svasdssvasds

ดร.อนันต์ เผยผลวิจัย โอไมครอน กระจายเชื้อในโพรงจมูกไวกว่าเดลตา จึงติดง่าย

ดร.อนันต์ เผยผลวิจัย โอไมครอน กระจายเชื้อในโพรงจมูกไวกว่าเดลตา จึงติดง่าย

ดร.อนันต์ เผยผลวิจัยจากอังกฤษ พบว่า โอไมครอน กระจายเชื้อในเซลล์โพรงจมูกดีกว่าเดลตา ส่งผลให้โอไมครอนติดง่ายกว่า หากเข้าไปในร่างกายสามารถติดได้ 100% ขณะที่เดลตาติดได้แค่ 20%

 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana  เกี่ยวกับการทดลองโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" โดยระบุ ว่า 

 ผลวิจัยล่าสุดของทีมวิจัยของ Imperial College ใน UK สอดคล้องกับผลวิจัยของ University of Hong Kong ที่ว่า โอไมครอนเป็นไวรัสที่ติดเข้าสู่เซลล์ของทางเดินหายใจส่วนบนได้ดีกว่าสายพันธุ์เดลตาที่เชื่อว่าติดเซลล์ได้ไวที่สุดเท่าที่มีข้อมูลมาก่อนการพบโอไมครอน งานของ HK ใช้เซลล์ของหลอดลม แต่งานของ UK ใช้เซลล์ในโพรงจมูก เรียกว่า human nasal epithelial cells (hNECs) ที่แยกออกมาจากตัวอย่างเนื้อเยื่อของมนุษย์โดยตรง (Primary cells) ซึ่งเชื่อว่าประกอบด้วยประชากรของเซลล์ที่หลากหลายในตัวอย่าง ไม่ใช่เซลล์ชนิดหนึ่งชนิดใดเหมือนเซลล์ที่ใช้ทำการทดลองให้ห้องแล็บทั่วไป (Cell line)

 ทีมวิจัยได้เปรียบเทียบการเพิ่มจำนวนของไวรัสโอไมครอน กับ เดลต้าใน hNECs ซึ่งภาพรวมเห็นว่าโอไมครอนเพิ่มจำนวนได้ไวกว่าหลายเท่าภายใน 24 ชั่วโมงหลังติดเชื้อ  ผลการทดลองอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อนำโอไมครอนกับเดลต้าแข่งกันติดเข้าสู่เซลล์ hNECs พร้อมๆกัน แล้ว วัดดูว่าใครเพิ่มจำนวนได้เร็ว หรือ ไวกว่ากัน เรียกว่า Competition assay ผลออกมาตามคาดคือ ภายใน 18-24 ชั่วโมง ไวรัสที่ตรวจได้ในการทดลองนี้คือ โอไมครอนแทบทั้งหมด แสดงว่า โอมิครอนวิ่งไวกว่าเดลตาในเซลล์ที่แยกมาจากโพรงจมูก แต่ทีมวิจัยพบว่า ปรากฏการณ์ที่เห็นโอไมครอนวิ่งนำเดลต้าขาดลอยในเซลล์ hNECs จะไม่พบในเซลล์ชนิดอื่น เช่น Vero-ACE2-TMPRSS2 ซึ่งเป็นเซลล์ไตลิงมาตรฐานที่ใช้เพาะเลี้ยงไวรัส 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• "ดร.อนันต์" เตือน! การตรวจ ATK ก่อนร่วมงานเคาท์ดาวน์ปีใหม่ ต้องไม่เกิน 12 ชม.

• จับตา! โอไมครอน ดร.อนันต์ คาดอีก 7-10 วัน ยอดเสียชีวิตอาจพุ่งถึงหลักร้อย

• ดร.อนันต์ แนะจับตา "โอไมครอน" แนวโน้มผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งหลังช่วงปีใหม่

 SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ ซึ่ง เดลต้ากับโอมิครอนวิ่งสูสีกัน และ เซลล์ Calu-3 ซึ่งเป็นเซลล์ที่แยกจากมะเร็งปอดของมนุษย์ เทียบได้กับเซลล์ปอดมนุษย์ ซึ่งเห็นชัดว่า โอไมครอนวิ่งสู้เดลต้าไม่ได้เลย ถึงแม้ว่าจะต่อให้โอไมครอนก่อนเป็น 4:1 (ภาพล่าง) โอมิครอนก็ตามเดลต้าในเซลล์นี้ไม่ทัน ซึ่งผลในเซลล์ Calu-3 นี้ก็เป็นไปทางเดียวกันกับผลของ HK เช่นเดียวกัน (ปล . เนื่องจาก Calu-3 cell  เป็น cell line จึงไม่เหมือน hNECs เพราะ Calu-3 มีประชากรเดี่ยวๆของเซลล์ปอด เราจึงยังสรุปไม่ได้ว่า เซลล์ชนิดอื่นในปอดจะติดโอมิครอนยากเหมือน Calu-3 หรือไม่)

ดร.อนันต์ เผยผลวิจัย โอไมครอน กระจายเชื้อในโพรงจมูกไวกว่าเดลตา จึงติดง่าย

 ทีมวิจัยได้ตั้งสมมติฐานว่า เนื่องจากเซลล์ในโพรงจมูกของเรามีประชากรของเซลล์ต่างๆที่หลากหลาย ไวรัส  อย่างเดลต้าจะเลือกติดเซลล์เฉพาะได้ในบางกลุ่ม โดยมีเซลล์บางชนิดในจมูกเป็นเจ้าบ้านของเดลต้าได้ไม่ค่อยดี ในทางตรงกันข้าม โอไมครอนจะสามารถติดเซลล์ในโพรงจมูกได้หลากหลายว่ามาก เมื่อมีบ้านให้สามารถให้ไวรัสไปเพิ่มจำนวนได้หลากหลายกว่า ไวรัสโอมิครอนจึงติดได้ง่ายและไว ลองนึกภาพตามง่ายๆครับว่า ถ้าเดลตากับโอไมครอนเข้าไปในร่างกายเท่าๆกัน อาจจะมีเซลล์แค่ 20% ในจมูกที่เดลต้าติดได้ แต่ มี 100% ที่โอไมครอนติดได้ ดังนั้น ไม่ต้องใช้โอมิครอนเยอะเลยครับ นิดเดียวก็จุดไฟติดแล้วครับ

related