svasdssvasds

ผู้ป่วย "โอไมครอน" ที่รักษาแบบ Home Isolation อาการแบบไหนต้องระวัง

ผู้ป่วย "โอไมครอน" ที่รักษาแบบ Home Isolation อาการแบบไหนต้องระวัง

เช็กเลย! อาการ "โอไมครอน" สำหรับผู้ป่วยที่รักษาตัวแบบ Home Isolation หากพบอาการแบบนี้ต้องระวัง รีบแจ้งแพทย์ด่วน ควรเฝ้าสังเกตวันที่ 4-7 หลังมีอาการ

 หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยกลับมาเฝ้าระวังกันอีกครั้ง โดยเฉพาะสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดวันนี้ (3 มี.ค. 65) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 23,618 ราย ติดเชื้อสะสม 2,958,162 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 49  ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 23,070 ราย และผลตรวจจาก ATK / เข้าข่ายติดเชื้อ 42,138 ราย ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขจได้ออกแนวทางให้ผู้ป่วยติดเชื้อ กลุ่มที่ไม่มีอาการ สามารถแยกกักตัวเองอยู่ที่บ้าน หรือ Home Isolation

 ทั้งนี้กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ป่วยโควิด-19 "โอไมครอน" ที่เข้าเกณฑ์การรักษาแบบกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)  ดังนี้

เกณฑ์การรักษาแบบกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)

• เป็นผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย

• มีสุขภาพแข็งแรง อาจมีโรคร่วมที่รักษา และสามารถควบคุมได้ตามดุลยพินิจของแพทย์

• อายุน้อยกว่า 75 ปี

• ยินยอมแยกกักตัวในที่พักของตนเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• กรมการแพทย์ เปิด 5 เกณฑ์ใหม่ส่งต่อผู้ป่วยโควิดเข้าโรงพยาบาล - Home Isolation

• ป่วยโควิด รักษาแบบ Home Isolation เบิกค่ารักษาได้ไหม?

• ส.ประกันชีวิต ปรับเกณฑ์เบิกค่ารักษาโควิด ไม่จ่ายชดเชย Home Isolation แล้ว

 อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนมากที่ติดเชื้อ "โอไมครอน" มักมีอาการไม่รุนแรง แต่ก็ควรเฝ้าระวังและสังเกตอาการ

ผู้ป่วยที่แยกรักษาตัว ต้องเฝ้าระวังอาการ

 ทั้งนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้เผยคำแนะนำ "อาการโอไมครอน" แบบไหนที่ต้องเฝ้าระวัง หากเกิดอาการเหล่านี้ ต้องรีบแจ้งโดยเร็ว 

• มีไข้

• ไอ

• เจ็บหน้าอก

• หายใจไม่เต็มอิ่ม

• หอบเหนื่อย

• อ่อนเพลีย

• กินไม่ได้

• ซึม

• ไม่รู้สึกตัว

• ค่าออกซิเจนปลายนิ้วต่ำกว่า 96 หรือมีค่าลดลง 3% ขึ้นไปเมื่อออกกำลัง

โดยทั่วไปผู้ป่วย "โอไมครอน" ให้สังเกตวันที่ 4-7 หลังมีอาการ เพราะมักจะเป็นระยะแรกเริ่มของอาการปอดอักเสบ

 สำหรับผู้ป่วย "โอไมครอน" สามารถเข้าสู่ ระบบ Home Isolation ซึ่งเป็นบริการที่ครอบคลุมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด19" หากตรวจ ATK แล้วพบว่าผลตรวจเป็นบวก สามารถประสานไปยังสายด่วน สปสช. ดังนี้ 

• โทร. สายด่วน สปสช. 1330 กด 14

• กรอกแบบฟอร์ม คลิกที่นี่

• ติดต่อทางไลน์ สปสช.โดยกดเพิ่มเพื่อน @nhso 

• เลือกเมนูบริการเกี่ยวกับโควิด-19

• เลือกลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation)

 โดยจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อประเมินอาการเบื้องต้นภายใน 6 ชั่วโมง (หากยังไม่ได้รับการติดต่อกลับภายใน 6 ชั่วโมง ขอให้โทร.แจ้งที่สายด่วน สปสช. 1330 อีกครั้ง ทางเจ้าหน้าที่จะติดตามให้)

ผู้ป่วยสามารถประสานไปยังสายด่วน สปสช.

 เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระบบแล้วโรงพยาบาลจะแจกเครื่องวัดไข้ วัดออกซิเจนในเลือด ยาฟ้าทะลายโจร ส่งอาหาร 3 มื้อ วิดีโอคอล หรือโทร.ติดต่อ เพื่อติดตามอาการ วันละ 2 ครั้ง  และส่งต่อโรงพยาบาลเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอเตียง พร้อมจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ 

แนวทางการปฏิบัติขณะอยู่ในระบบ "Home Isolation"

• สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาแม้ว่าจะอยู่ตนเดียว หรือหากไม่ได้อยู่คนเดียว

• ห้ามเข้าใกล้คนในครอบครัว และทุกคน ต้องเว้นระยะห่างทุกคน 2 เมตร

• ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

• ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจล ทุกครั้งที่ต้องสัมผัสกับของใช้ต่างๆ

• แยกห้องพัก แยกของใช้ส่วนตัวห้ามใช้ร่วมกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นมากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท

• แยกซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่นและแยกขยะ

• ห้ามออกจากที่พักโดยเด็ดขาด

แนวทางการปฏิบัติตัวขณะอยู่ในระบบ "Home Isolation"

ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth 

related