svasdssvasds

สถิติโลก! ทีมนักวิทยาศาสตร์สวิส คำนวณค่าพาย (Pi) ได้ทศนิยม 62.8 ล้านล้านหลัก

สถิติโลก! ทีมนักวิทยาศาสตร์สวิส คำนวณค่าพาย (Pi) ได้ทศนิยม 62.8 ล้านล้านหลัก

สถิติโลก! ทีมนักวิทยาศาสตร์สวิตเซอร์แลนด์ ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คำนวณค่าพาย (Pi) ได้ทศนิยม 62.8 ล้านล้านหลัก โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 108 วัน 9 ชั่วโมง ทุบสถิติเดิมที่เคยคำนวณไว้ได้ 50 ล้านล้านหลัก

คณิตศาสตร์และการคำนวณ อาจจะเป็นเรื่องยาก หรืออาจจะเป็นของแสลงของใครหลายคน แต่ในความจริงแล้ว คณิตศาสตร์มันแฝงเร้นอยู่ทุกอณูของธรรมชาติ และคณิตศาสตร์มีความงดงาม สวยงามอยู่ในตัวของมันเอง และอีกทั้งคณิตศาสตร์ช่วยไขความลับของโลก รวมถึงช่วยไขความลับของจักรวาลมาแล้วหลายต่อหลายเรื่อง 
.
หากย้อนเข็มนาฬิากากลับไปในวัยมัธยม...ทุกคนคงเคยผ่านกับการคำนวณ และคงได้เรียนรู้และรู้จักกับ ค่าพาย (Pi) π  หรือ 22/7  กันมาแล้ว ซึ่ง ค่าพาย เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดจากความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม  
.
ทุกวันนี้ โลกแห่งคณิตศาสตร์ นิยามว่า ค่าพาย (Pi) คือตัวเลขที่มีทศนิยมไม่รู้จบ  หรือ ทศนิยมไม่ซ้ำ (nonrepeating decimal) จากการเอา 22 ตั้ง หารตัว 7 และกำหนดคร่าวๆไว้ 3.14159 (หรือ 3.14)
.
แต่อย่างไรก็ตาม มีความพยายามค้นหา ตัวเลขทศนิยมของค่าพาย (Pi) อยู่เสมอๆ จากนักวิทยาศาสตร์อยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะยุคสมัยใดก็ตาม นับตั้งแต่ยุคโบราณ จนกระทั่งยุคที่โลกกำลังจะมี เมตาเวิร์ส Metaverse 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา คณะนักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์กรัวเบินเดนในสวิตเซอร์แลนด์ บอกว่า พวกเขาได้ใช้ "ซูเปอร์คคอมพิวเตอร์" คำนวณค่าพาย โดย ใช้เวลาไปทั้งสิ้น 108 วัน 9 ชั่วโมง  ซึ่ง ตัวทศนิยมที่ได้ออกมานั้น ถือได้ว่าเป็นตัวเลขที่ทุบสถิติโลก อยู่ที่ 62.8 ล้านล้านหลัก โดยทั้งนี้ มีการเปิดเผยว่า ตัวเลขทศนิยม 10 หลักหลังสุด คือ "7817924264" 
.
ตัวเลขทศนิยมค่าพาย 62.8 ล้านล้านหลัก ถือว่า ทำลายสถิติก่อนหน้านี้ ที่มาการคำนวณไว้เมื่อปี 2020 อยู่ที่ 50 ล้านล้านหลัก
.
“ความพยายามคำนวณครั้งนี้ถือว่าเร็วกว่า เกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับสถิติที่กูเกิ้ลใช้ระบบคลาวด์คำนวณค่าพายได้ในปี 2019 และ เร็วกว่าสถิติโลกเดิมในปี 2020 ถึง 3.5 เท่า” ทีมนักวิจัยเปิดเผย
.
ตราบเท่าที่มนุษย์ยังคงมีความฝัน มีความทะเยอทะยาน ค่าพาย π 22/7 คงจะมีการค้นหาตัวเลขทศนิยมต่อไปอย่างไม่จบสิ้น...เพราะความลับของจักรวาล มันช่างหอมหวานในการค้นหา 

ค่าพาย ยังเป็นปริศนาที่ยังไม่มีใครหาคำตอบได้

วันพาย : 14 มีนาคม 
.
ทราบกันหรือไม่ว่า วันพาย (Pi) คือ วันที่ 14 มีนาคม ซึ่งมีที่มาจากเลขประมาณของค่าพาย 3.14 ตามรูปการนับแบบ เดือน/วัน (เดือน 3 วันที่ 14)
.
 โดยผู้ก่อตั้งคือ แลร์รี ชอว์ นักฟิสิกส์จากสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นให้มีการเฉลิมฉลองวันพายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) และจากนั้นเรื่อยมา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) ทางสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้รับรองและสนับสนุนให้วันที่ 14 มีนาคม เป็นวันพายแห่งชาติ จากนั้นในปีต่อมา กูเกิ้ล ก็ได้ร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสวันนี้ด้วยการจัดทำภาพดูเดิล เปลี่ยนแปลงโลโก้กูเกิลให้เป็นรูปวงกลมและสัญลักษณ์ค่าพาย 
.
นอกจากนี้ วันพาย (Pi) หรือ วันที่ 14 มีนาคม ยังเป็นวันเกิดของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ นักฟิสิกส์คนสำคัญของโลกอีกด้วย 

ค่าพาย ดูแค่จำนวนทศนิยมคร่าวๆก็ปวดหัวแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ก็พยายามหาคำตอบกันต่อไป

related