svasdssvasds

ราชบุรีค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ชมพูราชสิริน

ราชบุรีค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ชมพูราชสิริน

ชมพูราชสิริน ไม้ล้มลุกชนิดใหม่ของไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin เล่มที่ 49 อย่างเป็นทางการแล้ว

เมื่อเดือนสิงหาคม-กันยายนปี 2020 นักพฤษศาตร์กรมอุทยานแห่งชาติฯและนักวิจัยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล พบพืชไม่ทราบชนิด ขณะออกสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพืชบริเวณอุทยานวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

ภายหลังได้ทราบและยืนยันแล้วว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก จึงได้รับนามว่า “ชมพูราชสิริน” และได้ตีพิมพ์ลงในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 49 (2) โดยมีชื่อพฤกษศาสตร์ที่ขอพระราชทานนามว่า Begonia sirindhorniana Phutthai, Thanant., Srisom & Suddee คำระบุชนิด “siridhorniana” ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ลักษณะของพืชเป็นลักษณะไม้ล้มลุก มักอิงอาศัยขึ้นตามเปลือกไม้ต้นไม้ใหญ่ เป็นพืชตระกูลส้มกุ้ง (Begonia) วงศ์ส้มกุ้ง (Begoniaceae) เบื้องต้นคาดว่า ชมพูราชสิรินเป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย และอาจจะกระจายใกล้เคียงกับบริเวณที่พบเจอและชายแดนฝั่งเมียนมาร์ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าฝั่งเมียนมาร์มีพืชพันธุ์นี้อยู่หรือไม่ นอกจากนี้ แหล่งที่พบไม่ได้อยู่ในพื้นที่คุ้มครอง อาจได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวทั้งปีได้ และอาจส่งผลต่อโอกาสรอดของสายพันธุ์

ชมพูราชสิริน เป็นไม้ล้มลุกที่ขึ้นตามเปลือกต้นไม้ของต้นไม้ขนาดใหญ่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดิมทีอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเมื่อปีพ.ศ.2538 เพื่อเป็นพื้นที่อนุรักษณ์ฟื้นฟูป่าไม้ สำรวจสภาพทางสังคมทางกายภาพและชีวภาพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ซึ่งปัจจุบันได้เปิดให้ประชาชนเข้าไปเที่ยวชมได้ในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ ศาสลาข้อมูลธรรมชาติวิทยา เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา ท่พักอำนวยความสะดวกแก่นักวิชาการและเยาวชนที่มาเข้าค่าย และร้านจำหน่ายของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์

เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติของเด็กๆเยาวชนและคนทั่วไป

อุทยานจะอยู่บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 132,905 ไร่ เป็นป่าต้นน้ำภาชี เป็นพื้นที่ป่าเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มป่าตะวันตกกับผืนป่าแก่งกระจาน และเป็นพื้นที่สำคัญเชิงภูมิศาสตร์เพื่อการอนุรักษณืป่าไม้และสัตว์ป่า มีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย ประกอบไปด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งมีพันธุ์ไม้ใหญ่จำนวน 40 วงศ์ 109 สกุล 156 ชนิด ไม้พื้นล่างจำพวกไม้พุ่มไม้ล้มลุก จำนวน 55 วงศ์ 173 สกุล 218 ชนิด อีกทั้งจำนวนสัตว์ป่าที่พบมีทั้งสิ้น 457 ชนิด

หากใครพบเจออย่าไปเด็ดหรือแตะต้องเชียวหล่ะ เพราะเราไม่ทราบแน่ชัดว่ามันเป็นพืชที่มีการขยายตัวเร็วมากน้อยขนาดไหนและมีจำนวนเท่าไหร่ ตอนนี้ยังคงสถานะพืชหายากอยู่ เพื่อให้มันยังคงอยู่ แค่ถ่าบรูปก็พอนะ :)

ที่มาข้อมูล มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ Oceansmile

related