svasdssvasds

มัมมี่เก่าแก่ที่สุดในโลกอายุ 8,000 ปี ถูกพบในโปรตุเกส

มัมมี่เก่าแก่ที่สุดในโลกอายุ 8,000 ปี ถูกพบในโปรตุเกส

พบมัมมี่เก่าแก่อายุ 8,000 ปีในโปรตุเกส ถือเป็นมัมมี่อายุมากที่สุดในโลกในขณะนี้ และเป็นครั้งแรกที่มัมมี่ถูกพบในทวีปยุโรป เรื่องราวของมัมมี่นี้เป็นอย่างไร ใครค้นพบ?

เมื่อปีที่แล้วพบมัมมี่เก่าแก่อายุ 7000 ปีในชิลี ซึ่งมากกว่ามัมมี่ที่พบในอียิปต์ ก็เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากพออยู่แล้วสำหรับวงการโบราณคดี มาในปีนี้ค้นพบมัมมี่ที่เก่ากว่านั้นอีก แถมไม่ได้อยู่ในแถบอาณาบริเวณดั้งเดิมที่เราๆเคยรู้เกี่ยวกับมัมมี่ เพราะครั้งพบเจอมัมมี่ในแถบยุโรป หรือก็คือประเทศโปรตุเกสนั่นเอง

คำว่า ‘มัมมี่’ เมื่อเรานึกถึงคำนี้ แน่นอนว่าเรานึกถึงมัมมี่ในอียิปต์ที่หลับไหลในพีรามิด แต่มัมมี่ คือหนึ่งในกระบวนการรักษาศพในคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดหลังจากโลกนี้ไป อียิปต์ถือว่าขึ้นชื่อในเรื่องของพิธีกรรมเหล่านี้มาก แต่การค้นพบมัมมี่ที่เก่าแก่มากที่สุดเริ่มผุดขึ้น แถมไม่ได้อยู่ในภูมิภาคของทะเลทรายอีกต่อไป มันก็ทำให้การศึกษาทางด้านโบราณคดีนั้นน่าสนใจมากขึ้น ในด้านของกระบวนการหรือความเป็นไปในอดีตและความเชื่อเรื่องโลกหลังความตาย

เกิดอะไรขึ้น?

เรื่องการค้นพบล่าสุดนี้ ที่จริงมีการค้นพบเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว นักโบราณคดีได้ค้นพบถ่ายภาพโครงกระดูกหลายชิ้นที่ฝังอยู่ในหลุมศพอายุ 8,000 ปี ทางตอนใต้ของโปรตุเกส การวิเคราะห์ภาพถ่ายที่เก่ามากๆ หลังฐานจากภาพบ่งบอกว่านี่อาจเป็นมัมมี่มนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในปี 1960 มีการขุดค้นและพบศพโบราณมากกว่า 12 ร่าง ในหุบเขา Sado Valley ทางตอนใต้ของโปรตุเกสและอย่างน้อย หนึ่งในศพเหล่านั้นถูกทำเป็นมัมมี่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดเดาว่าอาจจะทำเป็นมัมมี่เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายก่อนนำไปฝังศพ นอกนจากนี้ยังมีสัญญาณบ่งชี้เพิ่มเติมว่า ร่างอื่นๆที่ฝังอยู่ในไซต์ขุดดังกล่าวอาจถูกทำเป็นมัมมี่ด้วย ซึ่งหมายความว่าการทำมัมมี่ในช่วงระยะเวลานั้นอาจกำลังแพร่หลาย

แผนที่ตั้งของหุบเขา Sado Valley ทางตอนใต้ของโปรตุเกส และเป็นแหล่งฝังศพโบราณ Cr.European Journal of Archaeology

Rita Peyroteo-Stjerna นักชีวโบราณคดีจาก Uppsala University ในสวีเดน กล่าวว่า “แม้ว่าการทำมัมมี่จะค่อนข้างตรงไปตรงมาในด้านของสภาพอากาศที่เหมาะสมอย่างทะเลทรายที่แห้งมากๆ แต่สำหรับยุโรปที่มีสภาพอากาศตรงกันข้ามคือเปียกชื้นนั้น แสดงให้เห็นว่า เนื้อเยื่ออ่อนของมัมมี่ไม่ค่อยได้ถูกเก็บรักษาไว้ดีมากนัก”

Rita เป็นผู้เขียนหลักของการศึกษานี้และการค้นพบก็ได้ถูกตีพิมพ์ในเดือนนี้ ผ่านวารสาร European Journal of Archaeology

หลักฐานสำคัญในการไขความลับจากอดีต

ภาพถ่ายที่พบนั้นเป็นภาพถ่ายโบราณจากฟิล์มขาวดำหลายม้วนที่ถูกพบในข้าวของของนักโบราณคดีชาวโปรตุเกสที่ชื่อ Manuel Farinha dos Santos ซึ่งเสียชีวิตไปแล้วในปี 2001 ภาพที่เขาถ่ายไว้นั้นได้กลายมาเป็นหลักฐานสำคัญของการศึกษานี้ เขาถ่ายรูปการค้นพบมัมมี่ในกลุมฝังศพดังกล่าวไว้ แต่การสืบหาข้อมูลจากรูปภาพเก่านั้นก็ยากพอสมควร

อดีตของ Farinha dos Santos นั้น เขาเคยทำงานเกี่ยวกับซากศพมนุษย์ที่ขุดขึ้นมาจากหุบเขา Sado Valley ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ในภาพถ่ายที่เขาถ่ายเก็บไว้ เป็นภาพขาวดำของการฝังศพ 13 แห่งจากยุคหินหรือยุคกลาง แม้ว่าเอกสารบางส่วนและแผนที่วาดมือของสถานที่แห่งนี้จะเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติในลิสบอน แต่ภาพถ่ายเหล่านี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงทำให้นักโบราณคดีมีเวลาและโอกาสที่ดีในการศึกษาภาพถ่ายเหล่านี้เป็นพิเศษ

มัมมี่นี้เป็นอย่างไร

หลังจากการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตเห็นว่ากระดูกของโครงกระดูกร่างหนึ่งนั้น “งอมากเกินไป” กล่าวคือ แขนขาอยู่ในรูปผิดธรรมชาติ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หลังจากเสียชีวิตไปเขาถูกจับมัดไว้ นอกจากนี้ อีกจุดสังเกตหนึ่งคือกระดูกบางที่ยังคงประกบหรือติดอยู่กับที่ โดยเฉพาะกระดูกเท้าเล็กๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะแตกเป็นชิ้นๆเมื่อร่างกายสลาย

อีกทั้งดินในหลุมศพไม่มีการเคลื่อนตัวของเนื้อเยื่อของร่างกาย ที่เป็นกระบวนการทำให้ร่างกายหดเล็กลงด้วย เมื่อนำมารวมกันแล้ว สัญญาณเหล่านี้บ่งชี้ว่าร่างมัมมี่นั้น ถูกผึ่งให้แห้งก่อนโดยเจตนาแล้วค่อยๆเล็กลงจากการรัดให้แน่น

ภาพถ่ายหลุมฝังศพโดย Manuel Farinha dos Santos /Cr. European Journal of Archaeology

มัมมี่ทางนิติเวช

การประเมินการฝังศพในสมัยโบราณยังคงอาศัยการค้นพบจากการทดลองการสลายตัวของมนุษย์ ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบโดยศูนย์วิจัยมานุษยวิทยานิติวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเทกซัส

ทางนิติเวช นักวิจัยได้เขียนการศึกษานี้ โดยอธิบายว่า ดูเหมือนว่าคนตายจะถูกมัดไว้และอาจวางร่างไว้บนโครงสร้างที่ยกสูง เช่น แท่นยก เพื่อให้ของเหลวจากการสลายตัวของเนื้อเยื่อสามารถระบายออกจากร่างได้ หรืออธิบายง่ายๆคือ เวลาคนตาย จะมีของเหลวและของเสียในร่างกาถูกขับออกมาก และร่างกายก็จะสูบผอมลงไปนั่นเอง

นอกจากนี้การศึกษานี้ยังเสริมอีกว่า ขั้นตอนการทำมัมมี่เหล่านี้นั้นพิเศษมากขึ้น เพราะดูเหมือนว่าจะมีการใช้ไฟเพื่อทำให้ซากศพนั้นแห้ง การผูกมัดบนร่างกายก็จะค่อยๆกระชับขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป โดยมันจะคงความสมบูรณ์ทางกายวิภาคไว้ได้ แต่แค่แขนขาจะงอผิดรูป

Peyroteo ยังอธิบายเพิ่มอีกว่า หากผู้ตายบางส่วนถูกนำส่งตัวจากที่อื่นมายัง Sado Valley เพื่อฝัง การทำเช่นนี้ก็ส่งผลให้ศพมีขนาดเล็กและเบากว่ามาก และทำให้การขนส่งนั้นง่ายมากขึ้น

ในเว็บไซต์ Livescience เหมือนจะมีการอธิบายเพิ่มเติมจากนักโบราณคดี Michael Parker Pearson จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากับการค้นพบมัมมี่ในยุโรป แต่นี่อาจจะไม่ใช่โครงกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดก็ได้ เขาแนะนำให้รู้จักกับมัมมี่หมื่นปีอีกด้วย แต่ข้อมูลจะน่าสนใจอย่างไรนั้น ไปติดตามหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.livescience.com/oldest-human-mummy-found-portugal

ที่มาข้อมูล

https://www.cambridge.org/core/journals/european-journal-of-archaeology/article/mummification-in-the-mesolithic-new-approaches-to-old-photo-documentation-reveal-previously-unknown-mortuary-practices-in-the-sado-valley-portugal/AC0A6815BC0DC29BC85F1F89C37F3689

https://www.livescience.com/oldest-human-mummy-found-portugal

related