svasdssvasds

วราวุธ แนะมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ดันไทยสู่ศูนย์กลางซื้อขายคาร์บอนเครดิต

วราวุธ แนะมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ดันไทยสู่ศูนย์กลางซื้อขายคาร์บอนเครดิต

 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนะมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ดันไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอาเซียน

 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ได้กล่าวปาถกฐาพิเศษ ในหัวข้อ "ทิศทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ในงาน "CEO Forum, Collaboration for Low-Carbon Society" 

 นายวราวุธ กล่าวว่า ตนยืนอยู่นใจุดนี้ตอนนี้สวมหมวก 2 ใบ ใบแรกคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใบที่สองคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.สุพรรณบุรี วันนี้ตนมาพร้อมกับส.ส.สุพรรณอีกหนึ่งท่าน นายสรชัด สุจิตต์ มาเพื่อยืนยันว่าองค์กรของเราได้รับผลกระทบจาก Climate change อย่างมาก สุพรรณบุรีมีน้ำท่วมเป็นระยะ ในปีนี้น้ำเยอะมากคาดว่า ก.ย.-ต.ค.นี้ จะมีน้ำท่วมอีกครั้ง 

ขณะเดียว หากอนาคตจะทำ Carbon Neutrality ให้สำเร็จภายในปี 2050-2065 เราต้องการ 3 อย่าง

1.เงินสนับสนุนในการพัฒนาเทคโนโลยี

2.เทคโนโลยี ทรานเฟอร์ ประเทศใดที่มีแนวทางที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3.สร้างบุคลากรในประเทศ

วราวุธ แนะมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ดันไทยสู่ศูนย์กลางซื้อขายคาร์บอนเครดิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ก๊าซเรือนกระจก ต้นตอสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง Climate Change

• ก๊าซเรือนกระจกกำลังจะแตะสถิติสูงสุดแซงปี 2020 แล้ว

• คาร์บอนเครดิต คืออะไร? ทำไมหลายประเทศจึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต?

 แนวทางและมาตรการที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกมีหลายมิติในหลายกระทรวง ทั้งการใช้พลังงานทดแทน การใช้โซล่าเซลล์ การใช้ไฮโดรพาวเวอร์ ส่งเสริมการใช้งานรถ EV ให้มากขึ้น รวมไปถึงเทคโนโลยีการเกษตร การทำนาสมัยก่อนทำให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประเทศเยอรมันจึงร่วมมือกับประเทศไทยทำนาวิถีใหม่ ปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง ผลที่เกิดขึ้นคือผลผลิตเพิ่มขึ้น 20-30% ลดการปล่อยก๊าซมีเทนถึง 70% 

วราวุธ แนะมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ดันไทยสู่ศูนย์กลางซื้อขายคาร์บอนเครดิต

 วันนี้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ประเทศไทยต้องกลับมาดูจุดแข็งภายในประเทศ เพื่อเสริมจุดแข็งที่มีอยู่และเอาไปสร้างจุดแข็งใหม่ ในประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานอยู่ 6 ด้าน ที่ช่วยผลักดันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคเอกชนและอุตสาหกรรม

 ส่วนแรกจะเป็นด้านนโยบายและกฎหมาย การบูรณาการเป้าหมาย Zet Zero บูรณาการกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

• ด้านที่ 2  เทคโนโลยีและนวัตกรรม

• ด้านที่ 3 งบประมาณและการลงทุน

• ด้านที่ 4 การพัฒนากลไกคาร์บอนเครดิตทั้งในและต่างประเทศ และเราตั้งใจจะให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตในอาเซียน

• ด้านที่ 5 การเพิ่มภาคการดูดทรัพย์

• ด้านที่ 6 เร่งศึกษาความเหมาะสมในการใช้เทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีคาร์บอน ฟุตพริ้น

related