svasdssvasds

How to อาบน้ำหน้าหนาว ง่ายๆ สะอาด หอม และหนาวน้อย

How to อาบน้ำหน้าหนาว  ง่ายๆ สะอาด หอม และหนาวน้อย

สภาพอากาศช่วงนี้เรียกได้ว่าหลายภาคของประเทศไทยอุณหภูมิลดต่ำลงโดยเฉพาะไทยตอนบนถึงขั้นหนาวเลยก็ว่าได้ แล้วเราจะ อาบน้ำหน้าหนาว อย่างไรให้สบายตัว วันนี้ SPRiNG จะมาแนะนำ

เมื่อพูดถึงอากาศหนาวหลายคนคงนึกถึงช่วงเวลาอาบน้ำและยิ่งบ้านไหนไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่นและ น้ำแต่ละหยดที่สัมผัสผิวมันเย็นจนขนลุกจึงพาลไม่อยากอาบน้ำ แต่เมื่อสถานการณ์จำเป็นต้องอาบน้ำทั้งที่อากาศหนาวเย็นแบบนี้ควรทำอย่างไร วันนี้ SPRiNG จะมาแนะนำ How to อาบน้ำหน้าหนาว  ง่ายๆ

-ต้มน้ำร้อนผสมน้ำปกติ (กรณีที่บ้านไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น) คือ การต้มน้ำและนำไปผสมกับน้ำปกติ แต่ห้ามให้น้ำร้อนมากไปเพราะจะมีผลเสียต่อผิวได้ กรณีที่บ้านมีเครื่องทำน้ำอุ่นไม่ควรปรับอุณหภูมิน้ำให้ร้อนจนเกินไป หลังจากอาบน้ำอุ่นควรอาบน้ำเย็นปิดท้าย เพื่อปิดรูขุมขนและปรับสมดุลผิวหนัง

-หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในช่วงกลางคืน หากจำเป็นต้องอาบ รีบถูสบู่ รีบล้างให้เสร็จโดยเร็ว แล้วนำผ้าเช็ดตัวมาซับความชื้นจากร่างกาย หากอาบน้ำนานเกินไปจะทำให้ผิวแห้ว แตก ลอกได้

 -ราดน้ำที่มือ เท้า แขน และขาก่อน ควรราดน้ำไล่จากเท้าขึ้นไป อย่ารีบราดทั้งตัวเพื่อช่วยให้ร่างกายได้ปรับอุณหภูมิ เพื่อป้องกันความเสี่ยงเป็นหวัด

-หลังอาบน้ำอุ่น ควรทาครีมบำรุงผิวทันที เพื่อความชุ่มชื่นและป้องกันผิวแตก

How to อาบน้ำหน้าหนาว  ง่ายๆ สะอาด หอม และหนาวน้อย

ข้อดีและเสียอาบน้ำร้อน - น้ำเย็น

การอาบน้ำร้อน
ข้อดี
การอาบน้ำร้อนแต่พอดี ไอความร้อนที่มากับน้ำร้อนมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยลดอาการหวัดคัดจมูก ดังนั้นในช่วงที่อากาศเย็น น้ำไอน้ำจากน้ำอุ่นและน้ำร้อนจะช่วยบรรเทาอาการหวัดและคัดจมูก  

ข้อเสีย
อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องเบาหวาน ที่มาอาการของระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมซึ่งจะส่งผลให้ไม่รับสามารถรับรู้ถึงอุณหภูมิที่แท้จริงของน้ำจนทำให้เปิดน้ำร้อนเกินไปแต่ไม่รู้สึก ผิวจึงสามารถพอง แห้ง และ แตกได้

การอาบน้ำเย็น

ข้อดี
การอาบน้ำเย็นในอุณหภูมิที่พอดีจะทำให้ผิวสามารถกักเก็บน้ำและความชุ่มชื้นไว้ได้ทำให้ไม้แห้งหรือแตกง่าย แล้วยังทำให้หลอดเลือดส่วนกลางไหวเวียนดีขึ้นและสามารถอาการปวดกล้ามเนื้อได้

ข้อเสีย
การอาบน้ำเย็นจัด ๆ ไม่ว่าจะด้วยสภาพอากาศแบบไหนก็สามารถทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน และจะส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการหดตัวจนเกิดอาการช็อกได้ในบางราย ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอาจเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ผู้ที่เป็นโรคความดันอาจเกิดอาการความดันสูง 

ข้อมูลจาก : ผศ.ดร. สิทธา พงษ์พิบูลย์ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

related