svasdssvasds

ราชทัณฑ์ ย้าย 196 นักโทษคดีข่มขืน-ฆาตกรต่อเนื่อง ไปแดนซูเปอร์แมกซ์

ราชทัณฑ์ ย้าย 196 นักโทษคดีข่มขืน-ฆาตกรต่อเนื่อง ไปแดนซูเปอร์แมกซ์

กรมราชทัณฑ์ เปิดเผยวิธีการเฝ้าระวังผู้ต้องขัง คดีสะเทือนขวัญ ที่เป็นภัยต่อสังคม ด้วยการแยกคุมขังพร้อมบำบัดด้วยนิติจิตเวชศาสตร์โดยเฉพาะ ด้วยโปรแกรมเฉพาะทาง เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและฟื้นฟูสุขภาพจิต ป้องกันพฤติกรรมไม่ให้หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ

การก่อเหตุรุนแรงในสังคมไทย จนกลายเป็นคดีสะเทือนขวัญในประเทศไทย นับเป็นเรื่องที่เกิดในสังคมปัจจุบันอยู่เป็นระยะ บางครั้งการเข้ารับความผิดในฐานะนักโทษ อาจก่อให้เกิดการก่อเหตุซ้ำได้ในอนาคต

นักโทษส่วนใหญ่ที่ก่อเหตุคดีสะเทือนขว๊ญ จะได้รับการพิจารณากคัดกรองว่าเข้าข่ายการเป็น นักโทษเด็ดขาด ที่ต้องเฝ้าระวังการก่อเหตุอันเป็นภัยต่อสังคม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตามนโนบายของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติโรรม ได้มีการพิจารณาเพื่อจำแนกผู้ต้องขังที่มีพฤติการณ์กระทำผิดรุนแรง, โหดร้ายทารุณ หรือผู้ที่มีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะกระทำผิดซ้ำ ออกจากผู้ที่กระทำโดยพลั้งพลาด เพื่อให้เกิดการดูแลที่ถูกต้อง รวมไปถึงการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ

ทำให้ปัจจุบันเกิดการแยกขังนักโทษทั้งหมด 196 ราย ตามลักษณะความผิด 7 กลุ่ม เช่น ฆ่าเด็กหรือข่มขืนเด็ก, ฆ่าข่มขืน, ฆาตกรต่อเนื่อง, ฆาตกรโรคจิต เป็นต้น ส่งไปยังแดนขังซูเปอร์แมกซ์ (Supermax) ที่เป็นการแยกขังที่มีความมั่นคงสูงสุด ไปจนถึงการแก้ไขบำบัด พร้อมกับฟื้นฟูนิสัย ด้วยโปรแกรมเฉพาะทางซึ่งได้รับความร่วมมือจาก สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์  รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพจิตเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

การพิจารณาเพื่อคัดแยกนักโทษ มีทั้งจากพฤติการณ์แห่งคดี, สาเหตุแห่งการกระทำความผิด, ประวัติการกระทำความผิด, ภาวะแห่งจิต, พฤติการณ์ขณะต้องโทษ และแบบประเมินด้านการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ทั้งหมดล้วนถูกนำมาประกอบการพิจารณา

การจำแนกเฝ้าระวังนี้ เป็นหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยต่อประชาชนกลุ่มดังกล่าว เพราะจะได้รับทั้งการควบคุม, แก้ไขและบำบัดอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ รวมทั้งเป็นการปรับพฤติกรรมของผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี ไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ และเกิดคุณประโยชน์ต่อสังคมส่วนใหญ่

related