svasdssvasds

เช็กเลย สิทธิ UCEP ป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีอาการอะไรบ้าง ติดโควิดต้องทำอย่างไร

เช็กเลย สิทธิ UCEP ป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีอาการอะไรบ้าง ติดโควิดต้องทำอย่างไร

เช็กเลย สิทธิ UCEP เจ็บป่วย ฉุกเฉินวิกฤต มีอาการอะไรบ้าง หากติดโควิดเเล้วต้องทำอย่างไร และขั้นตอนการใช้สิทธิมีอะไรบ้าง

จากกรณีที่ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)มีนโยบายจะปลดผู้ติดโควิด19 ออกจากการเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตรักษาฟรีทุกที่หรือ สิทธิ UCEP ทำให้มีการเข้าใจผิดว่า "ยกเลิกรักษาฟรีโควิด" ลายคนมีความกังวลว่า ถ้าติดโควิดจะทำอย่างไร

สิทธิ UCEP

ที่ผ่านมาตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ผู้ป่วยโรคโควิด19 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษาได้ในสถานพยาบาลทุกแห่ง สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรพ.ตามสิทธิที่ตัวเองมีอยู่ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

ทั้งนี้คนไทยทุกคนมีสิทธิประกันสุขภาพภาครัฐไม่สิทธิใดก็สิทธิหนึ่ง คือ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธินั้นๆ ฉะนั้น หากโควิด19 ถูกยกเลิกจากสิทธิUCEP จึงเป็นการยกเลิกกรณีที่ติดโควิด19 แล้วไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง ออกจากการเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่สามารถเข้ารับการรักษาได้ในรพ.ทุกแห่ง ไม่เฉพาะแต่รพ.ตามสิทธิที่มีอยู่เท่านั้น
แต่หากติดโควิด19 แล้วแพทย์วินิจฉัยให้เข้ารับการรักษาในรพ.ก็ยังสามารถได้รับการรักษาฟรีตามสิทธิประกันสุขภาพภาครัฐของแต่ละบุคคลเช่นเดิม เหมือนกับโรคอื่นๆหรือหากมีอาการเข้าตามนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตก็ยังสามารถเข้ารับการรักษาฟรีตามสิทธิUCEPได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

6 อาการที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต

นอกจาก อาการเฉพาะของโรคโควิด19ที่เข้าเกณฑ์วิกฤตฉุกเฉินแล้วยังมีอีก 6 อาการ ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.)กำหนดไว้เดิมอยู่แล้ว ได้แก่

1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ

2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง

3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น

4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง

5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด

6.อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย


ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP

1.ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

2.โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน

3.ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล

4.กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

5.กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง หมายเหตุ : Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต

related