svasdssvasds

ก๊าซเรือนกระจกกำลังจะแตะสถิติสูงสุดแซงปี2020แล้ว

ก๊าซเรือนกระจกกำลังจะแตะสถิติสูงสุดแซงปี2020แล้ว

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกรายงานการสะสมของก๊าซความร้อนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ หรือการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนและมีเทน นอกจากจะมีแหล่งกำเนิดมาจากมนุษย์เองแล้ว ธรรมชาติเองก็เป็นตัวปล่อยก๊าซเหล่านี้ได้เช่นกัน หลังจากค่าเฉลี่ยมากขึ้นกว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกรายงาน การสะสมของก๊าซความร้อนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศมีเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี 2020 แม้จะมีการระบาดของโควิด 19 ครั้งใหญ่ พบปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทนและไนตรัสออกไซด์เพิ่มขึ้นเกินค่าเฉลี่ยรายปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorogical Organization หรือ WMO) กล่าวว่า เหตุการณ์นี้จะผลักดันให้อุณหภูมิสูงเกินเป้าที่ตั้งไว้ในข้อตกลงปารีส

ข่าวดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันของสหราชอาณาจักรเพิ่งกล่าวว่า “ทำแล้วต้องไปต่อ” เตรียมพร้อมในการประชุมแก้ไขสภาพภูมิอากาศโลก COP26 ที่กำลังจะมีขึ้นในไม่ช้านี้ ซึ่งบอริสกัลวลอย่างมากว่า การประชุมจะเกิดข้อผิดพลาดและไม่ได้รับข้อตกลงที่สามารถทำได้จากนานาประเทศ

ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซลงประมาณ 5.6%  ประมาณครึ่งหนึ่งของการปล่อยมลพิษจากกิจกรรมของมนุษย์นั้นมาจากต้นไม้ ผืนดินและมหาสมุทร แต่ความสามารถในการดูดซับของสิ่งเหล่านี้อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิและปัจจัยอื่นๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อีกประเด็นหนึ่งคือในรอบทศวรรษที่ผ่านมา มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าปริมาณคาร์บอนจะลดลงในปีที่แล้ว แต่ปริมาณที่ยังปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศก็ยังมากกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2011-2020

จากรายงานก๊าซเรือนกระจกประจำปีของ WMO ระบุว่าก๊าซคาร์บอนแตะยอดสูงถึง 413.2 ส่วนต่อหนึ่งล้านในชั้นบรรยากาศปี 2020 และปัจจุบันอยู่ที่ 149% ของระดับก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งนี่เป็นข่าวร้ายในการควบคุมอุณหภูมิโลก

ศาสตราจารย์ Petteri เลขาธิการ WMO กล่าวว่า “อัตราการเพิ่มขึ้นของความเข้มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน เราจะได้เห้นอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนภายในสิ้นศตวรรษนี้ ซึ่งจะมากกว่าเป้าหมายในข้อตกลงปารีส ตอนนี้เรากำลังออกนอกเส้นทางกันอยู่”

หากปล่อยไว้แบบนี้ต่อไปเรื่อย น้ำท่วมกรุงเทพฯก็อีกไม่ไกลนะเออ

“สิ่งเหล่านี้มันเป็นมากกว่าสูตรเคมีและตัวเลขบนกราฟ มันส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตประจำวันและความเป็นอยู่ของมนุษย์เรา และก็อนาคตของลูกหลานของเราด้วย” ศจ.กล่าวเสริม

ครั้งสุดท้ายที่โลกมีความเข้มข้นของคาร์บอนเทียบเท่ากันคือเมื่อประมาณ 3-5 ล้านปีก่อน เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอุ่นขึ้น 2-3องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลจะสูงกว่าที่เป็นอยู่ 10-20เมตรในปัจจุบัน

อีกความกังวลชิ้นใหญ่ประการหนึ่งคืออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ก๊าซร้อนจากแหล่งธรรมชาติร้อนมากขึ้น และสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กังวลคือมีเทน แม้ว่ามีเทนจะมีอายุขัยน้อยกว่าคาร์บอน แต่มีเทนมีฤทธ์เป็นสารเคมีที่ร้อนกว่ามาก

ประมาณ 60% ของมีเทนที่ไปสิ้นสุดที่ชั้นบรรยากาศมีแหล่งกำเนิดมาจากมนุษย์ เช่น การเกษตร เชื้อเพลิงฟอสซิล หลุมฝังกลบ และการเผาไหม้ชีวมวล อีก 40% มาจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในแหล่งธรรมชาติ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ การเพิ่มขึ้นของก๊าซปีที่แล้วเป็นการเพิ่มขึ้นที่มากที่สุดนับตั้งแต่ระดับมีเทนเริ่มเพิ่มจำนวนทั่วโลกอีกครั้งในปี 2007

“การเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ชุ่มน้ำ และถ้าเพิ่มอุณหภูมิ แบคทีเรียก็จะผลิตก๊าซมีเทนมากขึ้น” Dr.Oksana Tarasova จาก WMO กล่าว

อุณหภูมิโลกคาดว่าจะสูงขึ้นอีก1-2องศา แม้จะดูเป็นปริมาณที่เล็ก แต่มันไม่เหมือนการปรับอุณหภูมิของแอร์ในห้องนะ มันมีผลกระทบที่ใหญ่หลวงกว่านั้น

นักวิทยาศาสตร์อธิบายวงจรอุบาทว์เหล่านี้ว่าเป็นวงจรป้อนกลับ เขาค้นพบวงจรนี้จากรายงานเมื่อต้นปีในอเมซอนว่าบางส่วนของป่าฝนกำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่ากำลังการดูดซับ ต้นไม้มีอัตรการตายเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่รับคาร์บอนไม่ไหวแต่ก็มีบางส่วนที่ปล่อยมลพิษเองด้วย นอกจากนี้ WMO ยังกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของไนตรัสออกไซด์ที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การใช้ปุ๋ยไนโตรเจน แต่ก็ยังมีบางส่วนที่มาจากธรรมชาติด้วย

เหลืออีกไม่กี่วันแล้วที่การประชุมสุดยอดผู้นำ COP26 ที่จะนำผู้นำทั่วโลกมาร่วมกันหารือหาทางออกให้กับโลกใบนี้ ภัยพิบัติใกล้คืบคลานเข้ามาทุกที ขึ้นอยู่กับพวกเราแล้วว่าจะหยุดมันได้ทันเวลาหรือไม่

ที่มาข้อมูล BBC 

related