทางการเมือง ทำให้เกิดความไม่พอใจถึงความเป็นเสรีทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“หากไร้ซึ่งเสรี จะมีศิลปะไว้ทำไม”

สรุปกรณีนศ.คณะวิจิตรบุกหอศิลป์มช. หลังคณะไม่อนุญาตให้จัดแสดงตัวจบที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม เวลาบ่ายโมง ได้มีการรวมตัวของนักศึกษาเกือบ 100 คน สาขา Media Art Design คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยังหอศิลปะวัฒนธรรม มช. แต่ประตูได้ถูกล็อกเอาไว้ จึงมีการตัดโซ่เพื่อเข้าไปยังพื้นที่จัดแสดง ตามตารางงานที่เตรียมไว้ สร้างความขุ่นเขืองใจแก่นักศึกษาว่ามหาวิทยาลัยไม่เปิดกว้างต่อชิ้นงานของนักศึกษาหรือไม่ ซึ่งหลังจากบุกยึดแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถใช้งานได้ไม่เต็มที่เนื่องจากถูกตัดน้ำ-ตัดไฟ ทั้งนี้ทางนศ.จะหาทางแก้ไขกันต่อไปและยืนยันที่จะจัดแสดงต่อ

ก่อนหน้านี้เคยมีกรณีดังเกิดขึ้น เมื่อปีที่ผ่านมา ที่คณะวิจิตรศิลป์และคณาจารย์ได้เข้าไปเก็บผลงานนักศึกษาโดยอ้างว่ามีนัยยะสื่อถึงการเมือง จึงนำผลงานนักศึกษาเก็บใส่ถุงทิ้ง ทำให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มนักศึกษาดังกล่าว  แล้วมีการร้องเรียงจนเป็นเรื่องเป็นราวกันมาแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มาในวันนี้เกิดกรณีในกลุ่มนักศึกษาชุดเดิม โดยกำหนดการเดิม ในวันที่ 18 ตุลาคมนี้จะต้องเข้าไปทำตัวจบ (Thesis) ที่หอศิลป์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่นักศึกษาบางส่วนถูกห้ามเข้าพื้นที่เนื่องจากเหตุผลเดิมคือ ผลงานมีความเกี่ยวข้องกับการเมือง

วันที่ 14 ตุลาคม 2564 มีกำหนดการชวนนัดรวมตัวกันที่ตึกหน้า (ตึกทำการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนกลุ่มผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากหอศิลป์ฯขอรายละเอียดชิ้นงาน เพื่อต้องการเซนเซอร์งาน ถ้าชิ้นงานนั้นเกี่ยวข้องกับการเมือง มีการอ้างถึงระเบียบการขอใช้พื้นที่ที่ออกโดยมช. เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งทำให้การจัดกิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษายากขึ้น

ข้อความเชิญชวนให้ไปรวมตัวกันยื่นเรื่องถึงผู้บริหาร ข้อความชี้แจงจุดเริ่มต้นก่อไปรวมตัวกัน

ทางนักศึกษาเองก็เรียกร้องถึงความย้อนแย้งของทางคณะและทางมหาวิทยาลัยฯว่า ไม่สมกับเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพ รวมไปถึงนศ.มองว่าผู้บริหารกำลังลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ ทางวิชาการหรือไม่ เพราะผลงานเหล่านี้อยู่ในหลักสูตรวิชาเรียน

หลังการยื่นหนังสือ ทางมหาวิทยาลัยก็ได้ชี้แจงออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ใจความว่า “ผลงานบางส่วนยังมีรายละเอียดไม่ครบถ้วน เช่น ขาดภาพผลงาน ขาดรายละเอียดวิธีการติดตั้ง และต้องผ่านความเห็นชอบจากคณาจารย์ทุกคนแล้ว” ซึ่งนักศึกษาเองก็ได้โต้กลับไปว่า ผลงานทุกชิ้นผ่านกระบวนการศึกษาและค้นคว้าตามหลักวิชาการ รวมถึงผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ผู้สอนทุกคนแล้ว และไม่ได้ขัดกฎระเบียบใดๆของทางมหาวิทยาลัยฯ จึงขอให้พิจารณาอนุญาตให้จัดแสดงผลงานในวันที่ 18 ต.ค.นี้ด้วย

เอกสารลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยผู้บริหาร

แต่หลังจากนั้นทางมหาวิทยาลัยก็ไม่มีท่าทีตอบกลับ จึงทำให้วันที่ 15 ตุลาคม นศ.สาขา Media Art and Design มช.เดินทางเข้าแจ้งความ ณ สน.ภูพิงค์ เพื่อลงบันทึกประจำวัน และนัดหมายเพื่อนๆเดินทางเข้าพื้นที่หอศิลป์ฯตามตารางงานที่วางเอาไว้ในวันพรุ่งนี้ (16 ต.ค.)

วันที่ 16 ต.ค. ขบวนนักศึกษาเกือบ 100 ชีวิตและอาจารย์ นำโดย อาจารย์ทัศนัย เศรษฐเสรี, ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ อ.ประจำสาขาวิชา Media Art and Design อ.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์, รศ.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์, รศ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์, ชัชวาล บุญปัน อดีตอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์, นิธิ เอียวศรีวงศ์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ ฯลฯ ที่ร่วมต่อสู้ไปกับนักศึกษาด้วย ได้เดินทางไปยังหอศิลป์ตามช่วงเวลานัดหมายดังกล่าว พอเดินทางมาถึงกลับพบว่าประตูถูกโซ่คล้องเอาไว้ จึงพยายามงัดเข้าไปเพื่อยึดพื้นที่จัดแสดง หลังยึดได้สำเร็จก็ตั้งเป้าลงหลักปักฐานในการดำเนินกิจกรรมตามตารางเดิมต่อไป

ทางด้านอาคารมีเดีย (อาคารทำงานของนักศึกษา) ก็พบว่าอาคารโดนตัดน้ำตัดไฟ ทำให้นักศึกษาไม่สามารถเตรียมทำงานตัวจบได้ จึงต้องหาเครื่องปั่นไฟมาทำงานกันไปชั่วคราว พร้อมกันนั้นเจ้าหน้าที่ได้มาชี้จงเรื่องการตัดน้ำ-ตัดไฟว่า ไม่สามารถต่อคืนให้ได้ เนื่องจากเป็นตำสั่งของคณบดีคณะวิจิตรศิลป์

อ.ทัศนัย กับนศ.กำลังตัดโซ่คล้องที่ปิดประตูทางเข้าหอศิลป์ไว้ ภาพหลังการบุกยึด

สุดท้ายนี้ ได้มีการตั้งคำถามในหลายแง่มุมถึงการกระทำทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับทางคณะวิจิตรศิลป์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าเป็นการลิดรอนสิทธิของนักศึกษา และไม่เปิดกว้างด้านแนวคิดอิสรภาพของงานศิลปะ รวมไปถึงมช.เป็นมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการปฏิญาณระดับนานาชาติ  SDGs Sustainable Development Goals ของ UN ซึ่งจะต้องรักษาความเป็นธรรม ความยุติธรรม และสันติภาพ แม้ว่านานาชาติจะมีโมเดลต่างๆด้านศิลปะไว้มากมาย ถึงความเสรีทางความคิดสร้างสรรค์ และศิลปะกับการเมือง เป็นสิ่งที่ประเทศประชาธิปไตยพึงมี

ที่มาข้อมูล ประชาไท และประชาคมมอชอ

related