svasdssvasds

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์พลิกโลก กับ เกร็ดชีวิต 7 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์พลิกโลก กับ เกร็ดชีวิต 7 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้

ชื่อของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชื่อดังกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถือเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เคยพลิกโฉมวงการ จากการคิดค้นสมการ E = mc2 และนั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และพัฒนา และเป็นต้นกำเนิดสิ่งต่างๆมากมาย

1. เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อมาก นับเป็นความบังเอิญอันแปลกประหลาดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์โลก ที่วันเกิดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ วันที่ 14 มีนาคมนั้น ตรงกับวันเสียชีวิตของ สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง โดยทั้ง 2 คนถือเป็น
นักฟิสิกส์อัจฉริยะ ที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก 
.
สำหรับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดวันที่ 14 มีนาคม 1879  ขณะที่ วันเสียชีวิตของสตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง คือวันที่ 14 มีนาคม 2018 
.
2. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นผู้พลิกโฉมวงการวิทยาศาสตร์โลก จาก   สมการที่โด่งดังที่สุดในโลกอย่าง E = mc2 ซึ่ง E คือพลังงาน, m คือมวล และ c คือความเร็วแสงในสุญญากาศ ซึ่งเป็นรากฐานระเบิดปรมาณูที่ใช้ใน
สงครามโลกครั้งที่ 2 
.
โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นเพียงคนคิดสมการพลิกโลก E = mc2 มันเป็นเพียงรากฐานของระเบิดปรมาณู แต่มันไม่ใช่สูตรการสร้างระเบิด... และเขาเองก็เสียใจไม่น้อย ที่ความฉลาดหลักแหลมของเขาเป็นการเปิดประตูสู่
การคร่าชีวิตคนนับหมื่นนับแสนโดยไม่ตั้งใจ
.
สำหรับ ประเด็นนี้ ที่เป็นข้อกล่าวหาต่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่เป็นรากฐานของระเบิดปรมาณู สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง นักฟิสิกส์ชื่อดังในโลกยุคใหม่ แก้ต่างให้ว่า การตำหนิ ไอน์สไตน์นั้นก็เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล เหมือนตำหนิเซอร์ไอแซค นิวตัน ว่า เป็นคนทำให้เครื่องบินตก เพราะ ค้นพบเรื่องแรงโน้มถ่วง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์พลิกโลก กับ เกร็ดชีวิต 7 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้

3. หลายๆคำคมในโลกออนไลน์ ที่มักจะกล่าวอ้างถึงว่า มาจากคำพูดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นั้น , ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำพูดที่ผิดเพี้ยน และหา การอ้างอิงเดิมไม่ได้ 
.
แต่อย่างไรก็ตาม คำพูดที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" วรรคทองประโยคนี้ เขาเป็นคนพูดจริงๆ โดย “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เป็นประโยคหนึ่งที่อยู่ในบทสัมภาษณ์ของไอน์สไตน์ ที่ชื่อ What Life Means to Einstein : An Interview by George Sylvester Viereck   ในวารสารรายสัปดาห์ฉบับหนึ่งของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ Saturday Evening Post ฉบับประจำวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ.1929
.
4. สิ่งที่คนจดจำ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ดีที่สุดก็คือสมการ E = mc2  แต่ความจริงแล้ว เขายังคิดเรื่องสำคัญๆ อีกมาก อาทิ  ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก , การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน,ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ,ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
.
 โดย สิ่งที่ไอน์สไตน์ค้นพบไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์เป็นรูปธรรม แต่มันคือความเข้าใจต่อจักรวาลอันเวิ้งว้างกว้างใหญ่ไพศาล และความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างอวกาศกับกาลเวลา 
.
ส่วน เรื่อง "สัมพัทธภาพ" ที่หลายคนตั้งคำถาม  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อธิบายแบบสั้น และง่ายที่สุด โดยบอกว่า “ก่อนหน้านี้ เชื่อกันว่าเวลาและอวกาศแยกขาดจากสสาร ทฤษฎีของผมบอกว่า เวลาและอวกาศนั้นแยกจากกัน
ไม่ได้”

5. ข้อความ "ชีวิตที่เรียบง่ายและเงียบสงบ จะนำความสุขมาให้ยิ่งกว่าการไล่ติดตามความสำเร็จ รวมทั้งความกังวลทั้งหลายที่มากับมันตลอดเวลาด้วย" ที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  เขียนลงกระดาษจดของโรงแรมอิมพีเรียลในกรุงโตเกียวเมื่อปี 1922 ถูกนำออกประมูลที่กรุงเยรูซาเลมของอิสราเอล และมีผู้ซื้อไปในราคาประมูลสูงสุดถึง 1.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 52 ล้านบาท) เมื่อปี 2017 
.
สำหรับ กระดาษจดโน้ตแผ่นนี้ เรียกกันสั้นๆง่ายๆว่า "ทฤษฎีแห่งความสุข" เขียนขึ้น ในช่วงหลังจากที่เขาได้รับทราบว่าจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ไม่นาน
.
6. ในปี 1921 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้รับรางวัล โนเบล สาขาฟิสิกส์ จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก Photoelectric effect ได้อย่างสมบูรณ์ 
.
แต่ความจริงแล้ว เรื่อง โฟโตอิเล็กทริก  photoelectric effect นั้น คนแรกที่พิสูจน์ถึงการมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ คือคนแรก ก็คือ ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ (Heinrich Rudolf Hertz) ตั้งแต่ปี 1887 (เฮิร์ตซ์ ได้รับการยกย่อง จนนำ
มาใช้เป็นชื่อ หน่วยวัดความถี่ Hz) ก่อนจะถูกพัฒนาจนสมบูรณ์โดยไอน์สไตน์ 
.
7.  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กับภาพแลบลิ้นในตำนาน - ภาพนี้ถูกถ่ายในวันเกิดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในวันครบรอบ 72 ปี ในวันที่ 14 มีนาคม 1951 ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในอีก 4 ปีต่อมา โดยภาพนี้ถูกถ่ายโดยช่างภาพ อาร์เธอร์ ซาสเซ่ (Arthur Sasse) โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ชอบรูปนี้ของตัวเองมาก จึงขอให้ทาง United Press ต้นสังกัดของอาร์เธอร์ ซาสเซ่ (Arthur Sasse) ส่งภาพก็อปปี้ มาให้เขาถึง 9 ใบ และเขาก็เขียนลายเซ็นลงไป
.
และ ภาพต้นฉบับภาพหนึ่ง ที่ถ่ายในวันนั้น ถูกออกนำมาประมูล เมื่อ 19 มิถุนายน 2009 และสามารถทำเงินได้ถึง  $74,324 หรือราวๆ 2.5 ล้านบาท
.
สำหรับ ชีวิตของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขาถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญวงการวิทยาศาสตร์โลก แต่อย่างไรก็ตาม การกล่าวถึงเขา การอ้างอิงถึงเขา มักจะมีเรื่องที่ทำให้ คนเข้าใจผิดจำนวนมาก อาทิ  สิ่งที่เข้าใจกันผิดก็คือ  ไอน์สไตน์ เรียนได้ต่ำกว่าเกณฑ์ในโรงเรียน  แต่ในเป็นความจริงแล้ว  ไอน์สไตน์ เรียนวิทยาศาสตร์ได้ยอดเยี่ยม เป็นต้น

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์พลิกโลก กับ เกร็ดชีวิต 7 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้

related