svasdssvasds

สรุปให้ ดราม่า ปั๋น Riety จ้างออกแบบโลโก้ สุดท้ายเอาไปทำคอนเทนต์วิจารณ์ยับ

สรุปให้ ดราม่า ปั๋น Riety จ้างออกแบบโลโก้ สุดท้ายเอาไปทำคอนเทนต์วิจารณ์ยับ

สรุปให้ม้วนเดียวจบ ดราม่ายับในวงการกราฟิกดีไซเนอร์ หลัง ปั๋น Riety จ้างออกแบบโลโก้ตามสไตล์แต่ละคน สุดท้ายเอาไปทำคอนเทนต์วิจารณ์ ชาวเน็ตตั้งคำถามนี่จ้างกราฟิกดีไซเนอร์ทำงาน หรือบรีฟเป็นหนูทดลอง?

กลายเป็นประเด็นร้อนอย่างต่อเนื่อง สำหรับเมื่อช่วงกลางดีกที่ผ่านมา ที่ส่งผลให้แฮชแท็ก #Riety ขึ้นอันดับหนึ่งใน Twitter อย่างทันทีจนเวลาล่วงเลยมาถึงช่วงเช้าของวันนี้กับกรณีของยูทูบเบอร์สาว ปั๋น ดริสา การพจน์ หรือ ปั๋น Riety ได้ทำคอนเทนต์ลงช่องของตนเอง แต่เนื้อหากับสร้างความไม่พอใจในสังคมวงกว้าง

โดยเรื่องนี้เกิดจากที่ ปั๋น Riety ได้อัปโหลดคลิปวิดีโอลงในช่องยูทูบ โดยใช้ชื่อคลิปว่า "จ้างทำโลโก้ราคา 20 / 2,000 / 20,000 บาท ปรากฏว่า.." ซึ่งเนื้อหาในคลิปเล่าถึงการจ้างกราฟิกดีไซเนอร์ ให้ออกแบบโลโก้ Riety โดยมีการกำหนดราคาจ้างต่างกันออกไป เพื่อต้องการวัดว่าจะได้ผลงานต่างกันหรือไม่ โดยเจ้าตัวได้ว่าจ้างกราฟิกดีไซเนอร์ ออกแบบโลโก้เพจของเธอในราคา 20 บาท 200 บาท 2,000 บาท และ 20,000 บาท

ดราม่า #Riety

ดราม่า #Riety

ดราม่า #Riety

ดราม่า #Riety

ดราม่า #Riety

 

ในคลิปดังกล่าว ปั๋น Riety ได้แสดงความคิดเห็นของตนเองลงไปด้วยคำพูดที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา พร้อมทั้งเปรียบเทียบและให้คะแนนงานแต่ละชิ้นด้วย อีกทั้งยังได้มีการบอกว่างานบางชิ้นไม่สวย

ซึ่งจากกรณีดังกล่าวจึงเกิดคำถามจากผู้ชมบางส่วนว่า การจ้างออกแบบงานโดยบรีฟไม่ละเอียดแถมเอามาทำคอนเทนต์วิจารณ์ต่อแบบนี้ ถือเป็นการหลอกที่ค่อนข้างจะไม่มีมารยาทไปไหม การเอามาวิจารณ์โดยที่กราฟิกดีไซเนอร์ไม่ได้รับรู้ไม่เป็นการกระทำที่ไม่ยุติธรรมเกินไปหรือเปล่า

อีกทั้งความเห็นของชาวเน็ตต่างก็มองว่าการให้คะแนนโดยระบุว่า ชิ้นที่ราคาจ้าง 20 บาท ยังสวยกว่าราคา 20,000 บาท ดูเป็นการตั้งใจด้อยค่าการทำงานจนเกินไป อาจทำให้คนที่ไม่ได้อยู่ในสายอาชีพนี้ไม่เข้าใจและเกิดข้อครหาก็เป็นได้

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

หลังจากที่คลิปและเสียงวิจารณ์จากชาวเน็ตได้เริ่มเป็นกระแส ก็ได้มีหนึ่งในกราฟิกดีไซเนอร์ที่เป็นเจ้าของงานในคลิป ได้ออกมาเล่าถึงมุมมองของตนเอง โดยได้ระบุว่าไม่มีการบรีฟงานใดๆ และไม่เคยได้รับการบอกกล่าว ว่าจะเอางาน "ที่ยังไม่เสร็จ" ต้องรอการปรับแก้ตามความต้องการของลูกค้า ไปวิจารณ์ในคลิปแบบที่ปรากฎ

เจ้าของงานคนดังกล่าวยังได้บอกอีกว่าตลอดการบรีฟได้พยายามถามแล้ว แต่ได้คำตอบมาในเชิงว่า "แล้วแต่เลยค่ะ คุณ...ทำอะไรกับมันก็ได้เลย" ด้วยเวลาที่สั้นจึงทำงานไป 2 แบบเผื่อเลือกส่งไป แต่รอแล้วรออีกก็ไม่ได้มีการฟีดแบคกลับมา รู้อีกทีก็ได้รับคำตอบว่างานของตนเองถูกลงแล้วในคลิปดังกล่าว ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกงง พร้อมกับมีคำถามเกิดขึ้นว่า การเปรียบเทียบแบบนี้มันถูกต้องแล้วหรอ ใช้หลักเกณฑ์ไหนมาตัดสินทั้งที่งานยังไม่ได้ไฟนอลเลย

โดยเจ้าของงานได้แบ่งเป็น 4 ข้อใหญ่ว่า 1.ไม่แจ้งว่าจะเอางานไปทำคอนเทนต์ต่อ ประหนึ่งตั้งใจหลอก 2.บรีฟคำว่าตามสไตล์พร้อมโจทย์หลวมๆ แปลว่าคุณต้องเข้าใจสไตล์งานของคนทำ 3.งานที่ยังไม่ไฟนอลเอามาโชว์แบบนี้มันไม่ได้ วัดเกณฑ์จากอะไร เพราะถ้าเรทราคา 20 กับ 20,000 ของ 20 ยังสวยกว่าอีก มันเป็นการชักจูงคนดูเกินไป และไม่สร้างสรรค์ต่อวงการกราฟิกดีไซเนอร์ 4.งานที่ยังไม่สมบูรณ์ไม่ควรพูดเอาออกมาเผยแพร่ และตัดสินโดยไม่มีหลักเกณฑ์แบบนี้ พร้อมทั้งทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า "สุดท้ายที่อยากจะบอกคือ เรารู้สึกแย่มากๆ ที่ถูกปฏิบัติเหมือนหนูทดลองของคุณ" อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่นี่

ดราม่า #Riety

ดราม่า #Riety

ก่อนที่ ปั๋น Riety จะออกมาเคลื่อนไหวถึงประเด็นดังกล่าวในคราวแรกด้วยข้อความว่า "ขอบคุณหลายๆคนที่เข้ามาดูคลิปนี้และตลอดเวลาที่ผ่านๆมา และต้องขอโทษที่ทำให้มีเรื่องข้องใจเกิดขึ้นนะคะ ปั๋นจะรีบดำเนินการและแถลงทุกอย่างให้เร็วที่สุดเพื่อให้เกิดผลกระทบกับทุกฝ่ายให้น้อยที่สุดค่ะ"

ซึ่งหลังจากแถลงการณ์ฉบับสั้นที่ออกมาในคราวแรกนั้น ทางด้าน ปั๋น Riety ก็ได้ออกมาพูดถึงกรณีที่เกิดขึ้นอีกครั้ง แบบข้อความแถลงฉบับเต็ม โดยให้เหตุผลว่า เรื่องที่เกิดขึ้นและทำให้หลายคนรู้สึกแย่ ไม่ใช่ความตั้งใจที่จะสื่อสารผ่านคอนเทนต์นี้ แต่อยากให้คนเข้าใจว่างานออกแบบมีค่ามีราคาวิชาชีพ และไม่ควรหวังให้ดีไซเนอร์ทำงานเกินราคา แต่ไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ดีจึงเป็นผลลัพธ์ในทางลบ

ที่สำคัญลืมนึกถึงจิตใจคนที่นำงานมาพูดถึงในคลิปนี้ สวมหมวกผู้ว่าจ้างที่วิจารณ์สินค้าจะเก็บไปปรับปรุงตัวเองไม่มีเจตนายกตนหรือข่มดีไซเนอร์ท่านอื่น

พร้อมทั้งได้ระบุว่าการทำงานเบื้องหลัง ทางทีมได้ส่งบรีฟชุดเดียวกัน และได้ร่างสัญญาจ้างขอซื้อผลงานต่อนักออกแบบ 5 คน โดยไม่มีระบุเรื่องแก้ไขงานหรือดราฟ เพียงแค่ส่งงานสมบูรณ์ 1 ชิ้น จบวันที่ 13 พ.ย และบริษัทจะนำไปใช้ต่อได้โดยไม่ติดเงื่อนไขใด แต่ความผิดพลาดหลักเกิดจากการติดต่อสื่อสารงาน ไม่ได้พูดคุยจบงานกับผู้ออกแบบก่อนนำไปลงคอนเทนต์อย่างเป็นทางการเนื่องจากยึดวันที่ในสัญญาเป็นหลัก จึงเกิดความเข้าใจผิดกัน ขอน้อมรับเหตุการณ์นี้ไปเป็นบทเรียนในการทำงานร่วมกับผู้อื่นครั้งต่อไปในอนาคต

ดราม่า #Riety

 

related