svasdssvasds

กทม.รวมพลัง “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง" ลดโลกร้อน ช่วยลดค่าไฟฟ้าลง 176,172 บาท 

กทม.รวมพลัง “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง" ลดโลกร้อน ช่วยลดค่าไฟฟ้าลง 176,172 บาท 

กรุงเทพฯ รวมพลัง “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง ลดโลกร้อน (60 Earth Hour)” พร้อมกับ 190 ประเทศ กว่า 7,000 เมืองทั่วโลก โดยปีนี้ลดการใช้ได้เพิ่มขึ้น

 นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2022)” เดินหน้าแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน โดยมี ผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน ร่วมกิจกรรม ณ บริเวณสกายวอล์ค ช่องนนทรี เขตสาทร 

 กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund : WWF) ประเทศไทย และภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60 Earth Hour)” พร้อมกับ 190 ประเทศ กว่า 7,000 เมืองทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันนับเป็นปีที่ 15 โดยเชิญชวนทุกภาคส่วนปิดไฟที่ไม่จำเป็น เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 20.30 - 21.30 น. ซึ่งจากการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551 - 2564 สามารถลดกระแสไฟฟ้าได้ 22,368 เมกะวัตต์ ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 12,235.40 ตัน คิดเป็นมูลค่า 80.90 ล้านบาท

กทม.รวมพลัง “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง" ลดโลกร้อน ช่วยลดค่าไฟฟ้าลง 176,172 บาท 

 และในปี 2564 ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย 25 หน่วยงาน ประกาศเจตจำนง ร่วมดำเนินการลดภาวะโลกร้อนใน 4 ด้าน ประกอบด้วย

• ด้านการขนส่งมวลชน

• ด้านพลังงาน  

• ด้านพื้นที่สีเขียว

• ด้านการจัดการขยะมูลฝอย

 ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในด้านต่างๆ ประกอบด้วย

• ด้านขนส่งมวลชน 419.6 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

• ด้านพลังงาน 14,288.4 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

• ด้านการจัดการมูลฝอย 5,916.9 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

• ด้านพื้นที่สีเขียวที่ช่วยในการดูดซับก๊าซ 3,203.9 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

 หรือสามารถเปรียบเทียบปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกของ 25 หน่วยงานเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 2.5 ล้านต้น เทียบเท่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถวิ่งรอบประเทศไทย 24,500 รอบ เทียบเท่าการใช้พลังงานไฟฟ้า 51.4 ล้านกิโลวัตต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• กทม. ชวนคนกรุงเทพฯ ปิดไฟ 1 ชั่วโมง แสดงพลังลดโลกร้อน 26 มี.ค. 20.30 – 21.30 น.

• IPCC ฉบับใหม่เผย มนุษยชาติกำลังล่มสลายจากภาวะโลกร้อน ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้

• อัพเดตอุณหภูมิโลก 141 ปีผ่านไป โลกร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 สำหรับปีนี้ 2565 กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ WWF ประเทศไทย และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2022)” ในวันเสาร์ที่ 26 มี.ค.65 ด้วยการรณรงค์ผู้ประกอบการ ร้านค้า และประชาชนลดการใช้พลังงานและปิดไฟที่ไม่จำเป็น เช่น ไฟประดับ ไฟอาคาร  ป้ายโฆษณา การถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งานลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ในอาคารบ้านเรือน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 20.30 – 21.30 น.

พร้อมเชิญชวนร่วมแชร์การมีส่วนร่วมกิจกรรม ด้วยการติดแฮชแท็ก คำว่า #EarthHour #Connect2Earth #ShapeOurFuture #อนาคตเราสร้างได้ และยังคงเดินหน้าลดภาวะโลกร้อนใน 4 ด้าน ข้างต้นต่อเนื่อง โดยมีการประกาศเจตจำนง (Letter of Intent) ร่วมกันขององค์กรเครือข่ายที่มีเป้าหมายดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน ได้แก่

• การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

• การไฟฟ้านครหลวง

• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

• การประปานครหลวง

• กลุ่มเซ็นทรัล

• บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS)

• เดอะมอลล์ กรุ๊ป

• นิติบุคคลอาคารชุด ดิ เอ็มโพริโอ เพลส

• กลุ่มบริษัท แคนนอน ประเทศไทย

• บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

• FEED ประเทศไทย

• มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

• บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน)

• บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด

• บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

• กองบัญชาการกองทัพไทย

• บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)

• กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กทม.รวมพลัง “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง" ลดโลกร้อน ช่วยลดค่าไฟฟ้าลง 176,172 บาท 

 อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมอย่างกว้างขวาง รวมถึงความร่วมมือในการปิดไฟขององค์กรในวันเวลาดังกล่าว อาทิ WWF ประเทศไทย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน), สมาคมธนาคารไทย , องค์การ JICA , CP-All 7-eleven , เดอะมอลล์ กรุ๊ป , กลุ่มบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอก-ชัยดีสทริบิวชั่น ซิสเท็ม จำกัด (โลตัส) , บริษัท อำพลฟู้ดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด , MBK , บจก. มาสเตอร์ แอด, บจก.แพลน บี มีเดีย , ม.สวนดุสิต, ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา , ม.ราชภัฏจัทรเกษม , ม.รามคำแหง , ม.ศรีปทุม , Green Wave FM 106.5 MHz และสื่อมวลชนสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เจ้าของอาคารบ้านเรือนในถนน 100 สาย ในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้ง 50 เขต มากกว่า 100 แห่ง ยังได้ร่วมปิดไฟตามอาคาร ตึกสูง ป้ายประชาสัมพันธ์ และบ้านเรือน เพื่อแสดงพลังพร้อมกับการปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ในสถานที่ที่เป็นแลนมาร์คของกรุงเทพมหานคร 5 สถานที่หลัก ประกอบด้วย

• วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พระบรมมหาราชวัง

• วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

• เสาชิงช้า

• สะพานพระราม 8

• ภูเขาทอง (วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร) 

กทม.รวมพลัง “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง" ลดโลกร้อน ช่วยลดค่าไฟฟ้าลง 176,172 บาท 

 นอกจากนี้ ในกิจกรรมยังมีการออกบูธนิทรรศการเกี่ยวกับการลดใช้พลังงาน ของหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่าย เช่น นิทรรศการพรรณไม้ลดฝุ่น พร้อมแจกพืชผักสวนครัว และต้นไม้ลดฝุ่น ปุ๋ยอินทรีย์รักษ์โลก ถุงผ้ารักษ์โลก การคัดแยกขยะทิ้งถูกที่ ถูกถัง และบราเก่าเราขอ ด้วยการนำบราเก่าหรือบราเสื่อมสภาพมาบริจาคเพื่อเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ จะเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความร่วมมือ ที่จะนำไปสู่การผลักดันให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยเห็นความสำคัญในการลดภาวะโลกร้อน และร่วมมือแก้ไขปัญสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เช่นเดียวกับนานาประเทศทั่วโลก เพราะการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนจะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทุกคน ร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติอย่างง่าย ๆ แต่จริงจังในทุก ๆ วัน อาทิ ใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น ถอดปลั๊กไฟทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน หรือหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าในบ้านในปริมาณมากในเวลาเดียวกัน การปลูกต้นไม้ การใช้รถยนต์สาธารณะ การขี่จักรยาน ฯลฯ ซึ่งความร่วมมือเล็กๆ แต่เมื่อทำมากๆ ก็จะเป็นพลังในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน 

กทม.รวมพลัง “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง" ลดโลกร้อน ช่วยลดค่าไฟฟ้าลง 176,172 บาท 

โดยในปีนี้จากการรายงานผลจากความร่วมมือในการรณรงค์ ปิดไฟ 1 ชั่วโมงเพื่อลดโลกร้อน" Earth Hour 2022 เวลา 20.30 - 21.30 น. ของการไฟฟ้านครหลวง พบว่าสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ 78 เมกะวัตต์ เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ณ วันเสาร์ที่ 19 มี.ค.65 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยสามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 20 ตัน และลดค่าไฟฟ้าลงได้ 176,172 บาท 

ซึ่งเมื่อเทียบกับผลดำเนินการในปี 2564 พบว่าสามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลงได้เพิ่มขึ้น 48.6 เมกะวัตต์ ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากปีที่ลงได้เพิ่มขึ้น 11.6 ตัน และลดค่าไฟฟ้าลงได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 107,557 บาท

related