svasdssvasds

UN เตือนทั่วโลก แม้ยูเครนจะวิกฤต แต่ต้องไม่ลืมดำเนินการควบคุมอุณหภูมิโลก

UN เตือนทั่วโลก แม้ยูเครนจะวิกฤต แต่ต้องไม่ลืมดำเนินการควบคุมอุณหภูมิโลก

UN กังวล หากยุโรปแบนพลังงานฟอสซิลจากรัสเซีย อาจทำประเทศต่างๆหันมาใช้พลังงานถ่านหินมากขึ้น ส่งผลอุณหภูมิโลกสูงขึ้น พร้อมเตือนผู้นำ ว่าอย่าลืมดำเนินการควบคุมอุณหภูมิโลก

ขณะที่ Patricia Espinosa เตรียมที่จะก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าสภาพอากาศของสหประชาชาติ เธอมีคำเตือนที่อยากฝากถึงทั่วโลกว่า

“การรุกรานยูเครนของรัสเซียจะต้องไม่ทำให้ผู้นำเสียสมาธิจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น แม้ว่าสงครามจะก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานมากมาย ภาวะโลกร้อนยังคงเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดบนโลกใบนี้” เธอกล่าวกับรอยเตอร์

แพทริเซียกล่าวว่าเธอวางแผนที่จะก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการอนุสัญญา ภายใต้กรอบการทำงานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เมื่อวาระที่2-3ปีของเธอกำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคมนี้

Patricia Espinosa หัวหน้าสภาพอากาศของสหประชาชาติ Cr. Twitter Patricia Espinosa C. UNFCCC เป็นสนธิสัญญาระหว่าง 196 ประเทศที่จัดการเจรจาระดับโลกเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“นี่เป็นวาระที่ไม่สามารถเลื่อนได้” แพทริเซียกล่าว พร้อมเสริมว่าเธอกังวลด้านความมั่นคงด้านพลังงานที่เกิดจากสงคราม รัสเซียเป็นผู้จัดหาเชื้อเพลิงฟอสซิลรายใหญ่ของโลก อาจเป็นตัวเร่งให้ประเทศต่างๆไปสู่พลังงานสะอาด

สหภาพยุโรปจะเผยแพร่แผนในวันนี้เพื่อเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของรัสเซียด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เยอรมนี-แหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป ยังคงได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานหมุนเวียน ยุโรปได้รับก๊าซ 40% จากรัสเซีย

“มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากในวิธีการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงพลังงาน”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มอสโกกล่าวว่าการดำเนินการในยูเครนเป็นการ 'ปฏิบัติพิเศษ' เพื่อปลดอาวุธเพื่อนบ้านและจับกุมผู้นำที่เรียกว่า ‘นีโอนาซี’ ยูเครนและพันธมิตรตะวันตกกล่าวว่านี่เป็นข้ออ้างสำหรับการบุกรุกเพื่อยึดครองประเทศที่มีประชากร 44 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของประเทศต่างๆ เพื่อหลีกหนีการพึ่งพาพลังงานของรัสเซียอาจกระตุ้นให้มีการใช้ถ่านหินในประเทศมากขึ้น นับตั้งแต่การรุกราน เยอรมนียังได้ประกาศแผนการสร้างท่าเรือเพื่อรับก๊าซจากประเทศอื่นๆ

แต่นักวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศสะท้อนความหวังของแพทริเซียว่า วิกฤตการณ์ทางการเมืองจะเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับการดำเนินการด้านสภาพอากาศทั่วโลก

ถึงคราวเปลี่ยนยาม

เมื่อแพริเซียเข้ารับตำแหน่งในปี 2016 การดำเนินการด้านสภาพอากาศโลกอยู่ในจุดสูงสุด หลายเดือนก่อนหน้าแล้ว การเจรจาเรื่องสภาพอากาศของสหประชาชาติทำให้เกิดข้อตกลงปารีส โดยให้คำมั่นว่าประเทศต่างๆจะช่วยกันจำกัดภาวะโลกร้อนด้วยการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส ไม่ให้เหนือกว่าอุณหภูมิในยุคอุตสาหกรรม และตั้งเป้าว่าจะช่วยกันคงอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

ทว่าการปล่อย CO2 ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เงินทุนที่ได้รับตามสัญญาจากประเทศร่ำรวยเพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนต่อสู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังไม่มาถึง และอุณหภูมิโลกได้แตะ 1.1 องศาเซลเซียสแล้ว แสดงให้เห็นว่าสภาพอากาศที่เลวร้ายยังคงดำเนินต่อไปและเลวร้ายยิ่งขึ้น

ตั้งแต่คลื่นความร้อนและฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ไปจนถึงไฟป่าที่ร้ายแรง รายงานวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศของสหประชาชาติหรือ IPCC ฉบับที่ 2 ที่ถูกเผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเตือนถึงการทำลายล้างที่เพิ่มขึ้น หากประเทศต่างๆล้มเหลวในการลดการปล่อยมลพิษและเตรียมพร้อมสำหรับดาวเคราะห์ใบนี้ที่กำลังร้อนขึ้น

"พวกเรามาถูกทางแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน แน่นอนว่าฉันหวังว่าเราจะประสบความสำเร็จมากกว่านี้" แพทริเซียกล่าว

การประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ COP26 ในเดือนพฤศจิกายน บรรลุข้อตกลงที่ประเทศต่างๆจะยกระดับคำมั่นสัญญาในการลดการปล่อยมลพิษในปีนี้ เนื่องจากแผนปัจจุบันดูเหมือนไม่สามารถคงระดับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสไว้ได้

นอกจากนี้แพทริเซียยังกล่าวว่า ในเดือนสุดท้ายของการทำงานของเธอ เธอจะพยายามกระตุ้นคำมั่นสัญญาที่เยอทะยานมากขึ้นก่อนการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติครั้งต่อไป หรือ COP27 ในอียิปต์จะถูดจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนจะเริ่มขึ้น

นอกจากนี้ เธอยังจะผลักดันการเจรจาที่โต้เถียงกันเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับ “ความสูญเสียและความเสียหาย” ที่เกิดจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในประเทศที่ยากจน จนถึงขณะนี้ ข้อเรียกร้องของประเทศที่อ่อนแอในการจัดหาเงินทุนเพื่อชดเชยภัยพิบัติได้ถูกต่อต้านโดยประเทศที่ร่ำรวยในการเจรจาของสหประชาชาติ

จากการประชุม cop26 มีการให้คำมั่นว่าประเทศร่ำรวยต้องช่วยเหลือเงินทุนแก่ประเทศยากจนในการป้องกันและปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แพริเซียกล่าวว่า เธอไม่มีแผนเฉพาะเจาะจงสำหรับเรื่องที่จะเกิดขึ้นหลังเธอลาออก แต่หวังว่าจะมีส่วนสนับสนุนความยั่งยืนสิ่งแวดล้อมต่อไป องค์การสหประชาชาติยังไม่ได้เริ่มกระบวนการแต่งตั้งผู้สืบทอดที่จะมาดำรงตำแหน่งต่อจากเธอ

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจาก UNFCCC เผชิญคือ ความรวดเร็ว ซึ่งเป็นการทดสอบกระบวนการที่อาจต้องใช้เวลาหลายปีในการเจรจาข้อตกลงฉบับเดียวระหว่างประเทศเกือบ 200 ประเทศ

“สิ่งสำคัญมากที่สุดตคือการได้รับความรู้สึกเร่งด่วนในกระบวนการนี้ เราไม่มีเวลาสำหรับความคืบหน้าทีละน้อยอีกต่อไป” Patricia Espinosa หัวหน้าสภาพอากาศของสหประชาชาติ

สรุปจากผู้เขียน

เรื่องราวนี้มีเรื่องเด่นอยู่ 2 วาระ คือ

  1. แพริเซียเธอมีความกังวลเรื่องผลกระทบจากการแบนแหล่งพลังงานจากรัสเซีย ที่ก่อนหน้านี้เธอคาดว่า พลังงานฟอสซิลและพลังงานสะอาดจากรัสเซียจะสามารถช่วยให้ประเทศต่างๆหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการตั้งต้นแหล่งพลังงานได้ด้วยตนเอง แต่หากหลายประเทศในยุโรปแบนการส่งออกพลังงานของรัสเซีย ก็มีโอกาสที่ประเทศในยุโรปจะหันกลับไปใช้พลังงานถ่านหิน ซึ่งมีปัจจัยสำคัญในด้านพลังงานที่อาจทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น จนอาจทำให้สัญญาระหว่างประเทศไม่สำเร็จลุล่วง
  2. ในวาระการดำรงตำแหน่งของเธอ เธอมองเห็นถึงความเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น แม้ว่าบางเรื่องอาจจะถูกปรับให้ดีขึ้นแล้วจากการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศ แต่ในส่วนของข้อตกลงที่ว่าประเทศร่ำรวยกว่าจะต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเรื่องเงินลงทุนในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของประเทศยากจนนั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียง คำเรียกร้องของประเทศยากจนไม่เป็นผล ประเทศร่ำรวยหลายประเทศยังไม่ยอมรับ ทำให้เธอกังวลว่า ผู้สืบทอดคนต่อไปจะต้องเข้าใจและรับรู้ว่า ปัญหาและภาวะงานในระหว่างการดำรงตำแหน่งนั้น แข่งกกับเวลา รอช้าไม่ได้แล้ว

ที่มาข้อมูล

https://www.reuters.com/world/exclusive-un-climate-chief-ukraine-crisis-must-not-delay-global-action-2022-03-08/

related